โรคภูมิแพ้ อาจกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคหอบหืดขึ้นมาได้ แล้วโรคหอบหืดจริงๆ คืออะไร และทำไมถึงจัดว่าเป็นภูมิแพ้ประเภทหนึ่ง ใครที่กำลังสงสัยเรื่องนี้อยู่ละก็ วันนี้ Hello คุณหมอ นำข้อมูลมาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ
โรคภูมิแพ้เกิดจากปัจจัยใดบ้าง
ปฏิกิริยาภูมิแพ้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด 2 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้
- การหดตัวของหลอดลม (หรือท่อลมในปอด) ทำให้กีดขวางอากาศเข้าสู่ปอด
- เยื่อหุ้มเซลล์ชั้นในของหลอดลมบวม และหลั่งเสมหะออกมาจนทำให้หลอดลมอุดตัน
โดยปัจจัยดังกล่าวนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกหายใจไม่สะดวก เจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง และมีเสียงประหลาดในขณะหายใจ ผู้ที่มีอาการแพ้ทางจมูก ประมาณร้อยละ 20-25 มักจะเป็นโรคหอบหืด และในทางตรงข้ามผู้ที่เป็นโรคหอบหืดประมาณร้อยละ 20-80 มักต้องทนทุกข์จากอาการภูมิแพ้ เพราะทั้งสองโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกัน แต่โรคภูมิแพ้ไม่ใช่สาเหตุเดียวของโรคหอบหืด เพราะมีอีกสาเหตุหนึ่งนั่นก็คือ มลพิษทางอากาศ
อาการของ โรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืด
ทั้งโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด อาจก่อให้อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการไอและทางเดินหายใจอุดตัน แต่จะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนี้
- อาการของโรคภูมิแพ้ ตาแฉะ คันตา น้ำมูกไหล คันคอ และลมพิษ
- อาการของโรคหอบหืด แน่นหน้าอก หายใจเสียงมีเสียงประหลาด ไอจนหายใจไม่ออกในตอนกลางคืน หรือตอนเช้าตรู่
อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาจเกิดบนส่วนใดของร่างกายก็ได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพียงส่วนเดียวหรือหลายๆส่วนบนของร่างกายพร้อมกัน และทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ผื่นคัน ลมพิษ อาหารไม่ย่อย ผื่นแดง
การรักษา โรคภูมิแพ้ และโรคหืด
เป็นที่รู้กันว่าอาการทั้งหมดของโรคนี้ อาจเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ทำให้ร่างกายต้องตอบโต้ด้วยปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมา จึงทำให้มีอาการแพ้เกิดขึ้น ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้พวกนั้น และถ้าเป็นไปได้ก็ควรเปลี่ยนสภาพแวดล้อมด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณแพ้ขนแมวและสุนัขก็ควรหลีกเลี่ยง หรือหากมีอาการแพ้ฝุ่นควรรักษาความสะอาดของบ้านโดยใช้เครื่องฟอกอากาศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆก็ควรใช้ยา เพื่อป้องกันปฏิกิริยาภูมิแพ้และลดอาการแพ้ต่างๆ
- สำหรับโรคจมูกอักเสบ ผู้ป่วยอาจใช้ยาแอนตี้ฮีสทามีน (Antihistamine) หรือยาลดความดันโลหิต (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับว่ามีอาการคันจมูกหรือไม่)
- ยาที่ใช้รักษารุ่นแรก อย่างเช่น ไดเฟนไฮดรามีน (Diphehydramine) เบนนาดริล (Benadryl) อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง อย่างเช่น ง่วงนอน ซึ่งขัดขวางการทำงานและไม่สามารถขับรถได้
- ยาแอนตี้ฮีสทามีน (Antihistamines) รุ่นที่สอง เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) คลาลิทิน (Claritin) เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) อัลเลกรา (Allergra) จะไม่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน นอกจากนี้แพทย์อาจใช้ยาสเตียรอยด์สำหรับพ่นจมูกด้วย อย่างไรก็ตาม ยาแอนตี้ฮีสทามีนและยาลดความดันโลหิตนั้น เป็นยาที่ใช้เพียงเพื่อบรรเทาอาการ และอาจรักษาที่ต้นเหตุได้ จึงอาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนภูมิแพ้เพื่อรักษาที่ต้นเหตุ
คุณควรปรึกษาแพทย์และรักษาตามขั้นตอนหากมีอาการภูมิแพ้ ซึ่งผู้ที่เป็นทั้งโรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้ ก็สามารถจัดการกับอาการเหล่านั้นได้ หากดูแลตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอ