backup og meta

เครียดจากงาน ระวัง! จะลุกลามเป็นโรคอื่นที่รุนแรง

เครียดจากงาน ระวัง! จะลุกลามเป็นโรคอื่นที่รุนแรง

ทุกคนย่อมมีวันแย่ ๆ กันทั้งนั้น เป็นเรื่องปกติหากจะรู้สึกเครียดบ้างในที่ทำงาน โดยเฉพาะตอนนี้มีงานที่ต้องทำให้ทันเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม หากคุณมีวันแย่บ่อย ๆ หรือแค่คิดว่าต้องกลับไปทำงานก็แย่อยู่แล้ว คุณอาจกำลังทุกข์ทรมานกับความ เครียดจากงาน ก็เป็นได้

คำว่า “ความเครียด‘ ถูกใช้ครั้งแรกโดย ฮานส์ เซลย์ (Hans Selye) ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อชาวฮังการี หลังจากที่ฝึกงานด้านการแพทย์เสร็จในปี 1920 เขาเสนอว่า คำว่า “ความเครียด” เป็นอาการเครียดทางร่างกายประเภทหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกาย อันเป็นผลมาจากการปล่อยฮอร์โมนเครียดภายในร่างกาย (เซลย์, 1977)

ความเครียดจากทำงาน หรือเครียดงาน (Work Stress) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อต้องทำงานหนักเกินความสามารถและเกินที่จะทน ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนที่งานที่อยู่ภายใต้ภาวะเครียดเท่านั้น ความเครียดจากงานยังทำให้ผลิตภาพขององค์กรลดลงอีกด้วย

ตัวกระตุ้นความเครียดจากงาน

ตัวกระตุ้นความเครียดจากงานที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่

  • วัฒนธรรมองค์กร
  • การบริหารงานไม่ดี
  • งานหนัก
  • สภาพที่ทำงาน
  • ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน
  • การไม่ได้รับความช่วยเหลือ
  • การเปลี่ยนแปลงนโยบายผู้บริหาร
  • การทำงานไม่ตรงกับหน้าที่
  • ภาวะบาดเจ็บ
  • ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการส่งงานที่กระชั้น
  • มีการกำกับงานจากหัวหน้างานมากเกิน
  • เครื่องมือและทรัพยากรอำนวยความสะดวกในการทำงานไม่เพียงพอ
  • โอกาสในการเลื่อนขั้นมีน้อยมาก
  • การข่มขู่ คุกคาม

หากแบ่งตัวกระตุ้นความเครียดจากงานตามปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยด้านองค์กร จะแบ่งได้ดังนี้

  • ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ทักษะในการทำงานของแต่ละคน สุขภาพด้านจิตวิทยา สุขภาพร่างกาย กลไกการรับมือกับความเครียด
  • ปัจจัยด้านองค์กร เช่น คำสั่งจากฝ่ายบริหาร วัฒนธรรมองค์กร ชั่วโมงทำงาน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานเองและองค์กรด้วยเช่นกัน

สัญญาณความ เครียดจากงาน ที่เห็นได้ในที่ทำงาน

  • มีความขัดแย้งภายในกลุ่ม
  • พนักงานลาออกบ่อยมาก
  • พนักงานร้องเรียนบ่อยมาก
  • พนักงานลาป่วยบ่อยขึ้น
  • ผลการปฏิบัติงานของพนักงานลดลง
  • ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับผลผลิต
  • การหาพนักงานใหม่ ๆ มาทดแทนก็ยากขึ้น

วิธีสังเกตภาวะเครียดจากงานในตัวเอง

  • รู้สึกหดหู่ หรือมีแต่ความคิดแง่ลบ

แต่ละคนแสดงความรู้สึกหดหู่ หรือความคิดแง่ลบเพราะเครียดจากงานไม่เหมือนกัน บางคนอาจรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตัวเองเมื่อไม่สามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย จากนั้นก็ประเมินค่าตัวเองในทางลบ ส่วนใหญ่ผู้ที่อยู่ในภาวะเครียดจากงานจะตั้งคำถามเกี่ยวกับความสามารถของตัวเอง แค่ทำผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็รู้สึกผิดหวัง ขาดความมั่นใจ และส่งผลให้เกิดความอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลตามมา

ผู้ที่เครียดจากงาน อาจเกิดอาการปรี๊ดแตกขึ้นมาทันทีเมื่อทนกับอะไรบางอย่างไม่ไหว และพาลหาเรื่องคนอื่นไปหมดทุกเรื่อง เรื่องตลกขำขันที่เคยทำให้หัวเราะได้ก็กลับไม่ขำอีกต่อไป กริยาท่าทางของเพื่อนร่วมงานที่เคยแสดงออกกันอยู่ทุกวันอาจกลับกลายเป็นการกระทำที่ดูเหยียดหยามขึ้นมาทันที คนที่อยู่ในภาวะนี้จะควบคุมความโกรธไม่ได้ และรู้สึกน็อตหลุดตลอดเวลาแม้จะไม่ใช่เรื่องในที่ทำงาน

  • อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ไม่ปกติ

อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ถือเป็นอีกหนึ่งภาวะที่เกิดจากความเครียดจากงานซึ่งพบได้บ่อย วันหนึ่งคุณอาจมาทำงานด้วยอารมณ์สดใสและท่าทางร่าเริง แต่ผ่านไปได้ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง กลับรู้สึกแย่จนถึงกับหลั่งน้ำตาออกมา เมื่อความเศร้าผ่านไป คนที่มีอาการเหล่านี้อาจรู้สึกขายหน้ากับท่าทีของตัวเอง และไม่รู้ว่าทำไมอารมณ์ของตัวเองจึงขึ้นๆ ลงๆ ได้รวดเร็วและไม่มีเหตุผล

  • ปัญหาด้านจิตใจ

คนที่อยู่ในภาวะนี้จะเริ่มขี้หลงขี้ลืม สมาธิกับสิ่งต่าง ๆ จะเริ่มน้อยลง แม้แต่งานตัวเองก็ไม่มีสมาธิจะรับมือ อะไรที่เคยทำได้ดีหรือเชี่ยวชาญจะเริ่มไม่เหมือนเดิม คนที่อยู่ในภาวะนี้จะเริ่มสับสนกับงานที่ตัวเองเคยทำได้ดี

  • ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป

ความเครียดจากงานอาจส่งผลต่อชีวิตของคนเหล่านี้นอกเหนือจากชีวิตด้านการงานด้วย คนที่เครียดจากงานอาจนอนผิดเวลา ไม่ว่าจะนอนมากกว่าปกติหรือนอนไม่หลับ  มีปัญหากับการกิน เช่น กินผิดเวลา ไม่อยากอาหาร กินเยอะขึ้น หรือที่เรียกว่า กินแก้เครียด

  • การใช้สารเสพติด

เพื่อรับมือกับความเครียด คนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนัก หรือใช้สารเสพติด และในบางรายอาจติดสุราอย่างหนักร่วมกับติดสารเสพติด ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้สุขภาพแย่ลงกว่าเดิมอีกมาก

  • มาทำงานสาย

เมื่อไม่มีแรงจูงใจในการมาทำงาน หรือกลัวการทำงาน คนที่เครียดจากงานจึงมักจะมาทำงานสายแบบไม่รู้ตัว และมักจะอยากเลิกงานให้เร็วที่สุด

หากความเครียดนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดโรคทางจิตอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหวาดระแวง โรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง โรคจิตเภท นอกจากนี้ ความเครียดยังบั่นทอนร่างกายและนำไปสู่โรคต่างๆ ทางร่างกายได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ และโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

รับมือกับความเครียดในที่ทำงานอย่างไร

หากพบสัญญาณบางอย่างข้างต้นในตัวเอง คุณอาจจะกำลังเผชิญกับความเครียดในที่ทำงาน ควรปรึกษาผู้จัดการหรือตัวแทนสหพันธ์แรงงานในองค์กรเพื่อหาวิธีลดความเครียดลง อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้นอกจากจะบ่งบอกว่าคุณกำลังเผชิญความเครียดจากที่ทำงานแล้ว ยังอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย หากต้องเผชิญกับอาการเหล่านี้นาน ๆ คุณควรเข้าพบคุณหมอโดยด่วน และหากเห็นเพื่อนร่วมงานมีอาการเหล่านี้ ควรให้ความช่วยเหลือ เช่น แจ้งหัวหน้างาน เป็นที่ปรึกษาให้เพื่อน

เพื่อลดและควบคุมความเครียด เราจำเป็นที่จะต้องหาต้นตอของปัญหาให้ได้ ต้นตอของปัญหาอาจเกิดจากปัญหาส่วนตัว ปัญหาขององค์กรหรือทั้งสองปัจจัยร่วมกัน ดังนั้น การแก้ไขจึงขึ้นอยู่กับต้นตอของความเครียดที่เกิดขึ้น คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ด้วยการฝึกตัวเองให้เป็นคนเอาใจใส่ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเองมากขึ้น เพิ่มทักษะในการสื่อสาร บำบัดพฤติกรรมด้านพุทธิปัญญา เป็นต้น ในขณะที่องค์กรควรจัดโครงการต่างๆ ที่ช่วยเสริมการทำงานให้พนักงานและลดจำนวนเวลางานลง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Work-related stress: signs and symptoms. http://www.hse.gov.uk/stress/furtheradvice/signsandsymptoms.htm.  Assessed October 29, 2016

Work-related stress. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/work-related-stress. Assessed October 29, 2016

Work-related stress. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/work-related-stress. Assessed October 29, 2016

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย ดร.อาฮ์หมัด ไฟรุซ โมฮาเม็ด

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำงานเป็นกะ กับสารพันปัญหาสุขภาพที่ต้องพร้อมรับมือ

สัญญาณและอาการทางร่างกาย อะไรบ้างที่เกิดจาก ความเครียด


เขียนโดย

ดร.อาฮ์หมัด ไฟรุซ โมฮาเม็ด

สุขภาพ · MIOSH – Medi-Ihsan Occupational Safety and Health Sdn. Bhd.


แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา