backup og meta

ดีปลี (Indian Long Pepper)

ดีปลี (Indian Long Pepper)

ดีปลี (Indian Long Pepper) เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่เราสามารถนำผลของมันมาใช้ปรุงเป็นยารักษาได้ โดยเฉพาะแก้อาการเบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย เป็นต้น

การใช้ประโยชน์ดีปลี

ดีปลี (Indian Long Pepper หรือ Long Pepper) เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ที่เราสามารถนำผลของมันมาทำใช้ปรุงเป็นยารักษาได้ โดยเฉพาะแก้อาการเบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในลำไส้ ท้องเสีย และอหิวาตกโรค นอกจากนี้ยังใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ อาการไอ เป็นต้น

ในบางครั้งทางการแพทย์อาจนำมาใช้รักษา หรือบรรเทาอาการต่าง ๆ ของเราได้ดังนี้

  • ปวดศีรษะ
  • ปวดฟัน
  • ภาวะขาดวิตามินบี1 (โรคเหน็บชา)
  • โรคลมชัก
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • อาการนอนไม่หลับ
  • โรคเรื้อน
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • สะเก็ดเงิน
  • พยาธิในลำไส้
  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • วัณโรค
  • เนื้องอก
  • ช่วยให้มดลูกกลับสู่ขนาดปกติ สำหรับคุณแม่หลังคลอด
  • กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด รักษาอาการปวดประจำเดือน

การทำงานของดีปลี เป็นอย่างไร

เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่เพียงพอต่อการอธิบายการทำงานของอาหารเสริม ประเภทสมุนไพรชนิดนี้โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า ดีปลี ประกอบด้วยสารเคมีที่เรียกว่า พิเพอรีน (Piperine) ซึ่งช่วยในการทำลายปรสิตต่าง ๆ ที่สามารถทำให้คุณติดเชื้อได้ นอกจากนี้ยังดูเหมือนว่าดีปลี เข้าไปทำการเปลี่ยนแปลงเยื่อบุลำไส้ให้ร่างกายดูดซึมยา และสารบางชนิดที่เรารับประทานเข้าไปได้ดีขึ้น

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ดีปลี

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • คุณมีอาการแพ้สารจากดีปลี หรือแพ้ยาหรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่นๆคุณมีอาการไม่สบาย, มีอาการผิดปกติ, หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้อื่นๆ เช่น อาหาร, สารแต่งสี, สารกันเสีย, หรือสัตว์บางชนิด

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากดีปลีนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ดีปลี มีความปลอดภัยแค่ไหน

สำหรับบุคคลทั่วไป

การรับประทานดีปลีก็อาจมีความปลอดภัยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ และคำแนะนำทางการแพทย์ถึงวิธีการใช้งานที่เหมาะสม

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร

หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนเพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้กับตัวคุณแม่ จนส่งผลไปยังทารกในครรภ์ได้

ผลข้างเคียง

ยังไม่มีการรายงานผลข้างเคียง จากผู้ใช้สักเท่าไหร่นัก เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว หรือช่วงอายุ เป็นต้น ดังนั้นหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถึงวิธีการใช้ดีปลีเพื่อบำรุงสุขภาพก่อนเสมอ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับดีปลี มีอะไรบ้าง

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้รักษาโรคประจำตัวอยู่ก็เป็นได้ รวมทั้งอาจเกิดผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบัน คุณจึงจำเป็นที่ต้องเข้าขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ประจำตัวคุณ ก่อนการใช้เสมอ

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับดีปลีได้แก่

ปกติแล้วควรใช้ดีปลีในปริมาณเท่าใด

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ, สุขภาพ, และปัจจัยอื่น ๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสมกับคุณ

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

ดีปลีอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ดีปลีแบบดิบ หรือผลสด
  • สกัดในรูปแบบแคปซูล

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Indian long pepper http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-369-indian%20long%20pepper.aspx?activeingredientid=369&activeingredientname=indian%20long%20pepper Accessed August 23, 2017

Indian long pepper https://herbpathy.com/Uses-and-Benefits-of-Long-Pepper-Cid781 Accessed August 23, 2017

indian long pepper https://www.rxlist.com/indian_long_pepper/supplements.htm Accessed August 23, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/04/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้สมุนไพร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

คนท้องอาหารไม่ย่อย อาการ สาเหตุ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 22/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา