backup og meta

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน จะรู้ได้ไงว่าไม่ท้อง

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน จะรู้ได้ไงว่าไม่ท้อง

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน จะรู้ได้ไงว่าไม่ท้อง อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยวิธีสังเกตอาจเริ่มจากสำรวจตนเองว่ากินยาคุมฉุกเฉินถูกวิธีหรือไม่ นอกจากนี้ ภาวะสุขภาพบางประการ เช่น อาเจียน ท้องเสีย รวมถึงยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคลมชัก ยารักษาเอชไอวี ยารักษาวัณโรค ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินลดลงได้ หากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน แล้วกินยาคุมฉุกเฉิน เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง หากสังเกตพบว่าตนเองมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน คัดตึงเต้านม ประจำเดือนขาด ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยล้ามาก ควรตรวจการตั้งท้อง เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการตั้งท้องได้เช่นกัน

[embed-health-tool-ovulation]

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน จะรู้ได้ไงว่าไม่ท้อง

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน จะรู้ได้ไงว่าไม่ท้อง อาจสังเกตได้จากวิธีการกินยาคุมฉุกเฉินว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งการกินยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกวิธีอาจสามารถป้องกันการตั้งท้องได้ประมาณ 75-85% โดยฮอร์โมนในยาคุมฉุกเฉินจะเข้าไปช่วยชะลอหรือหยุดการตกไข่ เพิ่มมูกบริเวณปากมดลูกและทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ส่งผลให้อสุจิเข้ามาผสมกับไข่ได้ยากขึ้น และไข่ไม่สามารถฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกได้ตามปกติ

กินยาคุมฉุกเฉินท้องได้หรือไม่

การกินยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันการตั้งท้องได้ 100% โดยเฉพาะหากกินยาคุมฉุกเฉินช้าหรือกินไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดการตั้งท้องได้เช่นกัน นอกจากนี้ การกินยาคุมฉุกเฉินยังอาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว ปวดท้องน้อย มีเลือดออกเล็กน้อย รอบประจำเดือนอาจเปลี่ยนแปลงโดยอาจมาช้าหรือมาเร็วขึ้นกว่าปกติ และในบางกรณีภาวะสุขภาพบางประการอาจลดประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินได้ ดังนี้

  • มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียอย่างรุนแรง ผู้ที่มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียนานกว่า 48 ชั่วโมง อาจทำให้ประสิทธิภาพยาคุมฉุกเฉินลดลง เนื่องจากยาคุมอาจถูกขับออกจากร่างกายโดยอาการที่เกิดขึ้น
  • ผู้ที่ใช้ยาในการรักษาโรค เช่น ยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin) ไรฟาบูติน (Rifabutin) โอเมพราโซล (Omeprazole) ยารักษาโรคลมชัก ยารักษาเชื้อเอชไอวี ยารักษาวัณโรค ยาละลายลิ่มเลือด ยาเบาหวาน ยานอนหลับกลุ่มฺบาร์บิทูเรต (Barbiturates) ยารักษาเชื้อรากริซีโอฟูลวิน (Griseofulvin) ยารักษาสิว Retinoic acid derivetives ยาเหล่านี้อาจทำให้ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของยาคุมฉุกเฉินลดลงได้
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเหตุใดประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินจึงลดลงในคนกลุ่มนี้ จึงควรได้รับการสั่งจ่ายยาคุมฉุกเฉินจากคุณหมอเพื่อควบคุมขนาดยาในการคุมกำเนิดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

นอกจากนี้ การกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยเกินไปหรือมากกว่า 2 ครั้ง (4 เม็ด) ในรอบเดือนเดียว อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์หรืออาจทำให้การสร้างฮอร์โมนเกิดความผิดปกติได้

สัญญาณของการตั้งท้อง

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน หากเกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังตั้งท้อง เช่น

  • ประจำเดือนขาด หากพบว่าประจำเดือนมาช้าไป 1 สัปดาห์ ควรตรวจการตั้งท้องทันที
  • เต้านมบวม คัดตึงเต้านม เจ็บปวดเต้านม เป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งท้อง ส่งผลให้เต้านมไวต่อความรู้สึกมากขึ้น
  • คลื่นไส้อาเจียน เป็นอาการแพ้ท้องที่พบได้บ่อย โดยผู้หญิงอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เมื่อได้กลิ่นหรือกินอาหารบางชนิด
  • ปัสสาวะเพิ่มขึ้นและบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายอาจมีปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งท้อง ทำให้ไตทำงานหนักขึ้นเพื่อขับของเหลวออกทางปัสสาวะ
  • ความเหนื่อยล้า การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและอาการแพ้ท้องอื่น ๆ อาจทำให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งท้องมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียและง่วงนอนมากขึ้น
  • อาการอื่น ๆ ของการตั้งครรภ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน เบื่ออาหาร ปวดท้องน้อย มีเลือดออกจากช่องคลอด ตกขาวมากชึ้น

วิธีกินยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการตั้งท้อง

ยาคุมฉุกเฉินในปัจจุบันมีทั้งแบบ 2 เม็ด และ 1 เม็ด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดเหมือนกัน โดยวิธีกินยาคุมฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการตั้งท้อง ควรกินยาทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือไม่ควรเกิน 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง โดยวิธีการกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง อาจทำได้ดังนี้

  • ยาคุมฉุกเฉินแบบ 2 เม็ด มีขนาดยาเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม กินเม็ดแรกทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่เกิน 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง และเว้นไปอีก 12 ชั่วโมง จึงกินเม็ดที่ 2 ได้ทันที หรืออาจกินพร้อมกันทั้ง 2 เม็ด หลังมีเพศสัมพันธ์ก็มีประสิทธิภาพเท่ากัน
  • ยาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด มีขนาดยาเม็ดละ 1.5 มิลลิกรัม กิน 1 เม็ดทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือไม่เกิน 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ความรู้ทั่วไปเรื่องยาคุมฉุกเฉิน. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/419/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99/. Accessed July 14, 2022

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน…ประสิทธิภาพในคนอ้วนเกิน. https://pharmacy.mahidol.ac.th/DIC/news_week_full.php?id=1424. Accessed July 14, 2022

Levonorgestrel Emergency Contraception. https://www.webmd.com/sex/birth-control/plan-b. Accessed July 14, 2022

Symptoms of pregnancy: What happens first. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/symptoms-of-pregnancy/art-20043853. Accessed July 14, 2022

Why You Can Get Pregnant on Birth Control. https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-failure-why. Accessed July 14, 2022

Emergency contraception: Preventing pregnancy after you have had sex. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2851378/. Accessed July 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/03/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาคุมฉุกเฉิน การรับประทานและความเสี่ยง

ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน ที่ควรรู้ก่อนใช้งาน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 14/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา