backup og meta

การอยู่คนเดียว จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ ภาวะซึมเศร้าหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    การอยู่คนเดียว จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ ภาวะซึมเศร้าหรือไม่

    การอยู่คนเดียว ก็อาจจะมีความเหงาเข้ามาก่อกวนใจบ้าง อยู่เป็นระยะ เน็ตฟลิกซ์ก็ดูวนจนเบื่อ การได้ออกไปเจอเพื่อนฝูงก็ช่วยสลัดความเหงาออกไปได้อยู่บ้าง การมีชีวิตอยู่คนเดียวก็สบายตัวไม่ต้องยุ่งวุ่นวายกับใคร แต่บางครั้ง การอยู่คนเดียว เสี่ยง ภาวะซึมเศร้า ได้เช่นกัน แต่การอยู่คนเดียวจะเสี่ยงภาวะซึมเศร้าอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจของเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

    การอยู่คนเดียว เสี่ยง ภาวะซึมเศร้า ได้จริงหรือไม่

    ผู้ใหญ่ที่อยู่คนเดียวมีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติทางจิต ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยๆ คือ ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่นั้นมาจากความเหงา จากการวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ONE ที่ได้ทำการสำรวจประชาชนในสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียวมีความเจ็บป่วยทางจิตใจแบบทั่วไป (common mental disorders หรือ CMDs) สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้อยู่คนเดียว เนื่องจากการอยู่คนเดียวมีความสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยทางจิตใจแบบทั่วไป ซึ่งความเหงานั้น ถือเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ผู้ที่อยู่คนเดียวเกิดปัญหาทางสุขภาพจิต

    จากข้อมูลการสำรวจในปี 1993 2000 และ 2550 จากผู้ใหญ่มากกว่า 20,000 คน พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2536-2550 มีผู้ที่อยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 8.8 เป็นร้อยละ 10.7 และมีอัตราความผิดปกติทางจิตพบได้บ่อยจากร้อยละ 14.1 เป็นร้อยละ 16.4 นอกจากนี้การศึกษาในปี 2015 ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ ยังพบว่าความเหงาและความโดดเดี่ยวเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย

    จัดการกับปัญหา การอยู่คนเดียว เสี่ยงซึมเศร้า อย่างไรดี

    เจสซี วอร์เนอร์ โคเฮน นักจิตวิทยาด้านสุขภาพ ได้ค้นพบวิธีการดีๆ ที่จะช่วยให้ผู้ที่ต้องอยู่คนเดียว มีชีวิตที่ไม่ต้องเสี่ยงกับภาวะซึมเศร้า ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ใช้ได้อย่างดีเยี่ยม สาเหตุหลักของการเกิดปัญหาสุขภาพจิตจากการที่อยู่คนเดียวนั้นมักจะเกิดจากความเหงา เจสซี่ได้พบว่า การสนับสนุนทางสังคม (social support) มีส่วนช่วยให้ผู้ที่อยู่คนเดียวลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้า

    การสนับสนุนทางสังคม เป็นรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม เพื่อช่วยเหลือในด้านต่างๆ ทั้งการรับรู้และเข้าใจ ทำให้ผู้ที่อยู่คนเดียวและมีภาวะเสี่ยงจะเกิดโรคซึมเศร้ารู้สึกมีเพื่อน มีสังคม เป็นที่ยอมรับ และรู้สึกว่าตนเองนั้นมีคุณค่า ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของพวกเขา

    โดยพวกเขาสามารถเลือกเข้ากลุ่ม หรือชมรมที่ตัวเองมีความสนใจ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มด้านศิลปะ กีฬา หรืองานฝีมือต่างๆ เมื่อได้เข้าสังคมในรูปแบบที่ตนเองชอบ ได้เจอกับผู้ที่มีความสนใจในแบบเดียวกันหรือมีความสนใจคล้ายๆ กัน จะช่วยให้รู้สึกว่ามีคนเข้าอกเข้าใจ รู้สึกเติมเต็ม และสนุกกับการทำกิจกรรม จนลืมเรื่องความเศร้าในการอยู่คนเดียวได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา