backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/03/2021

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis)

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) คืออาการติดเชื้อบริเวณต่อมทอนซิลที่เกิดขึ้นอย่างติดต่อกัน การติดเชื้อซ้ำ ๆ นั้นอาจทำให้เกิดช่องเล็ก ๆ (Crypts) ในต่อมทอนซิลที่กักเก็บแบคทีเรียเอาไว้

คำจำกัดความ

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) คืออะไร

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) คืออาการติดเชื้อบริเวณต่อมทอนซิลที่เกิดขึ้นอย่างติดต่อกัน การติดเชื้อซ้ำ ๆ นั้นอาจทำให้เกิดช่องเล็ก ๆ (Crypts) ในต่อมทอนซิลที่กักเก็บแบคทีเรียเอาไว้ ส่วนมากจะพบลักษณะคล้ายหินเล็ก ๆ ที่มีกลิ่นเหม็นในช่องปาก โดยหินนี้เรียกว่า “นิ่วทอนซิล (Tnsilloliths)’ ซึ่งอาจมีการสะสมของซัลฟา (Sulfa) เป็นจำนวนมาก เมื่อแตกตัวจะมีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่าทำให้มีกลิ่นปาก แล้วยังทำให้ผู้ป่วยมีรู้สึกเหมือนมีอะไรมาจับด้านหลังในลำคอ

พบได้บ่อยแค่ไหน

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังนั้นพบมากในหมู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

สาเหตุ

สาเหตุของ ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis)

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้องรังนั้นเกิดจากการติดเชื้อ โดยปกติแล้วต่อมทอนซิลจะทำหน้าที่ป้องกัน ไม่ให้ลำคอและปอดติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส แต่ในบางครั้งก็อาจจะติดเชื้อเสียเอง

การติดเชื้อมีทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส ดังนี้

  • โรคสเตรปโทคอกโคสิส (Streptococcosis)
  • ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
  • ไวรัสพาราอินฟลูเอนซ่า (Parainfluenzae)
  • ไวรัสเอเดโนไวรัส (Adenoviruses)
  • ไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr)
  • ไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex)
  • ไวรัสเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)
  • ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis)

    ปัจจัยเสี่ยงหลัก คือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunodeficiency) และในครอบครัวมีประวัติการเป็นต่อมทอนซิลอักเสบ หรือมีภูมิแพ้กรรมพันธุ์ การติดเชื้อทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส ที่สามารถต้านยาปฏิชีวนะ และเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันนั้น มักจะพัฒนาเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ การฉายรังสีก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้อีกด้วย

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis)

    การวินิจฉัยพื้นฐาน คือ การตรวจช่องลำคอ คุณหมออาจจะทำการเพาะเชื้อในลำคอ (Throat Culture) โดยการใช้ชุดอุปกรณ์สัมผัสทดสอบป้ายไปที่ด้านหลังในลำคอ แล้วส่งเข้าตรวจในห้องแล็บ เพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ

    วิธีรักษาต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง 

    การรักษาในเบื้องต้นมีรักษาความชุ่มชื้นให้เพียงพอ และควบคุมอาการเจ็บ การจัดการกับความเจ็บที่คอจะทำให้เราสามารถรักษาความชุ่มชื้นที่คอไว้ได้ หากคุณมีอาการขาดน้ำ คุณควรทำการรักษาทันที การควบคุมอาการเจ็บนั้นสามารถหาซื้อยามารับประทานเองได้ จำพวก พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน หรือใช้ยาอมหรือสเปรย์แก้เจ็บคอ

    บางครั้งคุณหมออาจจะแนะนำให้ผ่าตัดต่อมทอนซิลออก ขึ้นอยู่กับอาการของคุณ ส่วนใหญ่ถ้าคุณมีอาการต่อมทอนซิลอักเสบ 6-7 ครั้งในหนึ่งปี หรือมีอาการต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังที่รักษาไม่หาย

    การเลือกที่จะผ่าตัดต่อมทอนซิล อาจช่วยลดจำนวนการเกิดอาการเจ็บคอ และปริมาณยาปฏิชีวนะที่ต้องใช้ต่อปีลงอย่างมาก หากอาการต่อมทอนซิลอักเสบรบกวนการทำงานหรือการเรียนของคุณ การผ่าตัดจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นมาก

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองเพื่อบรรเทาอาการต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis)

    • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีพลังมากพอที่จะต่อสู้กับอาการติดเชื้อ แทนที่จะเอาไปใช้ในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันจนหมด
    • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้ลำคอแห้งแล้วรู้สึกไม่สบาย เนื่องจากร่างกายของคุณต้องการน้ำเป็นพิเศษ เมื่อต่อสู้กับอาการติดเชื้อ พยายามเลือกน้ำอุ่น และเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน
    • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ ก็สามารถช่วยได้
    • การอมยาอมแก้เจ็บคอ ก็สามารถช่วยได้
    • ใช้เครื่องเพิ่มความชื้น สามารถช่วยลดอาการระคายเคืองที่มาจากความแห้งได้
    • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น การสูบบุหรี่ หรือบริเวณที่มีควันมาก
    • รับประทานยา เช่น ไอบูโพรเฟน หรือ อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) ก็สามารถช่วยบรรเทาไข้และอาการปวดได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา