backup og meta

โลหิตจางอย่างร้าย (Pernicious Anemia) คืออะไร

โลหิตจางอย่างร้าย (Pernicious Anemia) คืออะไร

โลหิตจาง เป็นภาวะทางสุขภาพซึ่งจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติในร่างกายมีค่าต่ำ โดย โลหิตจางอย่างร้าย (Pernicious Anemia) เป็นภาวะพร่องวิตามินบี 12 ประเภทหนึ่ง เกิดจากการไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี 12 ซึ่งร่างกายต้องการใช้เพื่อสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์ได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ดี โรคนี้จัดว่าพบได้น้อย

คำว่า “อย่างร้าย’ มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ครั้งหนึ่งโรคนี้จัดว่าเป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิต ในมุมมองของการขาดการรักษาที่เข้าถึงได้ในอดีต อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้เมื่อเทียบกับเมื่อก่อน การรักษาโรคนี้ทำได้ง่ายขึ้นโดยการฉีดวิตามินบี 12 หรือรับประทานอาหารเสริม ภาวะพร่องวิตามินบี 12 หากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

โลหิตจางอย่างร้าย เกิดจากอะไร

วิตามินบี 12 เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง หอย เนื้อสัตว์ ไข่ สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากนมเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินชนิดนี้ที่คุณสามารถหาได้

โปรตีนชนิดพิเศษ ซึ่งเรียกว่าปัจจัยภายใน ช่วยลำไส้ของคุณในการดูดซึมวิตามินบี 12 เซลล์ในกระเพาะอาหารมีหน้าที่ในการปลดปล่อยโปรตีนชนิดนี้ หากกระเพาะอาหารไม่สามารถปลดปล่อยโปรตีนชนิดนี้ได้อย่างเพียงพอ ลำไส้จะไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี 12 ได้อย่างเหมาะสม

สาเหตุที่พบมากที่สุด

สาเหตุที่พบได้มากที่สุดประการหนึ่งของโลหิตจางอย่างร้ายคือ ภาวะเกี่ยวกับภูมิต้านตนเอง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของคุณต้านทานโปรตีนที่เป็นปัจจัยภายในหรือเซลล์ที่สร้างโปรตีนดังกล่าวอย่างผิดพลาด นอกจากนี้ เยื่อบุกระเพาะอาหารที่อ่อนแอ ยังสามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้อีกด้วย

โลหิตจางชนิดร้ายแรงสามารถถ่ายทอดได้ในครอบครัว ถึงแม้ว่าจะพบได้น้อยก็ตาม ซึ่งเรียกว่าโลหิตจางอย่างร้ายแต่กำเนิด (Congenital Pernicious Anemia) ทารกที่เป็นโลหิตจางประเภทนี้ แทบจะไม่สังเคราะห์โปรตีนที่เป็นปัจจัยภายในได้ หรือดูดซึมวิตามินบี 12 ในลำไส้เล็กได้อย่างเหมาะสม

ผู้ใหญ่ที่เป็นโลหิตจางชนิดร้ายแรง แทบจะไม่มีอาการใดๆ จนกระทั่งหลังจากมีอายุ 30 ปี อายุเฉลี่ยของการวินิจฉัยคืออายุ 60 ปี

มีความเสี่ยงมากขึ้นที่คุณจะเป็นโรคนี้ หากว่า

  • คุณเป็นชาวยุโรปเหนือหรือชาวสแกนดิเนเวีย
  • คุณมีประวัติครอบครัวเป็นโลหิตจางชนิดร้ายแรง

ต่อไปนี้เป็นรายการของโรคต่างๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้

  • โรคคอพอกตาโปนหรือโรคเกรฟส์ (Graves disease)
  • เบาหวานชนิดที่ 1
  • ภาวะพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง
  • ภาวะฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองน้อยกว่าปกติ (Hypopituitarism)
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia gravis)
  • อัณฑะทำงานผิดปกติ
  • โรคด่างขาว (Vitiligo)
  • การขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea)
  • โรคแอดดิสัน (Addison’s disease)

อาการของ โลหิตจางอย่างร้าย

ภาวะขาดวิตามินบี 12 ไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใด ตัวอย่างเช่น โลหิตจางอย่างร้ายสามารถทำให้เกิดโลหิตจาง และอาการทางประสาท เป็นที่ทราบกันว่า ร่างกายสามารถเก็บวิตามินบี 12 ได้ในปริมาณมาก ภาวะขาดวิตามินบี 12 จึงจะใช้เวลาหลายปีในการก่อตัวขึ้น

ระบบประสาทของคุณได้รับผลกระทบ เมื่อขาดวิตามินบี 12 จึงส่งผลให้เกิดอาการที่หลากหลาย ในบางครั้งอาการเหล่านี้อาจชัดเจนก่อนอาการจะสัมพันธ์กับโลหิตจาง อาการทางประสาทมีความหลากหลายและไม่จำเพาะ ซึ่งหมายความว่ามีอาการที่สามารถกระตุ้นได้โดยภาวะอื่นๆ อาจเกิดความรู้สึกเจ็บ ชา อ่อนเพลีย ร่างกายไม่ประสานกัน เชื่องช้า ความจำเสื่อม และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วร่างกายทั้งสองด้านสามารถได้รับผลกระทบ และแขนมักได้รับผลกระทบน้อยกว่าขา หากภาวะขาดวิตามินบี 12 มีความรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการทางประสาทที่อันตรายมากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่นคุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้

อาการของโลหิตจางเกิดจากความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนที่ลดลงของเลือด อาการหายใจลำบาก เหนื่อย เวียนศีรษะ และผิวซีดเป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังเป็นโลหิตจาง นอกจากนี้ หัวใจมีความตึงเครียดเนื่องจากจำเป็นต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อลำเลียงออกซิเจนที่เพียงพอไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเสียจังหวะ (arrhythmias) หัวใจเต้นเร็ว เสียงฟู่จากหัวใจ (heart murmurs) หัวใจโต หรือแม้กระทั่งหัวใจล้มเหลว สิ่งสำคัญที่สุดคือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ว่าผู้ที่ขาดวิตามินบี 12 และมีอาการทางประสาทไม่ทั้งหมดที่มีภาวะโลหิตจาง พื้นผิวของลิ้นของคุณอาจเป็นมันเงาหรือเนียนเรียบเมื่อมีภาวะขาดวิตามินบี 12

ท้ายที่สุด โลหิตจางอย่างร้ายยังอาจไม่มีอาการก็ได้ ในกรณีดังกล่าวนี้ มักพบโดยบังเอิญเมื่อเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาอาการอื่นๆ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pernicious Anemia. http://www.nytimes.com/health/guides/disease/pernicious-anemia/overview.html. Accessed August 17, 2017

Pernicious Anemia. http://www.healthline.com/health/pernicious-anemia#overview1. Accessed August 17, 2017

Pernicious Anemia and Vitamin B-12 Deficiency. http://www.medicinenet.com/pernicious_anemia/article.htm. Accessed August 17, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/04/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต เกิดได้อย่างไรและป้องกันได้อย่างไรบ้าง

โลหิตจางจากปัจจัยทางพันธุกรรม ที่ควรรู้จักมีอะไรบ้าง?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 09/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา