backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

กลิ่นเหงื่อปลุกพลังเซ็กส์ และประโยชน์ของการมีเซ็กส์

กลิ่นเหงื่อปลุกพลังเซ็กส์ และประโยชน์ของการมีเซ็กส์

ฟีโรโมน (Pheromones) หมายถึงกลิ่นที่กระตุ้นอารมณ์ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งอาจเป็นทั้งการกระตุ้นพฤติกรรมและการดึงดูดความสนใจ ตามธรรมชาติสัตว์จะปล่อยฟีโรโมนเพศออกมาเพื่อดึงดูดเพศตรงข้ามในช่วงที่ต้องการจับคู่ผสมพันธ์ สำหรับมนุษย์ ฟีโรโมนเพศอาจอยู่ในรูปแบบของ กลิ่นเหงื่อ และกลิ่นกาย ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงขณะมีเซ็กส์ที่ร่างกายต้องออกแรงและมีเหงื่อออก กลิ่นของเหงื่อก็อาจจะช่วยกระตุ้นอารมณ์และช่วยให้การมีเซ็กส์เร่าร้อนยิ่งขึ้น

กลิ่นเหงื่อ ปลุกอารมณ์รัก

ขณะมีเพศสัมพันธ์ ในบางรายอาจมีเหงื่อออกและมีกลิ่นเหงื่อหรือกลิ่นกาย จนทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจและกังวลใจว่าคู่รักอาจจะไม่ชอบใจ แต่แท้จริงแล้ว กลิ่นกายและกลิ่นเหงื่อที่ออกตามธรรมชาติระหว่างร่วมรักนั้น ถือเป็นฟีโรโมน ที่อาจช่วยดึงดูดและกระตุ้นอารมณ์ฝ่ายตรงข้ามได้ และช่วยทำให้การมีเซ็กส์เร่าร้อนมากยิ่งขึ้น

มีบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสาร Facts, Views and Vision in Obstetrics and Gynaecology เมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นบทความที่เกี่ยวกับ ฟีโรโมนและผลกระทบต่ออารมณ์และความต้องการทางเพศของผู้หญิง กล่าวว่า แอนโดรสตาเดียโนน (Androstadienone) หนึ่งในสารประกอบที่พบได้มากในเหงื่อของเพศชาย อาจสามารถช่วยกระตุ้นอารมณ์และสมาธิของเพศหญิงได้ ทำให้ผู้หญิงที่ได้กลิ่นเหงื่อขณะมีเซ็กส์อาจมีการตอบสนองทางเพศที่ดีขึ้น และมีสมาธิมากขึ้น ทำให้อาจได้รับความพึงพอใจทางเพศเพิ่มมากขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ผลของฟีโรโมนเหล่านี้อาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคลและบริบทของความสัมพันธ์ แต่หลักฐานเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า การได้รับกลิ่นฟีโรโมนอาจช่วยเพิ่มความน่าดึงดูดสำหรับเพศหญิงในการตอบสนองทางเพศและการเลือกคู่ครองอีกด้วยกลิ่นเหงื่อ-ฟีโรโมน-ประโยชน์ของการมีเซ็กส์

5 ประโยชน์จากการมีเซ็กส์

การมีเพศสัมพันธ์นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์กับคนที่รักแล้ว ยังทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นอีกด้วย เช่น รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ผ่อนคลายอารมณ์ รวมถึงประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

การมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากทำให้ร่างกายได้ออกแรง เพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และรักษาสมดุลฮอร์โมนเพศชายให้สมดุล

  • บรรเทาความเครียด

การมีเพศสัมพันธ์อาจช่วยบรรเทาความเครียดได้ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (endorphin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความสุขออกมา ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ความเครียด จะทำให้จิดใจสงบ มีความสุขมากขึ้น

  • ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น

เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์อาจสามารถช่วยลดความเครียดได้ จึงอาจช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับให้ดีขึ้น นอกจากนี้ การได้ออกแรงทำกิจกรรมทางเพศยังอาจทำให้รู้สึกเหนื่อย และสามารถนอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น

  • ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

วารสารสมาคมการแพทย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า หากผู้ชายสำเร็จความใคร่มากกว่า 21 ครั้งต่อเดือน อาจจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ อย่างไรก็ตาม การเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง การมีเพศสัมพันธ์อาจไม่ใช่วิธีเดียวในการช่วยลดความเสี่ยง ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม

  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิลก์ส ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมากกว่าผู้ที่มีเพศสัมพันธ์น้อยกว่า 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pheromones and their effect on women’s mood and sexuality. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3987372/. Accessed February 8, 2022.

Sex Pheromone. https://www.sciencedirect.com/topics/agricultural-and-biological-sciences/sex-pheromone. Accessed February 8, 2022.

Pheromones: Potential Participants in Your Sex Life. https://www.webmd.com/sex-relationships/features/sex-life-phermones. Accessed February 8, 2022.

Sexual Activity and Risk of Prostate Cancer: A Dose-Response Meta-Analysis. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30122473/. Accessed February 8, 2022.

10 Surprising Health Benefits of Sex. https://www.webmd.com/sex-relationships/guide/sex-and-health#1. Accessed 4 June 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา