backup og meta

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำ กับความต้องการทางเพศ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 21/09/2022

    ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำ กับความต้องการทางเพศ

    การสูญเสียแรงขับทางเพศเป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อย โดยอาจมีสาเหตุมาจากความเครียดในเรื่องต่าง ๆ เช่น ชีวิตส่วนตัว การทำงาน การเปลี่ยนแปลงในชีวิตด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แรงขับทางเพศที่หายไป โดยเฉพาะเมื่อหายไปเป็นเวลานาน หรือเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจบ่งชี้ถึงปัญหาอื่นที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้ และหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในผู้ชาย คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำลง

    ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน คืออะไร

    เทสโทสเตอโรน (Testosterone) คือ ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น และอาจมีหน้าที่ในการช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย เช่น อวัยวะเพศชายและลูกอัณฑะโตขึ้น เสียงแตก กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงขึ้น ความสูงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หลังช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเข้าสู่วัยรุ่น เทสโทสเตอโรนอาจมีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกาย ดังนี้

  • การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • การสร้างมวลกระดูก
  • การกระจายของไขมันในร่างกาย
  • การสร้างขนบนใบหน้าและตามร่างกาย
  • การสร้างอสุจิ
  • การสร้างแรงขับทางเพศ
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • ความสำคัญของ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน กับผู้ชาย

    เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น และอาจมีหน้าที่ในการช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย มื่อระดับเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง อ่อนเพลีย หมดแรง และอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ โดยระดับเทสโทสเตอโรนจะเริ่มลดต่ำลงหลังจากอายุ 40 ปี และอาจลดลงมากขึ้น เมื่ออายุ 70  ปี โดยการตรวจเลือดอาจบอกได้ว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำหรือไม่

    ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และบทบาทในเรื่องแรงขับทางเพศ

    ความต้องการทางเพศของผู้ชายอาจจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้าๆ จากจุดสูงสุดในช่วงวัยรุ่นและวัยเลขสอง แต่แรงขับทางเพศของผู้ชายก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของแรงขับทางเพศในผู้ชายยังอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความเครียด การนอนหลับ โรคเรื้อรังประจำตัว โอกาสในการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ การที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำยังอาจทำให้แรงขับทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง

    การให้เทสโทสเตอโรนทดแทน

    การให้เทสโทสเตอโรนทดแทนอาจมีหลายแบบ เช่น

    • การฉีด มักเป็นการฉีดฮอร์โมนทุก 3 หรือ 4 สัปดาห์ หรือทุก 3 เดือน เป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
    • การทาเจลเทสโทสเตอโรนลงบนผิวในตอนเช้า
    • การฝังฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เป็นการฝังแคปซูลฮอร์โมนลงใต้ผิว วิธีการนี้มักนำมาใช้มากขึ้น เพื่อแทนการฉีดฮอร์โมนทุก ๆ 3 เดือน

    ในระหว่างการรักษา ควรมีการตรวจระดับเทสโทสเตอโรนเพื่อสังเกตดูอาการ ถ้าจำเป็นเพื่อการปรับขนาดของฮอร์โมนที่ให้ จะได้ทำให้แน่ใจว่าฮอร์โมนคืนสู่ระดับปกติ

    ถ้าผู้ป่วยมีปัญหามะเร็งต่อมลูกหมาก คุณหมอไม่แนะนำให้ใช้การให้เทสโทสเตอโรน ดังนั้นก่อนใช้การให้ฮอร์โมนทดแทน ควรมีการตรวจต่อมลูกหมากก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมาก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 21/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา