backup og meta

Endometrium คือ อะไร สำคัญอย่างไรต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

Endometrium คือ อะไร สำคัญอย่างไรต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

Endometrium คือ เยื่อบุโพรงมดลูก หรือเนื้อเยื่อภายในมดลูกซึ่งร่างกายจะผลิตให้มีความหนาเพิ่มขึ้นในทุก ๆ เดือน เพื่อรองรับตัวอ่อนหรือทารกหากมีการปฏิสนธิ ถ้าไม่มีการปฏิสนธิ เนื้อเยื่อนี้จะหลุดออกจากโพรงมดลูก และถูกขับออกจากร่างกายในรูปแบบของประจำเดือน

[embed-health-tool-ovulation]

Endometrium คือ อะไร

Endometrium หรือเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นเนื้อเยื่อภายในมดลูกซึ่งแบ่งเป็น 3 ชั้นย่อย ดังนี้

  • Stratum Basalis เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกชั้นในสุด อยู่ติดกับกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก
  • Stratum Spongiosum เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกชั้นกลาง มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ
  • Stratum Compactum เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกชั้นนอกสุด บางและกระชับกว่าชั้นอื่น ๆ

ปกติแล้ว เยื่อบุโพรงมดลูกชั้นที่ 2 และ 3 หรือที่เรียกรวมกันว่า Stratum Functionalis จะมีความหนาที่เปลี่ยนแปลงตามระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตลอดรอบเดือน

Endometrium กับการตั้งครรภ์

เยื่อบุโพรงมดลูก เป็นส่วนของมดลูกที่รองรับไข่ที่ปฏิสนธิแล้วหรือทารก จนถึงวันที่คลอดออกมา

สำหรับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกนั้น จะเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนไข่ตก โดยแรกสุด เยื่อบุโพรงมดลูกจะถูกกระตุ้นโดยเอสโตรเจนให้ขยายตัวหรือมีจำนวนมากขึ้น

ขณะเดียวกัน เมื่อต่อมมดลูก (Uterine Glands) ยาวขึ้น และจำนวนหลอดเลือดในมดลูกที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และมีเลือดหล่อเลี้ยงมากกว่าเดิม

หลังไข่ตก ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้น จะกระตุ้นต่อมเยื่อบุโพรงมดลูกให้หลั่งสารอาหารออกมาหล่อเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกให้คงสภาพไว้ ไม่บางลงหรือหลุดจากช่องคลอด

หากมีการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะฝังตัวกับเยื่อบุโพรงมดลูก และรกของหญิงตั้งครรภ์จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกแข็งแรงดำเนินต่อไป จนกว่าทารกจะคลอด

ทั้งนี้ หากไม่มีการปฏิสนธิ ระดับโปรเจสเตอโรนจะลดลง ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกชั้นที่ 2 และ 3 หลุดออกจากมดลูก และถูกขับออกทางช่องคลอดในรูปแบบที่เรียกว่าประจำเดือน

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับ Endometrium

ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับเยื่อบุโพรงมดลูกที่อาจพบได้ มีดังต่อไปนี้

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หมายถึง เนื้อเยื่อชนิดเดียวกับเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตบริเวณอวัยวะอื่นภายในร่างกายเพศหญิง เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ กล้ามเนื้อมดลูก กระเพาะปัสสาวะ สำหรับอัตราการป่วยเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จะอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ และแม้จะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าปัญหาสุขภาพนี้อาจเกิดจากการที่ประจำเดือนไหลกลับเข้าไปในร่างกาย กเซลล์ตัวอ่อนเปลี่ยนแปลง รวมถึงโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
  • เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการมีเอสโตรเจนมากเกินไป ในขณะที่โปรเจสเตอโรนอยู่ในระดับต่ำ มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงที่ใช้ยาซึ่งออกฤทธิ์เสมือนเอสโตรเจน ผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วน รวมถึงผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งภาวะนี้มักจะทำให้เกิดเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดรวมถึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นกลายมะเร็งเยื่อบุโพรงมมดลูกด้วย
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่เริ่มต้นจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก แต่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงคือ โรคอ้วนภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ พันธุกรรม การรับเอสโตรเจนทดแทน การไม่เคยมีบุตร การหมดประจำเดือนช้า รวมทั้งการมีประวัติเป็นโรคมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Endometriosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/endometriosis/diagnosis-treatment/drc-20354661. Accessed January 23, 2023

Endometriosis. Overview. https://www.nhs.uk/conditions/endometriosis/#:~:text=Endometriosis%20is%20a%20condition%20where,are%20treatments%20that%20can%20help. Accessed January 23, 2023

Endometrial cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/endometrial-cancer/diagnosis-treatment/drc-20352466. Accessed January 23, 2023

Endometrial Hyperplasia. https://www.acog.org/womens-health/faqs/endometrial-hyperplasia. Accessed January 23, 2023

Endometrial Cancer. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/endometrial-cancer. Accessed January 23, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/04/2023

เขียนโดย Duangkamon Junnet

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผนังมดลูกหนา เกิดจากอะไร มีอาการและการรักษาอย่างไร

เนื้องอกมดลูก อาการ และการรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 24/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา