backup og meta

เหงา ภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างที่คุณอาจไม่คาดคิด

เหงา ภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างที่คุณอาจไม่คาดคิด

เหงา เป็นความรู้สึกของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนและแต่กต่างกันไป ฉะนั้น เพื่อให้เข้าใจต่อความรู้สึกเหงาได้มากขึ้น เราก็ควรศึกษาให้ลึกลงไปถึงสาเหตุ ผลกระทบทางด้านสุขภาพ อาการ และการรักษา ว่าความเหงา ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขจิตของเราอย่างไรบ้าง Hello คุณหมอ ชวนคนเหงามาดูกันว่า แค่ “เหงา’ ส่งผลอย่างไรต่อเราบ้าง 

ความเหงาคืออะไร

ความเหงาคือปฎิกิริยาโต้ตอบทางอารมณ์ต่อความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือการไม่มีเพื่อนฝูง ความโดดเดี่ยวกับความเหงานั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจอยู่คนเดียวที่บ้านแต่รู้สึกเพลิดเพลินเจริญใจเป็นอย่างมาก หรือคุณอาจอยู่ท่ามกลางงานปาร์ตี้ที่มีผู้คนเยอะแยะ แต่กลับรู้สึกเปล่าเปลี่ยวเดียวดายก็ได้

ทำไมเราจึงรู้สึก เหงา

มีผู้คนจำนวนมากมายที่รู้สึกเหงา เฝ้าถามตัวเองว่าทำไมเราถึงต้องรู้สึกเหงาด้วย ถึงแม้จะยังหาคำตอบที่แน่ชัดสำหรับคำถามนี้ไม่ได้ แต่มีเหตุผลอยู่มากมายที่น่าจะเป็นสาเหตุของความเงา ได้แก่

  • มีผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวมากกว่าเมื่อก่อน ชีวิตที่ไร้เพื่อน ยามอยู่ที่บ้านนี้อาจส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตทางสังคมของคนๆ นั้นได้
  • ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ผลการศึกษาวิจัยเมื่อปี 1970 นั้น พบว่าผู้คนในประเทศอเมริกามีอายุโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปีสำหรับผู้หญิง และ 67 ปีสำหรับผู้ชาย และพอถึงปี 2014 ก็เพิ่มเป็น 81 ปีสำหรับผู้หญิง และ76 ปีสำหรับผู้ชาย
  • เราทำงานที่แตกต่างไป เมื่อเปรียบชีวิตของผู้คนสมัยนี้กับผู้คนสมัยก่อน ก็ความว่าคนในยุคนี้จะใจจดใจจ่ออยู่กับงานมากกว่าจะนึกถึงเรื่องความสัมพันธ์
  • เราสื่อสารแตกต่างไปจากเดิม การสื่อสารทางระบบอีเลคโทรนิคกลายเป็นช่องทางหลักของสังคมในยุคนี้ไปซะแล้ว ซึ่งการสื่อสารแบบนี้ทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลลดลงไปโดยปริยาย
  • เราใช้โซเชียลมีเดีย การใช้โซเชียลมีเดียจะส่งผลกระทบทางด้านลบต่อคนบางคน ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่โซเชียลมีเดียนั้นให้ประโยชน์ทางด้านสังคมกับเด็กวัยรุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขามีความพึงพอใจในการใช้ชีวิตทางสังคมน้อยลง ในทางตรงกันข้ามโซเชียลมีเดียอาจช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกติดต่อกับคนอื่นๆ ได้มากขึ้น ฉะนั้นผลกระทบทางโซเชียลมีเดียที่มีต่อความเหงานั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้ของแต่ละคน
  • กลุ่มก้อนทางสังคมของเรากำลังเกิดความเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาวิจัยในปี 2009 พบว่ากลุ่มก้อนทางสังคมของเรามีขนาดเล็กลง เมื่อมีเครือข่ายทางสังคมเล็กลง และมีคนรู้จักทางสังคมน้อยลง ก็จะทำให้เรามีความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคมน้อยลงตามไปด้วย
  • เราอาจแค่รู้จักกับคำว่า เหงาได้ดีกว่าในอดีต ด้วยความที่มีงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็อาจจะรับรู้ได้ถึงปัญหาที่ก่อตัวขึ้นมานานนักหนาแล้วก็ได้

แต่นั่นเป็นสมมุติฐานจากทฤษฎีต่างๆ เรายังต้องทำการศึกษาวิจัยกันอีกมากถึงจะระบุสาเหตุที่แน่ชัดของความเหงาได้ แล้วผลกระทบที่เกิดจากความเหงาล่ะ?

ผลกระทบจากความรู้สึกเหงา

ความรู้สึกเหงาเป็นครั้งคราวแบบที่เกิดขึ้นกับพวกเราส่วนใหญ่นั้น มักไม่มีผลกระทบที่ร้ายแรงอะไร แต่ความรู้สึกเหงาเป็นเวลานานๆ อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของเราได้ ถึงแม้ว่าผลกระทบเหล่านี้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีความรู้สึกเหงาเรื้อรังทุกคน แต่นั่นก็แสดงให้เห็นว่าความเหงามีความเสี่ยงที่รุนแรงต่อสุขภาพของเรา ผลกระทบทางด้านสุขภาพที่นักวิจัยค้นพบก็ ได้แก่

  • ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ใหญ่ในวัยสูงอายุจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นเมื่อมีความรู้สึกเหงา
  • ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอลง ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า ความเหงาอาจนำไปสู่ระบบภูมิต้านทานที่อ่อนแอลง ซึ่งก็หมายความว่าเรามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหรือเกิดอาการติดเชื้อ เห็นได้ชัดว่าความเหงาอาจทำให้มีการอักเสบต่างๆ ทั่วร่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการอักเสบเป็นเวลานานๆ ก็มีส่วนเชื่อมโยงถึงปัญหาสุขภาพต่างๆ อย่างเช่น โรคมะเร็งและภาวะแทรกซ้อนจากโรคไต
  • อาการซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าความเหงาทำให้ผู้ใหญ่ในวัยสูงอายุมีอาการซึมเศร้ามากขึ้น
  • ส่งผลกระทบทางด้านสติปัญญาของผู้สูงอายุ มีการพบว่าผู้ใหญ่ในวัย 65 ปีขึ้นไปที่มีความรู้สึกเหงานั้น จะมีระดับสติปัญหาที่ลดลงได้เร็วกว่าผู้สูงอายุในวัยเดียวกันที่ไม่รู้สึกเหงาได้ถึงร้อยละ 20
  • คุณภาพในการนอนหลับลดลง ความเหงาอาจทำให้เรานอนหลับไม่ค่อยสนิท ซึ่งก็หมายความว่าถึงแม้เราจะใช้เวลานอนหลับอย่างพอเพียง แต่การนอนที่ไม่มีคุณภาพนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาในช่วงระหว่างวันได้ ซึ่งก็รวมถึงความรู้สึกเซื่องซึม หรือการไม่มีเรี่ยวแรงในการทำอะไร
  • มีความเสี่ยงจะเสียชีวิตมากขึ้น ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้คนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีนั้น มีความเสี่ยงที่จะตายด้วยเหตุผลผลใดๆ ก็ตาม น้อยกว่าคนที่ไม่มีความสัมพันธ์ถึงร้อยละ 50

เคล็ดลับป้องกันความรู้สึกเหงา

เราสามารถเอาชนะความรู้สึกเหงาได้ แต่อาจต้องใช้ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงอยู่ซักหน่อย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยให้คุณมีความสุข มีสุขภาพดี และสามารถส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่รอบตัวในทางที่ดีขึ้นด้วย และนี่คือวิธีการ

  • จงรู้เอาไว้นะว่าความรู้สึกเหงานั้นคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างแล้ว
  • จงเข้าใจถึงผลกระทบที่ความรู้สึกเหงามีต่อชีวิตของเรา ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  • ลองหากิจกรรมการกุศลหรือกิจกรรมอื่นๆ ทำ ซึ่งกิจกรรมพวกนี้จะทำให้คุณมีโอกาสได้เจอะเจอกับผู้คน และได้สานสัมพันธ์กับคนใหม่ๆ และมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมด้วย
  • ลองทุ่มความสนใจไปที่การทำความรู้จักกับผู้คนที่มีทัศนคติและความสนใจคล้ายๆ กัน
  • คนที่ความรู้สึเหงามักจะกลัวการถูกปฎิเสธอยู่เสมอ ฉะนั้น ก็ลองคิดอะไรในทางที่ดี เมื่อมีความสัมพันธ์ทางสังคมกับใครก็ตาม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Lonely? You’re Not Alone

https://www.healthline.com/health/loneliness

Accessed on August 14, 2018

What You Should Know About Loneliness

https://www.verywellmind.com/loneliness-causes-effects-and-treatments-2795749

Accessed on August 14, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความสุข ที่ใครๆ ก็อยากมี คุณรู้จักมันดีแล้วหรือ

โรคซึมเศร้า เป็นกรรมพันธุ์ที่ส่งต่อกันในครอบครัวหรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา