backup og meta

ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation Ablation)

ข้อมูลพื้นฐานความเสี่ยงขั้นตอนการผ่าตัดการพักฟื้น

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คืออะไร

การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “Atrial Fibrillation Ablation’ คำว่า “Ablation” หมายถึง “การตัดออก’ มาจากคำว่า “Ablate” ที่แปลว่า “ลบออก หรือ ทำลาย”

ในแง่ของ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หมายถึง ตัวเลือกหนึ่งในการรักษาเมื่อยาไม่สามารถรักษาหรือควบคุมการทำงานของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้

การผ่าตัดคือขั้นตอนที่ทำให้เกิดแผลขนาดเล็กบริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ บริเวณเป้าหมายของแผลคือแหล่งกำเนิดแรงกระตุ้นไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เมื่อเนื้อเยื่อได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอเข้าสู่หัวใจได้อีก ตำแหน่งแผลขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการผ่าตัด รวมไปถึงประเภทการรักษา เช่น

  • การกระตุ้นหัวใจห้องบนขวา
  • การผ่าตัดใส่สายสวน
  • การผ่าตัดหลอดเลือดดำในปอด
  • การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
อาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ระยะของอาการ และความเสี่ยงในการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วนั้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการผ่าตัด

ขั้นตอนการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

การผ่าตัดใส่สายสวน

การเตรียมพร้อมการผ่าตัดใส่สายสวน

การผ่าตัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ควรดำเนินการในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น

  • ตรวจสอบการทำงานของเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด
  • ใช้ยาเจือจางเลือดก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  • การทำซีทีสแกน (CT) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงานของเส้นเลือด
  • อดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด

แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่น ๆ ที่คุณกำลังรับประทาน คุณอาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยาชั่วคราวเพราะยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อการผ่าตัด หรือก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนระหว่าง หรือหลังผ่าตัดได้

ระหว่างการผ่าตัด

วิสัญญีแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ก่อนเริ่มการผ่าตัด จากนั้นศัลยแพทย์จะลงมือผ่าตัดอย่างใจเย็นและตั้งใจ ผู้ป่วยจะยังตื่นอยู่แต่จะไม่มีการเจ็บใด ๆ แพทย์จะสอดท่อยืดหยุ่นขนาดเล็กและบางเข้าภายในหลอดเลือดดำบริเวณขาหนีบ

บางครั้งจะสอดเข้าหลอดเลือดดำบริเวณคอแทน จะใช้การเอกซเรย์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า ฟลูโอโรสโคป เพื่อดูตำแหน่งของท่อ เมื่อท่ออยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว แพทย์จะเริ่มส่งคลื่นวิทยุผ่านท่อ ส่วนปลายท่อจะมีความร้อนจากคลื่นวิทยุ ซึ่งจะใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อหัวใจที่เสียหาย การผ่าตัดนี้มักใช้เวลาหลายชั่วโมง

การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก

ขั้นตอนการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก เรียกว่า “การผ่าตัดที่มีขนาดแผลเล็กลง” และสามารถรักษา ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กโดยทั่วไปจะใช้เวลาไม่นานเท่าการผ่าตัดแบบปกติ ซึ่งจะใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชั่วโมง

เมื่อผ่าตัดเสร็จจะมีเพียงรอยที่มีขนาดพอสำหรับการส่องกล้องและท่อสวนแผลเล็ก ๆ บริเวณข้างลำตัวหรือใต้รักแร้  คลื่นวิทยุจะสามารถกำจัดเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้

การพักฟื้น

การพักฟื้นหลังการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ผู้ป่วยจากการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจอยู่โรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจสอบการทำงานของหัวใจผู้ป่วย หลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการกระตุกในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ยาเจือจางเลือดจะช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ เช่น ลิ่มเลือด ผู้ป่วยอาจใช้ยารักษาภาวะการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ เพื่อควบคุมอัตราการทำงานของคลื่นไฟฟ้าที่ยังไม่เข้าที่เข้าทาง และผู้ป่วยจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ภายใน 2 สัปดาห์

ความเสี่ยงหลังการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ถึงแม้ว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กจะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่การผ่าตัดทุกประเภทก็ยังมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน เนื่องจากการเจาะเข้าสู่หัวใจอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ตามข้อมูลบันทึกเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด มีบุคคลเพียง 1-2% เท่านั้นที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้

นอกจากนี้ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจสร้างความเสียหายต่อหลอดอาหารได้ด้วย เนื่องจากหัวใจห้องบนซ้ายนั้นอยู่ด้านหลังของหลอดอาหาร และการตีบของหลอดเลือดในปอดก็ยังเป็นอีกหนึ่งผลข้างเคียงจากการผ่าตัด อาการหลอดเลือดตีบอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดและปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับหลอดเลือดดำได้

คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

ผลลัพธ์ที่ได้

อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กนั้น แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของผู้ป่วย การผ่าตัดมีประสิทธิ 30-90% หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอจะมีอาการดีขึ้นมากกว่าแย่ลง

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดนี้ไม่สามารถรักษาอาการให้หายขาดได้ โปรดปรึกษาแพทย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

About Pulmonary Vein Stenosis.(2011). Boston Children’s Hospital.http://www.childrenshospital.org/clinicalservices/Site683/mainpageS683P7.html

Ames, A. & Stevenson, W.G. (2006).Catheter Ablation of Atrial Fibrillation. Circulation, 113, e666-e668.http://circ.ahajournals.org/content/113/13/e666.full

Atrial Fibrillation/Pulmonary Vein Ablation Procedure.(2013). NYU Langone Medical Center.http://cvi.med.nyu.edu/patients/treatment-technologies-surgeries/atrial-fibrillation-pulmonary-vein-ablation-procedure

Minimally-Invasive Radiofrequency Ablation for Atrial Fibrillation. (2013). Johns Hopkins Medicine.http://www.hopkinsmedicine.org/heart_vascular_institute/conditions_treatments/treatments/minimally_invasive_radiofrequency_ablation.html

Verma, A &Natale, A. (2005).Why Atrial Fibrillation Ablation Should Be Considered First-Line Therapy for Some Patients.Circulation, 112, 1214-1230.http://circ.ahajournals.org/content/112/8/1214.full

Wazni, O. et al. (2011, December 15). Catheter Ablation for Atrial Fibrillation. The New England Journal of Medicine, 366, 1058-1061. http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMc1200491

What Is Atrial Fibrillation? (2011, July 1). National Heart, Lung, and Blood Institute.http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/af/

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อความหวานทำลายหัวใจ : น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยคุณต่อสู้กับโรคหัวใจได้


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไข 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา