backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ชะเอมเทศ (Licorice)

ชะเอมเทศ (Licorice)
ชะเอมเทศ (Licorice)

ชะเอมเทศ (Licorice) คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่พบมากในแถบยุโรปและเอเชีย ส่วนรากของชะเอมเทศนั้นจะมีสารที่เรียกว่า Glycyrrhizic acid รากของชะเอมเทศนั้นถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณที่อาจช่วยรักษาโรค

ข้อบ่งใช้

ชะเอมเทศใช้สำหรับ

ชะเอมเทศ (Licorice) คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่พบมากในแถบยุโรปและเอเชีย ส่วนรากของชะเอมเทศนั้นจะมีสารที่เรียกว่า Glycyrrhizic acid ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ หากรับประทานในปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม รากของชะเอมเทศนั้นถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณที่อาจช่วยรักษาโรคดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ชะเอมเทศยังนำมาใช้เพื่อเพิ่มรสชาติให้แก่อาหาร เครื่องดื่ม และบุหรี่อีกด้วย

การทำงานของชะเอมเทศ

ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของชะเอมเทศไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการวิเคราะห์ว่า สารเคมีที่มีอยู่ในชะเอมเทศอาจสามารถช่วยลดอาการบวมและการขับเมือก ช่วยบรรเทาอาการไอ และสร้างสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการฟื้นฟูบาดแผลได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรระวังก่อนการใช้ชะเอมเทศ

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในชะเอมเทศ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากชะเอมเทศนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร การรับประทานชะเอมเทศในปริมาณมากขณะตั้งครรภ์นั้นอาจจะไม่ปลอดภัย เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งบุตรได้ ยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการรับประทานชะเอมเทศขณะให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้

โรคหัวใจ ชะเอมเทศนั้นอาจจะทำให้ร่างกายสะสมน้ำมากขึ้น และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ นอกจากนี้ชะเอมเทศยังอาจเพิ่มโอกาสให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชะเอมเทศ

โรคมะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมน ชะเอมเทศนั้นออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และอาจทำให้อาการของโรคเหล่านี้รุนแรงขึ้นได้

ความดันโลหิตสูง ชะเอมเทศอาจเพิ่มความดันโลหิตได้ ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงการใช้

ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวมาก (Hypertonia) ชะเอมเทศอาจไปลดระดับของโพแทสเซียม (Potassium) ในเลือด แล้วทำให้อาการของโรคนั้นรุนแรงขึ้นได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) ชะเอมเทศอาจไปลดระดับของโพแทสเซียมในเลือดได้มากกว่าเดิม ควรหลีกเลี่ยงการใช้

โรคไต การรับประทานชะเอมเทศในปริมาณมากอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตมีอาการรุนแรงขึ้นได้

ผู้ชายที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ชะเอมเทศอาจสามารถลดความต้องการทางเพศ โดยการลดฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน แล้วทำให้ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้นรุนแรงขึ้นได้

การผ่าตัด ชะเอมเทศอาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตระหว่างและหลังจากการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานชะเอมเทศเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ชะเอมเทศ

การรับประทานชะเอมเทศนั้นค่อนข้างมีความปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณที่พบได้ในอาหาร แต่การรับประทานชะเอมเทศในปริมาณมาก นานกว่า 4 สัปดาห์อาจไม่ปลอดภัยได้

ผลข้างเคียงจากการรับประทานชะเอมเป็นเวลานานคือ

  • ความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง
  • เหนื่อยล้า อ่อนแรง
  • โพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • อัมพาต
  • สมองเสียหาย
  • อาการของโรคไต โรคหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูงรุนแรงขึ้น
  • ประจำเดือนขาด
  • โซเดียมในร่างกายเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ชะเอมเทศอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะหากคุณใช้ยาดังต่อไปนี้

  • วาร์ฟาริน (Warfarin)
  • ไดจอกซิน (Digoxin)
  • ยาฮอร์โมนต่างๆ
  • เอธาครินิคแอซิด (Ethacrynic Acid)
  • ฟูโรซีไมด์ (Furosemide)
  • สารตั้งต้น CYP2B6 (Cytochrome P450 2B6 substrates)
  • ยารักษาความดันโลหิตสูง
  • ยาขับปัสสาวะ

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของชะเอมเทศ

รับประทาน

  • เพื่อเสริมอาหาร ยังไม่มีขนาดยามาตรฐานที่แนะนำ แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าไม่ควรรับประทานชะเอมเทศมากกว่าวันละ 100 มก.
  • สำหรับการรักษาผลข้างเคียงหลังจากการถอดเครื่องช่วยหายใจ รับประทานยาอมที่มีส่วนผสมของชะเอมเทศขนาด 97 มก. เป็นเวลา 30 นาที ก่อนให้ยาสลบ

ทาผิว

  • สำหรับโรคผื่นผิวหนัง (Eczema) ทาเจลที่มีส่วนผสมของชะเอมเทศ 1% หรือ 2% ในบริเวณที่ต้องการ วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์

รูปแบบ

ชะเอมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • เจล
  • แคปซูล

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

LICORICE https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-881/licorice

What Are Licorice Root’s Benefits and Downsides? https://www.healthline.com/nutrition/licorice-root#dosage-forms

ชะเอมเทศ สรรพคุณและประโยชน์ของชะเอมเทศ 74 ข้อ ! https://medthai.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/07/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา