backup og meta

10 อาหารอันตรายต่อ สุขภาพฟัน ที่ควรหลีกเลี่ยง

10 อาหารอันตรายต่อ สุขภาพฟัน ที่ควรหลีกเลี่ยง

ลูกอมรสหวาน น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว ไม่ว่าอะไรต่างก็เป็นอาหารแสนอร่อย ที่เรามักจะชอบรับประทาน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาหารเหล่านี้ อาจจะเป็น อาหารอันตรายต่อฟัน อย่างที่คุณคาดไม่ถึงก็เป็นได้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับอาหารที่เป็นอันตรายต่อฟัน มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

10 อาหารอันตรายต่อฟัน

1. น้ำแข็ง

ใครๆ มักจะคิดว่าน้ำแข็งนั้นดีต่อสุขภาพฟัน เนื่องจากทำจากน้ำและไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือสารเติมแต่งใดๆ เลยด้วย แต่การเคี้ยวน้ำแข็งที่แข็งราวกับหินนั้น อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันกับฟันได้ แถมยังอาจทำให้ชั้นเคลือบฟันเกิดความเสียหายด้วย ฉะนั้น ปล่อยให้น้ำแข็งทำหน้าที่เพิ่มความเย็นให้กับเครื่องดื่มเพียงอย่างเดียวจะดีกว่านะ

2. อาหารที่มีรสเปรี้ยว

คุณควรรู้เอาไว้นะว่าถ้าฟันสัมผัสกับอาหารที่มีฤิทธิ์เป็นกรดบ่อยๆ ก็อาจทำให้ชั้นเคลือบฟันเกิดการสึกกร่อนได้ ซึ่งนั่นจะส่งผลให้ฟันเกิดการผุกร่อนได้ง่ายขึ้น เมื่อปล่อยทิ้งเอาไว้นานๆ ฉะนั้น ก็บีบมะนาวลงในน้ำดื่มแค่นิดๆ หน่อยๆ นั้น อาจทำให้น้ำดื่มมีรสชาติขึ้นมาได้ก็จริง แต่นั่นไม่ดีต่อสุขภาพฟันเลย นอกจากนี้ผลไม้และน้ำผลไม้รสเปรี้ยวยังอาจทำให้เกิดความระคายเคืองในช่องปากได้ด้วย และอย่าลืมดื่มน้ำตามเยอะๆ ด้วยล่ะ

3. กาแฟ

กาแฟและชาถ้าอยูในรูปแบบที่เป็นธรรมชาตินั้น ก็สามารถทำให้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ แต่ผู้คนโดยส่วนใหญ่ก็มักอดไม่ได้ที่จะต้องเติมน้ำตาลลงไปด้วย นอกจากนี้กาแฟและชาชนิดที่มีคาเฟอีนนั้นอาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ การดื่มชาและกาแฟบ่อยๆ ก็ทำให้เกิดคราบน่าเกลียดๆ บนผิวฟันด้วย ฉะนั้นถ้าคุณดื่มชาหรือกาแฟน ก็ควรดื่มน้ำตามเยอะๆ และพยายามจะเติมน้ำตาลลงไปด้วย

4. อาหารเหนียวๆ

เวลาที่เราเลือกของทานเล่นที่ดีต่อสุขภาพนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกผลไม้แห้งกันเป็นอันดับแรก แต่ผลไม้แห้งมากมายหลายชนิดมักจะมีความเหนียวเหนอะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับสุขภาพฟันได้ เนื่องจากจะเกาะติดอยู่บนผิวฟันได้นานกว่าอาหารชนิดอื่น ฉะนั้นถ้าใครชอบทานอาหารประเภทนี้ก็อย่าลืมบ้วนน้ำให้สะอาด พร้อมทั้งแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังกินเสร็จด้วย

5. อาหารกรุบกรอบ

ใครๆ ก็ชอบกินมันฝรั่งทอดกรอบกันทั้งนั้น แต่คุณรู้กันหรือเปล่าว่ามันฝรั่งทอดกรอบนั้นอุดมไปด้วยแป้ง ซึ่งมักจะเกาะติดอยู่ตามซอกฟัน ถ้าใครชอบกินของว่างแบบนี้จริงๆ ก็ควรจะต้องดูแลสุขภาพฟันเป็นพิเศษ ด้วยการใช้ไหมขัดฟัน เพื่อขจัดเศษอาหารตามซอกฟัน ที่อาจนำไปสู่การก่อตัวของคราบฟันขึ้นมาได้

6. น้ำอัดลม

เวลาที่เรากินหรือดื่มอาหารหวานๆ เป็นเวลานานๆ นั้น เชื้อแบคทีเรียในคราบฟันจะใช้น้ำตาลในการผลิตกรดขึ้นมาโจมตีชั้นเคลือบฟัน ซึ่งเป็นพื้นผิวที่มีความแข็งแกร่งของฟัน ซึ่งน้ำอัดลมส่วนใหญ่รวมทั้งแบบที่เป็นไดเอ็ตด้วย มักจะมีฤิทธิ์เป็นกรดซึ่งไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพฟันเลย รวมทั้งยังทำให้เกิดอาการปากแห้งด้วย ฉะนั้นอย่าลืมดื่มน้ำตามเยอะๆ ถ้าคุณเลือกดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้

7. แอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์มักจะทำให้ร่างกายเกิดอาการขาดน้ำและปากแห้ง คนที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจพบว่าตัวเองมีน้ำลายน้อยลง เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ไปเป็นเวลานานๆ ซึ่งนั่นจะนำไปสู่ปัญหาฟันผุและการติดเชื้อในช่องปากได้ อย่างเช่น โรคเหงือกอักเสบ นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งในช่องปากได้

8. สปอร์ตดริ้งค์

สปอร์ตดริ้งค์ฟังดูเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพก็จริง แต่ส่วนผสมหลักมักจะเป็นน้ำตาล ซึ่งสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริการะบุว่า สปอร์ตดริ้งอาจมีประโยชน์ต่อนักกีฬาที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักเป็นเวลานานๆ แต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับบุคคลทั่วไป ฉะนั้นก่อนที่คุณจะเปิดขวดสปอร์ตดริ้งครั้งต่อไป ก็อย่างลืมเลือกแบบที่มีน้ำตาลน้อยด้วยล่ะ หรือดื่มน้ำเปล่าแทนจะดีกว่า

9. ขนมปัง

คุณควรคิดใคร่ครวญให้ดีถ้าจะหยิบขนมปังในซุปเปอร์มาร์เก็ตมาใส่ในตระกร้าช้อปปิ้ง เนื่องจากเวลาที่เราเคี้ยวขนมปังนั้น น้ำลายจะแป้งเกิดการแตกตัวกลายเป็นน้ำตาล แล้วกลายเป็นสสารที่มีความเหนียวเหนอะ ซึ่งคราบเหนียวๆ นั้นจะไปเกาะติดอยู่ตามซอกฟัน แล้วทำให้เกิดฟันผุขึ้นมาได้ ฉะนั้นเวลาที่ใครอยากกินแป้งขึ้นมา ก็ควรเลือกแบบที่ไม่ผ่านการขัดสี เพราะเกิดการแตกตัวได้ยากกว่า รวมทั้งมีส่วนผสมของน้ำตาลน้อยกว่าด้วย

10. ข้าวโพด (แทะจากฝัก)

การแทะข้าวโพดจากฝักอาจก่อให้เกิดปัญหากับวัสดุที่อุดรอยฟันผุเอาไว้ และอาจทำให้เหล็กดัดฟันเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ถ้าใครใส่ฟันปลอม การแทะข้าวโพดจากฝักก็อาจทำให้ฟันปลอมกระเด็นกระดอนออกมาได้ ฉะนั้นถ้าใครอยากกินข้าวโพดจริงๆ ก็ใช้มีดฝานเมล็ดข้าวโพดออกจากฝักแล้ว แล้วใช้ช้อนตักเข้าปาก ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพฟันมากกว่านะ

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Top 9 Foods That Damage Your Teeth

https://www.mouthhealthy.org/en/nutrition/food-tips/9-foods-that-damage-your-teeth

Accessed on September 4, 2018

The worst food for your teeth- Which food you should avoid for healthy teeth

https://www.lifealth.com/wellness/healthy-living/the-worst-food-for-your-teeth-which-food-you-should-avoid-for-healthy-teeth-sd/73059/

Accessed on September 4, 2018

The 8 Worst Foods for Your Teeth

https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/worst-foods-for-your-teeth#1

Accessed 10 September 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่องปากแห้ง สาเหตุ อาการ และวิธีดูแลที่คุณควรรู้

สุขภาพเหงือก เรื่องสำคัญของช่องปากที่ห้ามละเลย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา