backup og meta

น้ำมันคีโนโพเดียม (Chenopodium Oil)

ข้อบ่งใช้ข้อควรระวังและคำเตือนผลข้างเคียงปฏิกิริยาต่อยาขนาดยา

ข้อบ่งใช้

น้ำมันคีโนโพเดียม ใช้สำหรับ

น้ำมันคีโนโพเดียม (Chenopodium Oil) คือน้ำมันชนิดหนึ่งที่สกัดมาจากพืช และถูกนำมาใช้เป็นเพื่อเป็นยาสมุนไพร ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า น้ำมันคีโนโพเดียมที่นำมาใช้เป็นยานั้น เป็นน้ำยาที่สกัดจากส่วนดอก ส่วนผล หรือส่วนเมล็ดกันแน่

น้ำมันคีโนโพเดียมจะนำมาใช้ เพื่อรักษาการติดเชื้อพยาธิในลำไส้ เช่น พยาธิตัวกลม หรือพยาธิปากขอ

การทำงานของน้ำมันคีโนโพเดียม

เนื่องจากยังมีงานวิจัยน้ำมันคีโนโพเดียมไม่เพียงพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม แต่น้ำมันคีโนโพเดียมอาจสามารถช่วยฆ่าพยาธิหรือทำให้พยาธิที่อยู่ในลำไส้เป็นอัมพาต และช่วยกำจัดพยาธิออกจากลำไส้ได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้น้ำมันคีโนโพเดียม

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากน้ำมันคีโนโพเดียม หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างน้ำมันคีโนโพเดียม จะมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดการใช้ยาอื่นๆ โปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย และประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรมีมากกว่าความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

น้ำมันคีโนโพเดียม อาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับการใช้งาน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร การใช้น้ำมันคีโนโพเดียมนั้นไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากเป็นน้ำมันสกัดที่มีสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้น้ำมันคีโนโพเดียม

การใช้น้ำมันคีโนโพเดียมนั้นไม่ปลอดภัย เนื่องจากมีสารเคมีที่ชื่อว่า Ascaridole สารที่เป็นพิษรุนแรง สารนี้สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองในบริเวณผิวหนัง ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร และลำไส้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ปวดหัว ไตและตับเสียหาย สูญเสียการได้ยินชั่วคราว ชัก อัมพาต และอาจทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ น้ำมันคีโนโพเดียวก็อาจจะระเบิดได้ หากได้รับความร้อน หรือหากนำไปผสมกับกรด

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

น้ำมันคีโนโพเดียมอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะหากคุณใช้ร่วมกับยาที่ทำให้คุณมีปฏิกิริยาไวต่อแสงแดดมากขึ้น เช่น ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) หรือยาไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) การใช้น้ำมันคีโนโพเดียมร่วมกับยาที่ทำให้มีปฏิกิริยาไวต่อแสงแดดมากขึ้น อาจจะทำให้เกิดอาการผิวไหม้ แผลพุพอง หรือผดผื่น ในบริเวณที่โดนแสงแดด เพื่อความปลอดภัยควรทาครีมกันแดด และสวมเสื้อผ้าแขนขายาวเพื่อป้องกันแสงแดด

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของน้ำมันคีโนโพเดียม

ขนาดยาของน้ำมันคีโนโพเดียม ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ สุขภาพ และโรคประจำตัวของผู้ใช้ ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทราบว่า ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับการใช้น้ำมันคีโนโพเดียมคือเท่าไหร่ พึงระลึกไว้เสมอว่าสมุนไพรนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป เพื่อความแน่ใจ โปรดปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

รูปแบบของน้ำมันคีโนโพเดียม

  • น้ำมันสกัดคีโนโพเดียม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

CHENOPODIUM OIL https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-898/chenopodium-oil

CHENOPODIUM OIL https://www.rxlist.com/chenopodium_oil/supplements.htm

Chenopodium Oil https://www.medicinenet.com/chenopodium_oil/supplements-vitamins.htm

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/07/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำมันหอมระเหยที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง

ประโยชน์สุขภาพของน้ำมันอาร์แกน (Argan oil) น้ำมันสกัดสารพัดประโยชน์


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไข 16/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา