backup og meta

ผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

ผ่าตัดต่อมทอนซิล เป็นการผ่าตัดต่อมทอนซิลออกจากร่างกาย ต่อมทอนซิลทำหน้าที่ช่วยต้านการติดเชื้อจากเชื้อโรคที่หายใจเข้าหรือกลืนเข้าไป

ข้อมูลพื้นฐาน

ผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy) คืออะไร

การผ่าตัดต่อมทอนซิล (tonsillectomy) เป็นการผ่าตัดนำเอาต่อมทอนซิลออกไป ต่อมทอนซิล เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (เช่น ต่อมต่างๆ ที่คอ) ทำหน้าที่ช่วยต้านการติดเชื้อจากเชื้อโรคที่หายใจเข้าหรือกลืนเข้าไป

ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เกิดขึ้นเมื่อต่อมทอนซิลติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการเจ็บ ไข้ และกลืนลำบาก และทำให้รู้สึกไม่สบาย

ความจำเป็นในการ ผ่าตัดต่อมทอนซิล

การผ่าตัดมักเป็นวิธีที่แนะนำเนื่องจากเป็นวิธีที่ได้ผลเพียงวิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้ต่อมทอนซิลอักเสบกลับมาเป็นซ้ำ ผู้ที่มีอาการเจ็บคอเรื้อรังอาจได้รับประโยชน์จากการผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออกไป

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการผ่าตัดท่อมทอนซิล

การใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กเป็นเวลานานอาจยับยั้งการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเรื้อรังได้ สำหรับผู้ใหญ่นั้น การรักษาประเภทนี้มีโอกาสได้ผลน้อยกว่า โดยเฉพาะโรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโต (glandular fever) ที่เกิดขึ้นตามมา

การติดเชื้อและอาการเจ็บคอที่ป้องกันได้ด้วยการผ่าตัดอาจมีอาการไม่รุนแรงและส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมีความเสี่ยงบางประการและจำเป็นต้องอาศัยเวลาพักฟื้น

เป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องทำความเข้าใจความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด หากมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอน

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต่อมทอนซิล

คุณต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ อาการแพ้ และภาวะสุขภาพใดๆ และก่อนเข้ารับการผ่าตัด คุณจะต้องเข้าพบวิสัญญีแพทย์เพื่อวางแผนการใช้ยาสลบร่วมกัน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาที่ควรหยุดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนการผ่าตัด

คุณควรได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติที่ชัดเจนก่อนการผ่าตัด ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถรับประทานอาหารล่วงหน้าก่อนการผ่าตัดได้หรือไม่ ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว คุณควรเริ่มอดอาหารประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด คุณอาจสามารถดื่มของเหลวต่างๆ ได้ เช่น กาแฟ จนกระทั่งถึงเวลาสองสามชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

ขั้นตอนการผ่าตัดต่อมทอนซิล

การผ่าตัดดำเนินการโดยใช้ยาสลบและมักใช้เวลา 30 นาที

แพทย์จะทำการผ่าตัดต่อมทอนซิลผ่านทางปาก โดยจะตัดหรือลอกต่อมทอนซิลออกจากกล้ามเนื้อใต้ต่อมทอนซิล หรือใช้ความร้อนเพื่อกำจัดต่อมทอนซิลและใช้ความร้อนจี้ในบริเวณดังกล่าว หรืออาจใช้พลังงานความถี่วิทยุเพื่อกำจัดต่อมทอนซิล โดยแพทย์จะห้ามเลือดที่ไหลออกมากเกินไปในระหว่างการผ่าตัด

หลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล

ตามปกติ คุณสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป อาการเจ็บปวดอาจยังคงอยู่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และอาการปวดมักจะรุนแรงขึ้นในตอนเช้า

คุณจำเป็นต้องหยุดงานหรือหยุดเรียน รวมทั้งอยู่ห่างจากคนจำนวนมากเป็นเวลา 2 สัปดาห์

การออกกำลังกายที่สม่ำเสมออาจช่วยให้คุณทำกิจกรรมตามปกติได้เร็วกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มออกกำลังกาย ควรขอคำแนะนำจากทีมงานดูแลสุขภาพหรือแพทย์ที่ทำการรักษา

หากคุณมีคำถามหรือข้อกังวลใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การพักฟื้น

หลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล

การผ่าตัดต่อมทอนซิลย่อมมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการผ่าตัดทุกประเภท ดังนั้น คุณควรขอให้แพทย์อธิบายว่าความเสี่ยงดังกล่าวจะส่งผลต่อคุณได้อย่างไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัดได้แก่ ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นต่อยาชา เลือดออกมากเกินไป หรือการเกิดลิ่มเลือด (deep vein thrombosis, DVT)

สำหรับการผ่าตัดต่อมทอนซิลในผู้ใหญ่ อาจมีภาวะแทรกซ้อนเฉพาะ ซึ่งได้แก่

  • ชิ้นส่วนขนาดเล็กของต่อมทอนซิลอาจยังคงเหลืออยู่
  • ต่อมทอนซิลที่โคนลิ้นอักเสบ (Lingual tonsillitis)
  • การรับรสเปลี่ยนไป
  • รู้สึกว่ามีบางสิ่งติดคอ

คุณสามารถลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวังสำหรับการเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด เช่น การงดอาหารและหยุดใช้ยาบางชนิด

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Lichen planus. http://www.healthline.com/health/lichen-planus#Complications7. Accessed July 24, 2016.

Tonsillitis – Treatment http://www.nhs.uk/Conditions/Tonsillitis/Pages/Treatment.aspx. Accessed July 6, 2016.

Tonsillectomy http://www.healthline.com/health/tonsillectomy. Accessed July 6, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

โปรแกรม ตรวจ สุขภาพ 2566 คัดกรองโรคที่ไหนดี 

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา