อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ เป็นการใช้คลื่นเสียงสะท้อน เพื่อสร้างภาพถ่ายสมอง และบริเวณกักเก็บของเหลวในโพรงสมอง ที่น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังไหลผ่าน
คำจำกัดความ
การตรวจ อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ (Cranial Ultrasound) คืออะไร
การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ (cranial ultrasound) ใช้คลื่นเสียงสะท้อนเพื่อสร้างภาพถ่ายสมองและบริเวณกักเก็บของเหลวในโพรงสมองที่น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังไหลผ่าน การทดสอบนี้มักดำเนินการในเด็กเพื่อประเมินอาการแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนด ส่วนในผู้ใหญ่นั้น การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกอาจดำเนินการเพื่อแสดงให้เห็นก้อนสมองในระหว่างการผ่าตัด
คลื่นอัลตราซาวด์ไม่สามารถผ่านกระดูกได้ จึงไม่สามารถทำการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อประเมินสมองได้หลังจากที่กระดูกหุ้มสมอง (cranium) เชื่อมต่อกันสนิทแล้ว การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกสามารถดำเนินการได้ในทารกก่อนที่กระดูกกะโหลกศีรษะเจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนในผู้ใหญ่จะทำหลังจากผ่าตัดเปิดกะโหลกแล้ว การทดสอบนี้อาจใช้ประเมินอาการผิดปกติในสมองและโพรงสมองในทารกแรกเกิดไปจนอายุประมาณ 18 เดือน
การอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะสำหรับทารก
อาการแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ อาการ periventricular leukomalacia (PVL) และเลือดออกในสมอง ซึ่งได้แก่อาการเลือดออกในโพรงสมอง (intraventricular hemorrhage: IVH) อาการ PVL เป็นภาวะหนึ่งที่เนื้อเยื่อสมองรอบโพรงสมองได้รับความเสียหายซึ่งอาจเกิดจากออกซิเจนหรือกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงสมองน้อยลง โดยอาจเกิดขึ้นก่อน ในระหว่าง หรือหลังการคลอดก็ได้ อาการ IVH และ PVL จะเพิ่มความเสี่ยงของความพิการในทารก ซึ่งอาจปราฏอาการได้หลากหลาย ตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรงเกี่ยวกับการเรียนรู้หรืออาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่เติบโตช้า (gross motor delays) ไปจนถึงอาการสมองพิการ (cerebral palsy) หรือความพิการทางสติปัญญา (intellectual disability)
อาการ IVH มักพบในทารกคลอดก่อนกำหนดได้มากกว่าในทารกที่คลอดตามกำหนด เมื่ออาการดังกล่าวเกิดขึ้น มักปรากฏอาการได้มากที่สุดใน 3 ถึง 4 วันแรกหลังการคลอด ผู้ป่วยที่มีอาการ IVH ส่วนใหญ่สามารถตรวจพบได้ด้วยการอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะในสัปดาห์แรกหลังการคลอด
ในทางตรงข้าม อาการ PVL อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะตรวจพบ ด้วยเหตุผลนี้ การอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะอาจทำซ้ำได้ในเวลา 4 ถึง 8 สัปดาห์หลังคลอด หากสงสัยว่ามีอาการ PVL โดยอาจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะหลายๆ ครั้งเพื่อประเมินความผิดปกติในบริเวณต่างๆ ของสมอง
การอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะยังในการประเมินขนาดศีรษะของทารกที่มีขนาดใหญ่หรือโตขึ้น หรือตรวจหาการติดเชื้อในหรือโดยรอบสมองจากไข้สมองอักเสบ (encephalitis) หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) นอกจากนี้ ยังใช้ในการตรวจคัดกรองอาการผิดปกติทางสมองที่เกิดตั้งตั้งแต่คลอด เช่น ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำแต่กำเนิด (congenital hydrocephalus)
การอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะสำหรับผู้ใหญ่
การอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะอาจดำเนินการในผู้ใหญ่เพื่อช่วยหาตำแหน่งก้อนเนื้อในสมอง เนื่องจากการอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะไม่สามารถดำเนินการได้หลังจากกระดูกกะโหลกศีรษะเชื่อมติดกันสนิท โดยวิธีนี้จะดำเนินการหลังจากผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะในระหว่างการผ่าตัดสมองเท่านั้น
ความจำเป็นในการตรวจ อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ
ในทารก การตรวจอัลตราซาวด์ศีรษะใช้เพื่อ
- ประเมินภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ หรือโพรงสมองโต ซึ่งเป็นภาวะที่มีสาเหตุหลายประการ
- ตรวจหาอาการเลือดออกภายในเนื้อเยื่อสมองหรือโพรงสมอง ภาวะประการหลังนี้เรียกว่าภาวะเลือดออกในโพรงสมอง (intraventricular hemorrhage: IVH)
- ประเมินว่ามีความเสียหายในเนื้อสมองสีขาวโดยรอบปลายโพรงสมอง ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า periventricular leukomalacia (PVL) หรือไม่
- ประเมินอาการผิดปกติแต่กำเนิด
- หาตำแหน่งการติดเชื้อหรือเนื้องอก
ส่วนในผู้ใหญ่นั้น การตรวจอัลตราซาวด์ศีรษะใช้เพื่อหาตำแหน่งและประเมินก้อนเนื้อในระหว่างการผ่าตัดสมอง ซึ่งทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ข้อควรทราบก่อนตรวจ
ข้อควรทราบก่อนตรวจ อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ
เนื่องจากการตรวจอัลตราซาวด์ไม่สามารถตรวจผ่านกระดูกได้ จึงทำได้กับทารกที่กระดูกกะโหลกศีรษะ (cranial) ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม วิธีการตรวจแบบ duplex Doppler ultrasound สามารถทำเพื่อประเมินกระแสเลือดในสมองทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้
อาการ Periventricular leukomalacia (PVL) มักตรวจไม่พบจนเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์หลังคลอด ด้วยเหตุผลนี้ การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะมักดำเนินการในช่วงเวลา 4 ถึง 8 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งอาจตรวจพบบริเวณต้องสงสัย แต่อาจมีหรือไม่มีอาการ PVL ก้ได้ การทดสอบด้วยอัลตราซาวด์อาจทำซ้ำได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทารกที่มีอาการ PVL หรือภาวะเลือดออกในสมอง อาจเติบโตได้ตามปกติหรืออาจมีความพิการในระดับต่างกันออกไป ซึ่งได้แก่ สมองพิการหรือความพิการทางสติปัญญา
วิธีการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ เอ็มอาร์ไอ อาจดำเนินการแทนการตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะเพื่อประเมินอาการ PVL หรือ IVH ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
ขั้นตอนการตรวจ
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ
ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวพิเศษใดๆ ก่อนเข้ารับการทดสอบนี้
อย่างไรก็ตาม ในผู้ใหญ่อาจต้องหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารนิโคตินเป็นเวลา 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นความถี่สูง (Transcranial Doppler) เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีสารนิโคตินอาจทำให้หลอดเลือดตีบและให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อน
แพทย์จะให้ข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับการทดสอบแก่การทดสอบในผู้ใหญ่และทารก
หากทารกที่มีอายุมากขึ้นเข้ารับการทดสอบเกิดอาการหิวเล็กน้อย สามารถดื่มนมมารดาได้ในระหว่างการทดสอบ ซึ่งจะช่วยให้ทารกรู้สึกสบายและอยู่นิ่งได้ในระหว่างการทดสอบ
ขั้นตอนการตรวจ อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ
การทดสอบนี้ดำเนินการโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการแปรผลการทดสอบโดยใช้ภาพถ่าย (radiologist) หรือโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการอัลตราซาวด์ (sonographer) ซึ่งควบคุมโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการแปรผลการทดสอบโดยใช้ภาพถ่าย สำหรับทารกนั้น อาจมีการตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะบนเตียงสำหรับทารกในห้องอภิบาลทารกแรกเกิด โดยให้ทารกนอนหงาย และใช้เครื่องมือ transducer เคลื่อนที่ข้ามกระหม่อม (fontanelle) บริเวณศีรษะด้านบน หรืออาจต้องอุ้มทารกในระหว่างการทดสอบ รูปภาพสมองและบริเวณกักเก็บของเหลวในสมอง (โพรงสมอง) สามารถมองเห็นได้ที่หน้าจอวิดีโอ
สำหรับผู้ใหญ่นั้น การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะจะทำในระหว่างการผ่าตัดสมองเพื่อช่วยตรวจหาก้อนเนื้อในสมอง
โดยปกติแล้ว การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะใช้เวลา 15 ถึง 30 นาที
หลังการตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ
หลังการตรวจอัลตราซาวด์ สามารถเริ่มทำกิจกรรมตามปกติได้ทันที
การตรวจเพื่อติดตามอาการอาจเป็นสิ่งจำเป็น โดยแพทย์จะอธิบายเหตุผลที่แน่ชัดหากต้องมีการทดสอบอีก ในบางครั้ง มีการตรวจเพื่อติดตามอาการเนื่องจากผลการตรวจน่าสงสัยหรือมีข้อคำถามที่จำเป็นต้องมีการอธิบายด้วยมุมมองเพิ่มเติมหรือจำเป็นต้องใช้เทคนิคการตรวจโดยใช้ภาพถ่ายประเภทพิเศษ นอกจากนี้ การตรวจเพื่อติดตามอาการอาจเป็นสิ่งจำเป็นในการเฝ้าระวังความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป โดยการตรวจเพื่อติดตามอาการถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อดูว่าการรักษาได้ผลหรือไม่หรืออาการผิดปกติมีความคงที่เมื่อเวลาผ่านไปหรือไม่
หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจอัลตราซาวนด์กะโหลกศีรษะ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น
ผลการตรวจ
ผลการตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ
ค่าปกติ
- ขนาดและรูปร่างของสมองปกติ
- ขนาดของช่องของเหลวด้านในสมอง (โพรงสมอง) ปกติ
- เนื้อเยื่อสมองปกติ ไม่มีอาการเลือดออก ไม่มีบริเวณต้องสงสัย ไม่มีการเจิญเติบโตที่ผิดปกติ หรือร่องรอยการติดเชื้อ
ค่าผิดปกติ
- มีอาการเลือดออกในสมอง ซึ่งอาจบ่งชี้ว่ามีภาวะเลือดออกในโพรงสมอง (intraventricular hemorrhage: IVH) มักมีการทดสอบซ้ำเพื่อตรวจหาอาการเลือดออกหรือตรวจหาอาการผิดปกติที่เกิดจากการเลือดออก
- อาจมีบริเวณที่ต้องสงสัย หรือ lesions โดยรอบโพรงสมอง อาจเป็นสิ่งบ่งชี้ของภาวะ periventricular leukomalacia (PVL) ซึ่งเป็นภาวะที่เนื้อเยื่อสมองโดยรอบโพรงสมองได้รับความเสียหาย
- สมองและโพรงสมองอาจมีขนาดโตขึ้นจากการสะสมตัวของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid: CSF) ส่วนเกิน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (hydrocephalus)
- อาจมีอาการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงเนื้องอก (tumor) หรือถุงน้ำ (cyst)
- อาจมีผลการตรวจที่น่าสงสัย ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงไข้สมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการตรวจอัลตราซาวนด์กะโหลกอาจมีความหลากหลาย โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]