backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

หลากหลายเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ไบโพลาร์ และ การบำบัดด้วยแสง

หลากหลายเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ไบโพลาร์ และ การบำบัดด้วยแสง

การบำบัดด้วยแสง ถือเป็นวิธีการบำบัดที่เป็นที่นิยม ซึ่งจะใช้แสงในการรักษาความผิดปกติด้วยการอาบแสงโดยใช้ “กล่องแสงจ้า (Light box Therapy)’  เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติของการนอนหลับ และยังมีประสิทธิภาพสำหรับใช้รักษาผู้ที่มีโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) หากใครที่กำลังสงสัยว่าการใช้แสงเพื่อบำบัดไบโพลาร์นั้น เป็นอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ ได้ค้นหา ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันแล้วค่ะ

หลักการทำงานของ การบำบัดด้วยแสง

การบำบัดด้วยแสงโดยทั่วแล้ว เป็นการบำบัดที่ให้ทำสายตาได้รับแสงสเปกตรัมโดยตรง โดยที่ต้องได้รับแสงสเปกตรัมครบทุกสเปกตรัม โดยใช้แหล่งกำเนิดแสง เช่น กล่องแสงจ้า (Light box) วิธีการคือ ผู้ป่วยจะนั่งอยู่ด้านหน้าของกล่องแสงจ้าเพื่อให้ได้รับแสงอย่างเต็มที่

การบำบัดด้วยแสงเป็นการบำบัดที่สามารถทำได้ทั้งที่โรงพยาบาลและมีการให้เช่าอุปกรณ์เพื่อทำที่บ้าน แต่การบำบัดด้วยวิธีนี้จำเป็นที่จะต้องไปพบคุณหมอทุกวัน การบำบัดด้วยแสงถูกใช้เพื่อ รักษาอาการซึมเศร้าของโรคไบโพลาร์ ดังนั้นหากผู้ป่วยที่ต้องการบำบัดด้วยแสงเพื่อรักษาอากรไบโพลาร์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

ปริมาณของแสงที่ใช้ในการบำบัด

การบำบัดด้วยแสงนั้น จะมีประโยชน์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เหมาะสมของแสงที่ใช้ในการบำบัด โดยปริมาณของแสงจะถูกกำหนดโดยความเข้มของแสง ระยะห่างระหว่างจุดกำเนิดแสงและบุคคลและระยะเวลาในการรับแสง

แหล่งกำเนิดแสงส่วนใหญ่ให้ความสว่างที่ 10,000 ลักซ์(Lux) การใช้แสงเพื่อบำบัดความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder) ความสว่างแสงเริ่มต้นที่แนะนำในการใช้เพื่อบำบัดความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาลคือ 10,000 ลักซ์ของแสงยามเช้าเป็นเวลานาน 30 นาทีต่อวัน ส่วนผู้ที่มีอาการไบโพลาร์จะมีการใช้ความสว่างของแสงที่แตกต่างออกไป

ผลข้างเคียงของ การบำบัดด้วยแสง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการบำบัดด้วยแสง คือ อาการปวดตา ปวดหัว กระสับกระส่ายและนอนไม่หลับ ซึ่งอาการนอนไม่หลับ สามารถแก้ไข้ได้โดยการบำบัดแสงในเวลาเช้า เพื่อที่หลังจากนั้นก็จะสามารถใช้ชีวิต ในการทำกิจกรรมอื่นๆ ในเวลากลางวันได้ แต่อาการนอนไม่หลับสามารถใช้วิธีการบำบัดด้วยแสงในรูปแบบที่เรียกว่า การจำลองรุ่งอรุณ เป็นการจำลองแสงเพื่อเลียนแบบการขึ้น ลง ของพระอาทิตย์ โดยจะมีกรควบคุม ความเข้มข้นของแสง โดยจะมีการเพิ่มหรือลดแสงอย่างช้าๆ ให้คล้ายกับพระอาทิตย์กำลังขึ้น ก็จะช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับได้ 

ในบางกรณีการรักษาด้วยวิธีการบำบัดด้วยแสงอาจทำให้เกิดภาวะแมเนีย (Mania) ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ดีผิดปกติ มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นความผิดปกติของอารมณ์ที่ผู้ป่วยเจอ ทำให้ในบางกรณีนี้ต้องมีการหยุดรักษาด้วยแสงก่อนชั่วคราวหรืออาจต้องลดขนาดยาลง เพื่อปรับให้ผู้ป่วยนั้นอยู่ในภาวะที่ปกติ และยังมีความผิดปกติในผู้หญิง ซึ่งเป็นความผิดปกติที่หายากมาก โดยในผู้หญิงบางคน จะมีความผิดปกติของประจำเดือนระหว่างการรักษา

ดังนั้นก่อนที่จะมีการรักษาด้วยวิธีการบำบัดด้วยแสง ผู้ป่วยจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัยและผลที่อาจจะตามมาจากการบำบัดด้วยแสง 

 Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Light Therapy for Bipolar Disorder

https://www.verywellmind.com/light-therapy-for-bipolar-disorder-380665

Light Therapy Might Help People With Bipolar Depression

https://www.npr.org/sections/health-shots/2017/11/27/561574259/light-therapy-might-help-people-with-bipolar-depression

Light therapy — bipolar

https://psycheducation.org/treatment/bipolar-disorder-light-and-darkness/light-therapies-for-depression/

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 05/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา