backup og meta

ออกไปข้างนอกทีสุดแสนจะลำบาก เพราะฉันมีอาการ กลัวการข้ามถนน

ออกไปข้างนอกทีสุดแสนจะลำบาก เพราะฉันมีอาการ กลัวการข้ามถนน

อุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับเราทุกคนอย่างมาก ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุทางยานพาหนะ หรือแม้กระทั่งเพียงแค่ก้าวข้ามผ่านถนน เหตุการณ์เหล่านี้นับได้ว่าเป็นสิ่งที่รุนแรงต่อจิตใจอย่างมาก จนก่อให้เกิดอาการหวาดกลัวทุกครั้งที่มองเห็นรถยนต์ หรือทางข้าม เป็นต้น วันนี้  Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนไปรู้ถึงวิธีรักษาอาการ กลัวการข้ามถนน เพื่อให้คุณจะได้ใช้ชีวิตสะดวกยิ่งขึ้น และเลิกหวาดระแวง มาฝากกันค่ะ

กลัวการข้ามถนน อย่างหนัก เกิดมาจากสาเหตุใด

อาการกลัวการข้ามถนน มีชื่อเรียกว่า โดรโมโฟเบีย (Dromophobia) สำหรับผู้ที่มีอาการเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าอาจมาจากพันธุกรรมทางครอบครัว ที่มีประวัติด้านทางจิตใจเล็กน้อย หรือมีอาการวิตกกังวลอยู่สูง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ถูกถ่ายทอดมาแก่บุตรหลานได้

อีกทั้งยังอาจเกิดจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนอย่างรุนแรงทางสภาพจิตใจ เช่น เหตุการณ์เกือบโดนรถชนจากการข้ามถนน หรือเคยถูกอุบัติรุนแรงมาก่อนแล้ว จึงทำให้บางครั้งเมื่อเห็นภาพท้องถนน ทางม้าลาย สัญญาณไฟ อาจทำให้นึกถึงภาพช่วงวลานั้น ๆ ที่เคยเกิดขึ้น จนทำให้ร่างกายผู้ป่วยเกิดอาการบางอย่างฉับพลันขึ้นมาทันที

สัญญาณของร่างกายเบื้องต้น เมื่อคุณเหลือบไปเห็นถนน

ความกลัวการข้ามถนนมีทั้งการแสดงออกแบบด้านกายภาพ และทางอารมณ์จิตใจ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายของผู้ป่วยตอบสนองอย่างรวดเร็ว ดังต่อนี้ไป

อาการทางกายภาพ

อาการทางด้านอารมณ์ และจิตใจ

  • รู้สึกโกรธ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน
  • กังวล หวาดกลัว
  • รู้สึกว่าตนเองสิ้นหวัง
  • เสียการควบคุมตนเอง
  • รู้สึกโทษตัวเองอยู่บ่อยครั้ง

อยากใช้ชีวิตแบบปกติสุข ควรรักษาอาการ กลัวการข้ามถนนอย่างไร

หากเช็กอาการเบื้องต้นแล้ว ว่าตัวคุณ หรือคนรอบข้างคุณ เริ่มมีอาการดังกล่าว โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ โดยบอกอาการอย่างละเอียด ส่วนในการรักษานั้น นักบำบัด หรือแพทย์เฉพาะทางอาจเริ่มปฏิบัติด้วยเทคนิคเหล่านี้

  • บำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive behavioral therapy; CBT) เป็นการสร้างการรับรู้ต่อพฤติกรรม และปัญญาไปในทางเชิงบวก เพื่อปรับปรุงสุขภาพจิตให้หายจากอาการวิตกกังวล และเอาชนะความกลัวจากการก้าวเท้าข้ามถนนได้
  • การฝึกทำสมาธิ อย่างแรกผู้ป่วยอาจต้องทำจิตใจให้สงบนิ่ง โดยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก หรือการออกกำลังกายรูปแบบช้า ๆ เช่น การเล่นโยคะ เพื่อบรรเทาความเครียด ความกลัว ละยังสามารถปรับปรุงทางด้านระบบหายใจ และสุขภาพต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอีกด้วย
  • รับประทานยาตามกำหนด ในการรับยาไปรับประทานแต่ละครั้ง ควรเป็นยาที่ได้รับคำสั่งจากแพทย์ เพื่อแก้ปัญหาของอาการกลัว วิตกกังวล รวมทั้งสามารถใช้เป็นยาต้านภาวะซึมเศร้าได้ โดยส่วนใหญ่แพทย์มักแนะนำดังนี้ แวเลียม (Valium) ซาแน็กซ์ (Xanax) โซลอฟต์ (Zoloft) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) และอื่น ๆ

ทุกครั้งที่มีอาการ คุณไม่ควรที่จะหาซื้อยารับประทานเอง ควรขอเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการใช้ยา เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกาย และจิตใจได้ เพราะอาการของแต่ละบุคคลย่อมมีสัญญาณเตือนแตกต่างกันไป ดังนั้นควรด้รับพิจารณาการรักษาเบื้องต้นจากแพทย์เสียก่อนเสมอ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dromophobia (Fear of Crossing Streets) https://psychtimes.com/dromophobia-fear-of-crossing-streets/ Accessed May 07, 2020

How To Overcome Dromophobia which is the Fear of Crossing Streets. https://www.hypnosisondemand.com/overcome-dromophobia-fear-crossing-streets/ Accessed May 07, 2020

Fear of crossing streets. Dromophobia https://fearof.org/dromophobia/ Accessed May 07, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะวิตกกังวล หลังการสูญเสีย อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจมากกว่าที่คิด

อยากมีคู่ครองแต่ใจไม่กล้าพอ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรค กลัวผู้หญิง อยู่ก็ได้นะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา