กีฬา เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ปอดแข็งแรง ซึ่งบางคนก็เล่นเป็นงานอดิเรก แต่อย่างไรก็ตาม อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา พบได้ทั่วไป และนี่คือ อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ที่บ่อยที่สุด 5 อาการ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลพร้อมคำแนะนำในการรับมือมาให้อ่านกันแล้วค่ะ
5 อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ที่พบได้บ่อย
1 ข้อเท้าแพลง
ข้อเท้ามีเอ็นจำนวนมากอยู่ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการประสานกระดูกแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน รวมถึงควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อข้อเท้าพลิกเข้าด้านในอย่างรวดเร็ว หรือเกิดการบิดในลักษณะที่ผิดปกติ เนื่องจากการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน เอ็นต่างๆ รอบข้อเท้าที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว จะเกิดการฉีกขาด ทำให้เกิดอาการข้อเท้าแพลงได้ จึงเป็นสาเหตุที่นักกีฬาประเภท ฟุตบอล บาสเกตบอล รักบี้ มักเกิดอาการข้อเท้าแพลงได้อยู่เสมอๆ
คำแนะนำ: ปรึกษาแพทย์ทันทีหลังจากที่เกิดอาการข้อเท้าแพลง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยถึงความรุนแรงของอาการ โดยปกติแล้ว ต้องใช้เวลาสองถึงสามสัปดาห์ เพื่อให้อาการกลับมาเป็นปกติ แพทย์อาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำกายภาพที่เหมาะสม
2 กล้ามเนื้อฉีก
อาการกล้ามเนื้อฉีกสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ในกรณีที่นักกีฬาไม่อบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย อาการนี้เกิดจากแรงดึงอย่างแรงโดยไม่คาดคิด ที่ทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อยืดออกมากเกินไป อาการปวดกล้ามเนื้ออาจเกิดขึ้นได้สองกรณี อาการนี้อาจเกิดขึ้นหากเส้นใยกล้ามเนื้อบางส่วนฉีกขาด แต่หากเส้นใยกล้ามเนื้อทั้งหมดฉีกขาด จะเกิดอาการที่เรียกว่า อาการกล้ามเนื้อฉีกเต็มขั้น
คำแนะนำ: เพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ คุณควรยืดหยุ่นร่างกาย ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย การประคบเย็นและพัก เป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดบวมได้ จำไว้ว่าคุณควรรอให้อาการหายเป็นปกติ ก่อนที่จะกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง เพราะหากกลับไปเล่นกีฬาโดยที่ยังไม่หายสนิท อาการกล้ามเนื้อฉีกอาจเกิดซ้ำ และอาการอาจรุนแรงกว่าเดิม
3 กล้ามเนื้อแฮมสตริงบาดเจ็บ
กล้ามเนื้อแฮมสตริงประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 3 ส่วน บริเวณด้านหลังน่อง อาการบาดเจ็บของแฮมสตริงเกิดขึ้นเมื่อมีการยืดขามากเกินไปในขณะกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางหรือการวิ่งเร็ว อาการนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อล้มขณะเล่นสกีน้ำ
คำแนะนำ: การบาดเจ็บของแฮมสตริงมักกินระยะเวลานาน บางกรณีอาจมีอาการนานถึง 1 ปี กว่าอาการจะหาย เพราะการเดินเป็นการเพิ่มแรงกดให้กับกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บอยู่ตลอดเวลา สำหรับบางคนนอาจไม่สามารถรอให้อาการเป็นปกติได้ และกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง การบาดเจ็บซ้ำจึงเกิดขึ้น
4 เจ็บหน้าแข้ง
อาการเจ็บหน้าแข้งทำให้เกิดอาการเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกหน้าแข้ง การวิ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บหน้าแข้ง
คำแนะนำ: คุณอาจใช้การประคบเย็นและพัก หรือใช้ยาต้านอาการอักเสบ
5 เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ
เมื่อข้อศอกทำงานหนักมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน เช่น ในกรณีเล่นกอล์ฟหรือเทนนิส อาจเกิดอาการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอก (Tearing of the tendon of the elbow) พบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี มักเกิดอาการเอ็นข้อศอกอักเสบได้ง่าย
คำแนะนำ: อาการเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอกไม่ใช่อาการบาดเจ็บรุนแรง ดังนั้น วิธีการในการรักษาอาการคือการพัก และรอให้อาการเจ็บปวดดีขึ้น หลังจากนั้น คุณสามารถกลับไปเล่นกอล์ฟหรือเทนนิสได้ตามปกติ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmr]