backup og meta

ความเสี่ยงสุขภาพจากการ ลดน้ำหนักเร่งด่วน

ความเสี่ยงสุขภาพจากการ ลดน้ำหนักเร่งด่วน

ลดน้ำหนักเร่งด่วน มักจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติ ทั้งในการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ซึ่งคนส่วนใหญ่จะใช้วิธีลดน้ำหนักที่ไม่ค่อยดีต่อสุขภาพ และเป็นวิธีการที่ไม่สามารถทำได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การลดน้ำหนักอย่างเร่งด่วน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

ควรลดน้ำหนักเร็วที่สุดกี่กิโลกรัมต่อสัปดาห์

โดยปกติแล้ว ควรลดน้ำหนัก 1-2 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนว่าลดน้ำหนักได้น้อย แต่ก็เป็นวิธีที่ทำได้ในระยะยาว ซึ่งการลดน้ำหนักไขมัน 1 ปอนด์ (0.45 กิโลกรัม) จะเท่ากับ 3,500 แคลอรี่ ดังนั้นการลดน้ำหนัก 0.45 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ จะต้องเผาผลาญพลังงาน 500 แคลอรี่ให้มากกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน (500 แคลอรี่ X 7 วัน = 3,500 แคลอรี่)

นอกจากนี้สำหรับการลดน้ำหนักเร่งด่วน น้ำหนักที่หายไปอาจไม่ใช่ไขมัน แต่เป็นน้ำหนักของน้ำและกล้ามเนื้อ เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะสามารถเผาผลาญไขมันปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ

อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ การลดน้ำหนักเร่งด่วนอาจปลอดภัย ถ้าลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ตัวอย่างเช่น ผู้ที่คุณหมอสั่งให้กินอาหารแคลอรี่ต่ำเพื่อลดน้ำหนัก เนื่องจากความอ้วนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง ดังนั้น การลดน้ำหนักอย่างเร่งด่วนอาจปลอดภัยถ้าอยู่ในการดูแลของแพทย์

ผลกระทบจากการ ลดน้ำหนักเร่งด่วน

1. ขาดสารอาหารที่จำเป็น

แผนการลดน้ำหนักเร่งด่วน ส่วนใหญ่จะลดปริมาณการกินอาหาร ซึ่งอาจทำให้ขาดสารอาหาร รวมถึงวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็น ที่ร่างกายต้องการเพื่อให้มีสุขภาพดี เช่น ขาดแคลเซียม วิตามินดี

วิตามินบี 12 และธาตุเหล็ก นอกจากนี้ การขาดสารอาหารยังอาจส่งผลต่อสุขภาพ ได้แก่

  • พลังงานลดลง
  • เส้นผมและเล็บเปราะบาง
  • ผมร่วง
  • เหนื่อยจัด
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • กระดูกอ่อนแอ และโรคกระดูกพรุน

2. ระบบการเผาผลาญทำงานช้าลง

การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นจากการลดแคลอรี่ลงอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ปกติกินอาหาร 3,000 แคลอรี่ต่อวัน แต่เปลี่ยนมากินอาหารเพียง 1,200 แคลอรี่ต่อวัน ปัญหาคือร่างกายจะรับรู้ว่านี่เป็นสัญญาณของการอดอาหาร จึงปรับตัวเข้าสู่โหมดอดอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้ระบบการเผาผลาญช้าลง รวมถึงร่างกายจะรักษามวลไขมันไว้เพื่อใช้เป็นพลังงานในยามที่ต้องอดอาหาร

3. น้ำหนักที่ลดลงอาจเป็นกล้ามเนื้อ ไม่ใช่ไขมัน

เมื่อเราลดน้ำหนัก เราอยากกำจัดเนื้อเยื่อไขมัน ไม่ใช่มวลกล้ามเนื้อ แต่การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วอาจทำให้ร่างกายสลายกล้ามเนื้อ เพื่อมาใช้เป็นพลังงานและเชื้อเพลิง นอกจากนี้การที่กล้ามเนื้อลดลงยังอาจส่งผลทำให้การเผาผลาญพลังงานช้าลงด้วย เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อ 1 ปอนด์ สามารถเผาผลาญแคลอรี่ต่อวันได้มากกว่ามวลไขมัน 1 ปอนด์ ดังนั้น ถ้าสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ อาจทำให้คุณเผาผลาญแคลอรี่ต่อวันได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม คุณสามารถรักษามวลกล้ามเนื้อได้ด้วยวิธีเหล่านี้

  • กินอาหารที่มีโปรตีนสูง
  • ออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก
  • ได้รับสารอาหารและแคลอรี่เพียงพอต่อวัน

4. ภาวะขาดน้ำ

น้ำหนักที่ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการลดน้ำหนัก อาจเป็นน้ำหนักของน้ำในร่างกายของคุณ โดยเฉพาะถ้าคุณใช้วิธีลดน้ำหนักอย่างเร่งด่วนบางวิธี เช่น กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือไม่กินคาร์โบไฮเดรตเลย ซึ่งการใช้วิธีลดน้ำหนักเหล่านี้ สามารถทำให้สูญเสียน้ำหนักน้ำในร่างกาย และอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้มีอาการท้องผูก ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และไม่มีแรง

วิธีลดน้ำหนักที่เหมาะสมและดีต่อสุขภาพ

การลดน้ำหนักที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่

  • กินอาหารที่มีประโยชน์ และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • เพิ่มโปรตีนในมื้ออาหาร
  • ลดน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต
  • เลือกกินไขมันดี
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายมากขึ้น
  • บรรเทาความเครียด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Metabolism to Mental Health: 7 Ways Losing Weight Too Fast Will Backfire. https://www.healthline.com/health/food-nutrition/rapid-weight-loss-dangers?fbclid=IwAR0AdIOHvy0tVxK4jVdK2AcTC3v8TZ2gii-B-ly8CasEwdTbUHgIc7_B6BA. Accessed on December 11 2018.

Rapid Weight Loss. https://www.webmd.com/diet/guide/rapid-weight-loss#1. Accessed on December 11 2018.

Fast weight loss: What’s wrong with it?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/expert-answers/fast-weight-loss/faq-20058289. Accessed on December 11 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท่าออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดหลังช่วงล่าง แบบใดช่วยได้บ้างนะ

ออกกำลังกายลดน้ำหนัก แต่น้ำหนักไม่ยักกะลด ทำไงดี?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา