backup og meta

โรคลูปัสทำให้สมองขาดเลือดได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    โรคลูปัสทำให้สมองขาดเลือดได้อย่างไร

    ลูปัส (Lupus) เป็นอาการอักเสบแบบเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหันมาโจมตีเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของคุณเอง การอักเสบจากโรคลูปัสอาจเกิดขึ้นกับระบบร่างกายต่างๆ มากมาย รวมทั้งข้อต่อ ผิวหนัง ไต เม็ดเลือด สมอง หัวใจและปอด นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ด้วย โรคลูปัสทำให้สมองขาดเลือดได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อมกับบทความดีๆ

    สัญญาณและอาการของโรคลูปัสมีอะไรบ้าง

    สัญญาณแสดงและอาการของโรคลูปัส สัญญาณแสดงและอาการที่พบบ่อยที่สุดได้แก่

    • เหนื่อยล้าและเป็นไข้
    • ปวดข้อต่อ ข้อแข็ง และบวม
    • ผื่นรูปร่างปีกผีเสื้อที่ใบหน้าครอบคลุมบริเวณแก้มและสันจมูก
    • แผลที่ผิวหนังที่ปรากฎหรือมีอาการแย่ลงเมื่อเจอแสงแดด
    • นิ้วมือและนิ้วเท้าเปลี่ยนเป็นสีขาว หรือสีน้ำเงินในช่วงอากาศเย็นหรือเวลาเครียด
    • หายใจถี่
    • ปวดหน้าอก
    • ตาแห้ง
    • ปวดศีรษะ สับสน และสูญเสียความทรงจำ 

    โรคลูปัสทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้อย่างไร

    เนื่องจากที่โรคลูปัสส่งผลกับอวัยวะหลายส่วนในร่างกาย จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ในหลายรูปแบบ

    • โดยการกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของก้อนเลือด เพราะกิจกรรมที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สารภูมิต้านทานในผู้ป่วยโรคลูปัสอาจจู่โจมเนื้อเยื่อของเซลล์ภายในหลอดเลือด ซึ่งสามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดชั้นลึกบริเวณขา ในห้องหัวใจ และเส้นเลือดใหญ่ที่ศีรษะ ในบางกรณี ลิ่มเลือดเหล่านี้อาจเคลื่อนไปสู่สมองและทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดจากการอุดตันลิ่มเลือด (embolic strokes) ได้
    • การทำงานของสารภูมิต้านทานที่ผิดปกติในโรคลูปัสอาจทำให้เกิดการทำงานของการก่อตัวลิ่มเลือดที่ผิดปกติได้ รวมทั้งสารต้านการเกาะลิ่มเลือดลูปัส (Lupus anticoagulant) และ anticardiolipin antibodies
    • ในผู้ป่วยโรคลูปัสบางราย สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เซลล์เม็ดเลือดขนาดเล็กของสารภูมิต้านทาน เซลล์ภูมิคุ้มกันที่ผสมกับแร่ธาตุ โปรตีน และสารอื่นๆ ที่มาจากระบบภูมิคุ้มกัน อาจพบได้ในหัวใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้เมื่อถูกนำพาจากหัวใจไปยังสมอง
    • ภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างของโรคลูปัสคือภาวะหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) ในภาวะนี้ หลอดเลือดจะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงมากจนเลือดไหลผ่านไม่ได้เลย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นกับหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังสมอง และสามารถทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้

    ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคลูปัสมีอะไรบ้าง

    ปัจจัยต่างๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคลูปัส ได้แก่

    • เพศ โรคลูปัสพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
    • อายุ แม้ว่าโรคลูปัสเกิดได้กับคนทุกวัย แต่วินิจฉัยพบได้บ่อยที่สุดในคนอายุตั้งแต่ 15 ถึง 40 ปี
    • เชื้อชาติ โรคลูปัส พบได้บ่อยกว่าในกลุ่มชาวแอฟริกันอเมริกัน ฮิสปานิกและเอเชีย

    โรคลูปัสเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณจู่โจมเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีในร่างกาย มีความเป็นไปได้ว่า โรคลูปัสเกิดจากพันธุกรรมและสภาวะแวดล้อมของคุณ โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับบางสิ่งในสภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดโรค ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคลูปัส ในกรณีส่วนใหญ่นั้น มีตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคได้ดังนี้

    • แสงอาทิตย์ การตากแดดอาจทำให้เกิดแผลลูปัสที่ผิวหนังหรือเป็นตัวกระตุ้นการตอบสนองภายในสำหรับคนที่มีความเสี่ยง
    • การติดเชื้อ การติดเชื้ออาจทำให้เริ่มเกิดโรคลูปัสหรือทำให้โรคกำเริบอีกได้ในบางคน
    • การใช้ยา โรคลูปัสสามารถกระตุ้นให้เกิดได้โดยการใช้ยาต้านการชักบางชนิด ยารักษาความดันโลหิตและยาปฏิชีวนะ

    พบแพทย์ถ้าคุณมีผื่นโดยไม่ทราบสาเหตุ มีไข้ไม่ลด มีอาการปวดหรือเหนื่อยล้าไม่หาย

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา