backup og meta

ถุงยางแตก ขณะมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นจากสาเหตุใด และควรรับมืออย่างไร

ถุงยางแตก ขณะมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นจากสาเหตุใด และควรรับมืออย่างไร

ถุงยางแตก อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์แต่เป็นไปได้น้อยมาก โดยปกติแล้วการสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์จะช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเป็นการคุมกำเนิดสำหรับคู่รักที่ยังไม่พร้อม แต่ในขณะเดียวกันหากคู่รักนั้นใช้ถุงยางอนามัยผิดวิธี ก็อาจเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาอย่าง ถุงยางแตก ถุงยางฉีกขาด ตามมาได้

[embed-health-tool-ovulation]

สาเหตุหลักที่อาจทำให้ถุงยางแตก

ถุงยางแตก หรือ ถุงยางฉีกขาด ขณะมีเพศสัมพันธ์ ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก โดยปกติ โอกาสที่ถุงยางอาจแตกได้นั้นอยู่ที่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ สำหรับคู่รักที่ใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำ และสำหรับผู้ที่ใช้ถุงยากอนามัยเป็นครั้งแรก โอกาสที่ถุงยางจะเกิดการฉีกขาดหรือแตกอยู่ที่ 14 เปอร์เซ็นต์ มักเกิดจากพฤติกรรมบางอย่างที่เผลอกระทำโดยไม่รู้ตัว หรือเพิกเฉยถึงข้อควรระวังการใช้  โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นปัญหาถุงยางแตกมักมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

  • เลือกใช้ถุงยางอนามัยผิดขนาด
  • แกะบรรจุภัณฑ์ของถุงยางที่ผิดวิธี หรือใช้ของมีคม
  • ใช้ถุงยางอนามัยที่หมดอายุแล้ว
  • ผู้ใช้ไม่รู้วิธีใช้ถุงยางหรือสวมใส่ถุงยางอย่างถูกต้อง
  • มีการเก็บรักษาถุงยางอนามัยที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บในที่ที่โดนแสงแดด
  • ใช้ถุงยางอนามัยแบบไม่มีสารหล่อลื่น

วิธีการเลือก และรักษาคุณภาพป้องกัน ถุงยางฉีกขาด

โดยปกติแล้ว หากใช้ถุงยางอนามัยอย่างเหมาะสมและถูกวิธี อัตราการป้องกันโรคติดต่อและการป้องกันการตั้งครรภ์ในช่วงเวลาที่ไม่พร้อมนั้น จะอยู่ที่ 97 เปอร์เซ็นต์  ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ และโดยเฉพาะคู่รักที่ยังไม่พร้อมมีบุตร จึงควรศึกษาถึงวิธีการใช้ถุงยางอนามัยเบื้องต้นจากฉลากข้างกล่องผลิตภัณฑ์ให้ละเอียด และควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้

  • ซื้อถุงยางที่มีขนาดเหมาะสมกับอวัยวะเพศในช่วงแข็งตัว
  • เก็บรักษาถุงยางอนามัยในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ควรเก็บไว้ในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 37 หรือน้อยกว่า 3 องศาเซลเซียส
  • เก็บถุงยางอนามัยให้พ้นจากแสงแดด
  • ก่อนการซื้อควรมีการตรวจสอบ และเช็กวันหมดอายุทุกครั้งก่อนซื้อถุงยางอนามัยมาใช้ รวมทั้งกรณีของถุงยางอนามัยที่ซื้อไปแล้วเกิดหมดอายุให้ทิ้งในทันทีโดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ
  • ไม่ควรใช้อุปกรณ์มีคมในการตัดซองถุงยางอนามัย เพราะอาจเกิดการผิดพลาดไปโดนผิวของถุงยางทำให้ ถุงยางฉีกขาด ก่อนนำมาใช้ได้
  • ไม่ควรใส่ถุงยางอนามัยซ้อนกัน เพราะอาจก่อให้เกิด ถุงยางฉีกขาด ได้โดยไม่รู้ตัว

ถุงยางแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรทำอย่างไร

กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างถุงยางแตก หรือ ถุงยางฉีกขาด ในระหว่างที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ สิ่งแรกที่ควรทำนั่นก็คือการรับประทานยาคุมฉุกเฉินทันที หรือรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง เพราะยาคุมฉุกเฉินนั้นมีฮอร์โมนปริมาณสูงที่สามารถเข้าไปช่วยชะลอการตกไข่ไม่ให้เกิดสภาวะไข่ตกก่อนที่สเปิร์มหรือตัวอสุจินั้นจะเข้าไปปฏิสนธิฝังตัวในมดลูก

นอกจากรับประทายยาคุมฉุกเฉินแล้ว ควรทำการทดสอบการตั้งครรภ์ร่วมด้วย โดยการใช้ชุดตรวจครรภ์ที่หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา เพื่อเพิ่มความมั่นใจอีกครั้ง โดยอาจเริ่มต้นการตรวจได้ประมาณ 1-2 อาทิตย์ หลังจากรับประทานยาคุมหรือมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นให้รอประจำเดือนมาตามปกติ

แต่ถ้าหากมีข้อกังวล หรือมีสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าอาจกำลังเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ เช่น อาเจียน คัดเต้านม รอบเดือนมาไม่ปกติ ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด หรือปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทันที เพื่อผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

 7 Reasons for Condom Failure https://www.verywellhealth.com/six-reasons-for-condom-failure-2328835. Accessed April 4, 2023.

Condom Errors Common, Raise STD Risks. https://www.webmd.com/sexual-conditions/news/20050725/condom-errors-common-raise-std-risks. Accessed April 4, 2023.

WHY DO CONDOMS BREAK?.  https://www.durex.co.uk/blogs/explore-sex/why-do-condoms-break. Accessed April 4, 2023.

Condom breakage studied. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12343550/. Accessed April 4, 2023.

How Often Do Condoms Fail?.  https://www.emedicinehealth.com/ask_how_often_do_condoms_fail/article_em.htm#ask_a_doctor. Accessed April 4, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/05/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้ถุงยางอนามัย ให้ถูกต้อง ไม่รั่ว ไม่หลุด และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

ใส่ถุงยาง อย่างไรให้ถูกต้อง และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 15/05/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา