backup og meta

แนวทางที่ควรปฏิบัติสำหรับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

แนวทางที่ควรปฏิบัติสำหรับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส่วนใหญ่นั้น มักจะถูกเลือกปฏิบัติและกีดกันจากคนในสังคมอยู่เสมอ ความจริงแล้ว ผู้ติดเชื้อนั้นสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ตามปกติ นับเป็นเรื่องจำเป็นที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี  เพื่อทำความเข้าใจ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

[embed-health-tool-ovulation]

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เชื้อเอชไอวี (Human immunodeficiency virus; HIV) คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปทำลายเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้นมีโอกาสในการเกิดโรคและติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และหากปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรงขึ้น ก็อาจจะนำไปสู่ โรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวี ก็เหมือนผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างหนึ่ง เหมือนผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยความดันโลหิตสูง การที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถทำได้ เพียงแค่ควรเรียนรู้ทำความเข้าใจ ว่าเชื้อเอชไอวีนั้นแพร่เชื้ออย่างไร และจะสามารถป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวีได้อย่างไรบ้าง รวมไปถึงการรักษาและการไปปรึกษาคุณหมอเพื่อติดตามการรักษา

แนวทางใน การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นจะติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ เช่น เลือด น้ำนม อสุจิ หรือน้ำหล่อลื่น ดังนั้น คนที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีจึงสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้ตามปกติ สามารถรับประทานอาหารร่วมกัน เข้าห้องน้ำ ซักผ้า ใช้สบู่ และใช้ยาสีฟันร่วมกันได้ตามปกติ โดยไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการส่งต่อเชื้อเอชไอวีแต่อย่างใด

ข้อควรปฏิบัติสำหรับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจคัดกรองโรค เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือวัคซีนป้องกันวัณโรค อีกทั้งยังควรตรวจคัดกรองโรค เพื่อให้แน่ในว่าไม่มีโรคอื่น ๆ ติดมาในครอบครัวและตัวผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอง
  • กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือ เพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคไปสู่ตัวผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • ควรแยกผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ไม่ให้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีเกิดบาดแผล ควรรีบทำความสะอาดล้างแผล และปิดแผลเพื่อป้องกันเชื้อโรค

ข้อควรปฏิบัติสำหรับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ควรใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ทั้ง แปรงสีฟัน มีดโกนหนวด เสื้อผ้า กรรไกรตัดเล็บ หรือเครื่องประดับ เช่น ต่างหู เพราะอาจจะมีการปนเปื้อนของสารคัดหลั่งจาก ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในสิ่งเหล่านี้ได้
  • รับประทานยาตามหมอสั่ง ไปพบคุณหมอตามนัดเพื่อตรวจดูและติดตามอาการของโรค
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยสวมถุงยางอนามัยป้องกันโรคทุกครั้ง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ เพราะหาก ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ติดโรคเหล่านี้ ก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่าผู้อื่นได้ เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไป

สิ่งที่สำคัญใน การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือการป้องกันการติดเชื้อระหว่างตัวผู้ป่วย และคนอื่น ๆ  อีกทั้งยังควรป้องกันเชื้อโรคอื่น ๆ แพร่กระจายสู่ผู้ป่วยเอชไอวี เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอกว่าคนปกติ หากติดเชื้อโรคอื่น ๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนอื่นได้นั่นเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

สถานการณ์การติดเชื้อ HIV ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000150/download/statistics/HIV_Situation.pdf. Accessed 7 March 2023.

What Are HIV and AIDS? https://www.hiv.gov/hiv-basics/overview/about-hiv-and-aids/what-are-hiv-and-aids. Accessed 7 March 2023.

How Can You Get Support After Your HIV Diagnosis?. https://www.hiv.gov/hiv-basics/hiv-testing/just-diagnosed-whats-next/living-with-hiv#:~:text=Most%20people%20with%20HIV%20live,attention%20to%20your%20mental%20health.  Accessed 7 March 2023.

How can I protect my partners?. https://www.cdc.gov/hiv/basics/livingwithhiv/protecting-others.html. Accessed 7 March 2023.

Living with HIV and AIDS. https://www.nhs.uk/conditions/hiv-and-aids/living-with/. Accessed 7 March 2023.

Living With HIV and AIDS: Myths and Facts. https://www.webmd.com/hiv-aids/ss/slideshow-hiv-myths-facts. Accessed 7 March 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/03/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ ไวรัสโควิด-19 อาจทำร้ายภูมิคุ้มกันของคุณได้เหมือนกับ HIV

กลุ่มเสี่ยงโรคเอดส์ มีใครบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 07/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา