backup og meta

รู้จักกับ โรคกลัวเข็ม โรคใกล้ตัวที่คุณอาจเป็นแบบไม่รู้ตัว

รู้จักกับ โรคกลัวเข็ม โรคใกล้ตัวที่คุณอาจเป็นแบบไม่รู้ตัว

ตอนเด็กๆ คุณเคยร้องไห้เพราะโดนฉีดยากันไหม? สำหรับบางคนเพียงแค่เห็นเข็มต่อมน้ำตาก็เริ่มทำงานแล้ว บางรายถึงขนาดหมดสติ เข่าอ่อนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ทุกคนล้วนมีความกลัวที่แตกต่างกันไป ไม่ใช่เรื่องแปลก และไม่ใช่เรื่องน่าอาย มารู้จักกับ โรคกลัวเข็ม ไปพร้อมๆ Hello คุณหมอกันเถอะ

โรคกลัวเข็ม (Trypanophobia) คืออะไร?

เป็นอาการกลัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการฉีดยา หรือพบเห็นปลายวัตถุที่แหลมคม ทางการแพทย์ได้นิยามความหมาย ของโรคกลัวเข็ม (Trypanophobia) ไว้ดังนี้

ดร. แมคกี้ (Dr. McGee) จิตแพทย์ และหัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ของ The Haven at Pismo ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติดแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า “อาการกลัวเข็มนั้นเป็นเรื่องธรรมดามาก เพราะเป็นพื้นฐานทางพันธุกรรมที่เราทุกคนมีความกลัวต่อสิ่งที่แหลมคมจะทิ่มแทงทะลุเนื้อของเรา ส่วนมากมักพบในเด็กเสียส่วนใหญ่” แต่สำหรับบางคนอาจมีผลต่อจิตใจเนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือน หรือสัมผัสเหตุการณ์ที่ฝังใจในช่วงเยาว์วัย ซึ่งมีอาการกลัวเข็มถึงร้อยละ 20-50% ในช่วงวัยรุ่นอาการกลัวเข็มพบได้ประมาณ 20-30% ส่วนในวัยผู้ใหญ่กลางคน โดยทั่วไปแล้วอาการกลัวเข็มจะลดลงเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น

สาเหตุและอาการบ่งบอกว่าคุณ กลัวเข็ม หรือหนามแหลม

ยังไม่มีการวิจัย และข้อพิสูจน์ ที่แน่ชัดของนักวิทยาศาสตร์ว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการกลัวเข็ม แต่มีการสันนิษฐานเบื้องต้นว่าอาจะเกิดมากจากปัจจัยเหล่านี้

  • ความกลัวที่ส่งผ่านพันธุกรรม หรือการบอกเล่า ในผู้ใหญ่หรือคนรอบข้างที่มีอาการกลัวเข็ม
  • การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสมอง
  • ความคิดที่ติดลบต่อแพทย์ และพยาบาลในวัยเด็ก

เมื่อคุณเห็นเข็มฉีดยา หรือสิ่งของที่แหลมคม มักจะเกิดอาการ ดังต่อไปนี้

ไม่ใช่เรื่องหน้าอายหากคุณเป็นโรคกลัวเข็ม เพราะสามารถแก้ไขได้แน่นอน

ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อมีอาการกลัวอย่างไม่มีเหตุผล หรือเรียกว่า Phobia ทางการแพทย์เฉพาะทางมักนิยมใช้การรักษา ในการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive behavioral therapy (CBT) ) ที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้เพื่อรับมือกับโรคกลัวเข็ม นักบำบัดประจำตัวคุณ  จะช่วยแนะนำทักษะวิธีการคิดให้คุณรู้สึกมั่นใจในการที่จะเผชิญกับเข็มหรือหนามอีกครั้ง

บางครั้งนักบำบัดมุ่งเน้นการรักษาในด้านจิตใจโดยการนำรูปเข็มต่างๆ รวมทั้งของแหลมคม ให้คุณได้เห็น หรือลองสัมผัส และให้คุณจินตนาการว่ากำลังโดนฉีดยา เพื่อทดสอบอาการของคุณในเบื้องต้นและให้คุณคุ้นชินกับการกระทำเหล่านี้ ผู้ป่วยในบางกรณีอาจมีการใช้ยาคลายความวิตกกังวลเข้ามาช่วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Trypanophobia https://www.healthline.com/health/trypanophobia#complications Accessed December 20, 2019.

Trypanophobia: Fear of Needles and How to Overcome it https://www.psycom.net/trypanophobia-fear-of-needles Accessed December 20, 2019.

Overcoming Trypanophobia or the Fear of Needles https://www.verywellmind.com/trypanophobia-2671700 Accessed December 20, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย Agil Tonjoo

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อดี ข้อเสีย ของการเยียวยาจิตใจด้วย การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

พฤติกรรมและอาการแปลกๆ สัญญาณเบื้องต้นที่อาจนำไปสู่ โรคจิตเภท


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Agil Tonjoo · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา