backup og meta

พลูคาว (Bishop’s Weed)

ข้อบ่งใช้ข้อควรระวังและคำเตือนผลข้างเคียงปฏิกิริยาต่อยาขนาดยา

พลูคาว (Bishop’s Weed) หรือ พลูตอง หรือ พลูทอง เป็นพืชชนิดหนึ่ง มักจะนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง

ข้อบ่งใช้

พลูคาว ใช้สำหรับ

พลูคาว (Bishop’s Weed) หรือ พลูตอง หรือ พลูทอง เป็นพืชชนิดหนึ่ง มักจะนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง พลูคาวสามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการของโรคดังต่อไปนี้

การทำงานของพลูคาว

ยังไม่มีการวิจัยที่เพียงพอต่อการอธิบายการทำงานของสมุนไพรชนิดนี้  ถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม  อย่างไรก็ดีมีการวิจัยบางส่วนแสดงให้เห็นว่า มีสารเคมีบางชนิดในพลูคาว (Bishop’s Weed) ซึ่งรวมถึงสารเมทอกซาเลน (Methoxsalen) ซึ่งใช้ในการบำบัดรักษาโรคสะเก็ดเงิน และผื่นผิวหนังต่างๆ ได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้พลูคาว

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากพลูคาว หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ก่อนนำสมุนไพรพลูคาวไปใช้ คุณควรมั่นใจว่าสมุนไพรนั้นให้คุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่กำลังจะได้รับการผ่าตัด ควรหลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพรพลูคาว เนื่องจากอาจทำให้เกิดอันตรายได้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้พลูคาว

อาการเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น หากคุณมีข้อกังวลหรือข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์และเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

พลูคาวอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร โดยเฉพาะหากคุณกำลังใช้ยาดังต่อไปนี้

  • ยาที่จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยตับ เช่น ยาในกลุ่ม CYP3A4 เนื่องจากพลูคาวอาจลดความเร็วในการย่อยสลายยาของตับ ทำให้ฤทธิ์ของยาแรงขึ้น และอาจเพิ่มผลข้างเคียงได้
  • ยาที่อาจจะเป็นอันตรายต่อตับ เนื่องจากพลูคาวอาจเป็นอันตรายต่อตับได้ หากใช้ร่วมกับยาในกลุ่มนี้ อาจทำให้ตับเสียหายได้
  • ยาที่เพิ่มความไวต่อแสง เนื่องจากพลูคาวเองก็สามารถเพิ่มความไวต่อแสงของร่างกายได้เช่นกัน การใช้พลูคาวร่วมกับยาเหล่านี้ อาจเพิ่มโอกาสในการโดนแดดเผา แผลพุพอง และผดผื่นจากแสงอาทิตย์ได้
  • ยาชะลอการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด เนื่องจากออกฤทธิ์ทับซ้อนกันกับพลูคาว การใช้พลูคาวร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะตกเลือด และเพิ่มโอกาสในการเกิดรอยช้ำได้

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของพลูคาว

ขนาดยาของพลูคาว อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม สมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนตัดสินใจใช้

รูปแบบของพลูคาว

  • อาหารเสริมพลูคาวสกัด
  • พลูคาวสด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

BISHOP’S WEED https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-292/bishops-weed. Accessed 12 March 2020
Bishop’s Weed https://www.drugs.com/npp/bishop-s-weed.html. Accessed 12 March 2020
The Health Benefits of Bishop’s Weed https://www.verywellhealth.com/the-benefits-of-bishops-weed-88612. Accessed 12 March 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สมุนไพร บรรเทาโรคสะเก็ดเงิน และข้อควรระวัง

อยากให้สมองมีสุขภาพดี ไม่ยาก แค่ใช้ สมุนไพรบำรุงสมอง


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย Ploylada Prommate · แก้ไข 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา