ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคอี ดี (Erectile Dysfunction : ED) เป็นอาการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ โดยส่วนใหญ่อาการเหล่านี้มักเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นคุณผู้ชายควรศึกษาเรื่องนี้เอาไว้ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้เรียบร้อยแล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

โรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คำถามชวนสงสัย โรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร เมื่อคุณมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าได้ แล้วเราจะมีวิธีรับมือ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้าและภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมสาระดี ๆ ในเรื่องนี้มาให้คุณแล้วค่ะ โรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในผู้ชาย สำหรับผู้ชายที่มีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิด กังวล ขาดความมั่นใจเมื่อมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิดความเครียดและส่งผลต่อโรคซึมเศร้าได้ โรคซึมเศร้าที่มาพร้อมภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากความเศร้า ความเครียด และความกังวลภายในจิตใจของคุณ อาการที่บอกว่าคุณอาจกำลังเป็นโรคซึมเศร้า ได้แก่ ความรู้สึกนับถือตัวเองต่ำลง สูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ เหนื่อยล้า อ่อนเพลียง่าย ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป นอนหลับยากขึ้น รู้สึกไม่ค่อยสนใจโลกภายนอก อาจมีการใช้ยาและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกิดความคิดอยากฆ่าตัวตาย สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า และสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เองเนื่องจากปัญหาทางพันธุกรรมและฮอร์โมน โรคซึมเศร้ามีผลต่อความรู้สึกของคุณเองและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คนที่เป็นโรคซึมเศร้าควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องร้ายแรงในอนาคต ความต้องการทางเพศถูกสั่งการโดยสมอง อวัยวะเพศต้องอาศัยสารเคมีในสมองเพื่อทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศและเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือด ดังนั้น โรคซึมเศร้าอาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลงได้ นอกจากนี้ ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรถภาพทางเพศได้ เช่น ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มโมโนเอมีนออกซิเดส (MAOIs) เป็นยากล่อมประสาทที่ช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้า ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ (Serotonin–norepinephrine reuptake inhibitor หรือ SNRIs) เป็นยากล่อมประสาทช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและหงุดหงิด ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitor หรือ SSRIs) ช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าและทำให้อารมณ์ดีขึ้น ยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) และไตรไซคลิก (Tricyclic) วิธีรับมือ โรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การหย่อนสมรรถภาพทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออวัยวะเพศของคุณไม่แข็งตัว ทำให้คุณอาจเกิดความวิตกกังวลเมื่อต้องมีเพศสัมพันธ์ และอาจทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคู่รักของคุณได้ จนทำให้เกิดความเครียดและนำไปสู่โรคซึมเศร้าในอนาคต เราจึงขอแนะนำวิธีรับมือโรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ดังนี้ การจัดการอารมณ์ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม