backup og meta

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย ต่างจากผู้หญิงอย่างไร

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย ต่างจากผู้หญิงอย่างไร

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย อาจมีอาการที่แสดงออกแตกต่างจากโรคซึมเศร้าในผู้หญิง เช่น ผู้ชายที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจไม่ได้เศร้า แต่มีอาการหงุดหงิด โกรธและโมโหอย่างรุนแรง หรือมีอาการเจ็บปวดทางกาย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในผู้ชายอาจช่วยให้สามารถสังเกตอาการและรับมือได้อย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-heart-rate]

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย ต่างจากผู้หญิงอย่างไร

ในขณะที่โรคซึมเศร้าเคยได้รับการพิจารณาว่าเป็นโรคของผู้หญิง แต่มีข้อมูลว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ชายเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 6 ล้านคนต่อปี และเนื่องจากโรคซึมเศร้าดูเป็นโรคของผู้หญิง จึงอาจทำให้ผู้ชายหลายคนไม่รับรู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้หาวิธีรักษา

ความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าส่งผลต่อทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งโรคนี้สามารถกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน และความสัมพันธ์ได้

โดยอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ชายจะคล้ายกับผู้หญิง แต่ผู้ชายมีแนวโน้มว่าจะแสดงอาการของโรคซึมเศร้าแตกต่างออกไป กล่าวคือ อาการปกติของโรคซึมเศร้าได้แก่ หมดความสนใจในกิจกรรมที่ชอบ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีปัญหาการนอนหลับ และเฉยชา ไร้อารมณ์

สำหรับผู้หญิง โรคซึมเศร้าอาจทำให้มีอาการซึมเศร้าและรู้สึกไร้ค่า ส่วนอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ชาย อาจทำให้ผู้ชายปลีกตัวออกจากสังคม หรือรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และมุ่งร้ายต่อผู้อื่น

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย

อาการของ โรคซึมเศร้าในผู้ชาย

ผู้ชายแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันไป แต่มีอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ชาย ที่พบบ่อย ดังนี้

  • โกรธง่าย เกรี้ยวกราด หงุดหงิดง่าย หรือก้าวร้าว
  • รู้สึกกังวล กระสับกระส่าย ไม่สงบ
  • หมดความสนใจในการทำงาน ครอบครัว หรือกิจกรรมที่ชอบ
  • มีปัญหาเรื่องทางเพศ
  • รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า หรือสิ้นหวัง
  • ไม่มีสมาธิ หรือจดจำรายละเอียดไม่ได้
  • รู้สึกเหนื่อยจัด นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไป
  • กินมากเกินไป หรือเบื่ออาหาร
  • คิดถึงการฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย
  • เจ็บหรือปวดตามร่างกาย ปวดหัว หรือปัญหาการย่อยอาหาร
  • ไม่สามารถรับผิดชอบงานได้ หรือไม่สามารถดูแลครอบครัว หรือทำกิจกรรมสำคัญอื่นๆ
  • เข้าร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
  • ติดแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด
  • ปลีกตัวออกจากครอบครัวและเพื่อน หรือปลีกตัวออกจากสังคม

อย่างไรก็ตาม แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน โดยผู้ชายบางคนอาจมีอาการดังที่กล่าวมาเพียงไม่กี่อาการ ในขณะที่บางคนอาจมีหลายอาการ

เหตุผลที่ผู้ชายมักจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า

มีหลายสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ผู้ชายมักจะปฏิเสธว่าตนเองมีปัญหา เพราะได้รับการคาดหวังว่าเป็นผู้ชายต้องเข้มแข็ง และการแสดงออกทางอารมณ์เป็นนิสัยของผู้หญิง ดังนั้นผู้ชายที่เป็นโรคซึมเศร้าจึงมีแนวโน้มที่จะพูดถึงอาการทางร่างกาย เช่น รู้สึกเหนื่อยล้า แทนการพูดถึงอาการของโรคซึมเศร้าที่เกี่ยวกับอารมณ์

ถ้าผู้ชายไม่รักษาโรคซึมเศร้า จะเกิดอะไรขึ้น

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention, CDC) ให้ข้อมูลว่า ผู้ชายชาวสหรัฐอเมริกา 3 ถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับผู้หญิง มีแนวโน้มว่าจะฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าถึงแม้ว่าผู้หญิงจะมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายที่มากกว่า แต่ผู้ชายมีอัตราการฆ่าตัวตายได้สำเร็จมากกว่า เนื่องจากผู้ชายมีแนวโน้มว่าจะใช้วิธีฆ่าตัวตายที่รุนแรง เช่น ใช้ปืน แทนการกินยาฆ่าตัวตาย

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย รักษาได้อย่างไร

มากกว่า 80% ของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ทั้งผู้ชายและผู้หญิง สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้สำเร็จ ด้วยการกินยาต้านซึมเศร้า จิตบำบัด หรือใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน ดังนั้นหากมีอาการทางอารมณ์ต่างๆ เช่น ซึมเศร้า โมโหร้าย หรืออาการทางร่างกาย เช่น เจ็บปวดเรื้อรัง และอาการต่างๆ กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Depression in Men. https://www.webmd.com/depression/depression-men#1. Accessed on April  12 2019.

Men and Depression. https://www.nimh.nih.gov/health/publications/men-and-depression/index.shtml. Accessed on April  12 2019.

Men: Don’t ignore signs of depression. https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/men-dont-ignore-signs-of-depression. Accessed on April  12 2019.

Male depression: Understanding the issues. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/in-depth/male-depression/art-20046216. Accessed October 2022.

Depression in men. https://www.healthdirect.gov.au/depression-in-men. Accessed October 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/10/2022

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดเรื้อรังกับโรคซึมเศร้า เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่คุณคิด

นอนมากกว่าปกติ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า และอีกสารพัดโรคร้าย!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 20/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา