backup og meta

ร้องไห้หลังมีเซ็กส์ เป็นเพราะอะไร จัดการได้อย่างไร

ร้องไห้หลังมีเซ็กส์ เป็นเพราะอะไร จัดการได้อย่างไร

ร้องไห้หลังมีเซ็กส์ อาจเกิดขึ้นได้จากหลากหลายอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความเจ็บปวด ความวิตกกังวล ความสับสน รู้สึกอายหรือรู้สึกผิด ซึ่งการทราบสาเหตุที่ทำให้ร้องไห้หลังมีเซ็กส์ อาจช่วยให้หาวิธีรับมือหรือแก้ไขสาเหตุดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม และส่งผลให้มีประสบการณ์ทางเพศที่ดีขึ้นได้

[embed-health-tool-ovulation]

ร้องไห้หลังมีเซ็กส์ เกิดจากสาเหตุใด

อาการร้องไห้หลังมีเซ็กส์อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้

ความสุข

การร้องได้ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ที่เลวร้ายเท่านั้น แต่เมื่อมีอารมณ์แห่งความปิติยินดีก็ทำให้เสียน้ำตาได้เช่นกัน ดังนั้น การร้องไห้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ โดยอาจเกิดจากความรู้สึกต่าง ๆ เช่น รัก ดีใจที่ได้เจอเซ็กส์ที่ดีตามที่คาดหวัง

ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เกินกว่าจะรับไหม

เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำใหตัวเองรู้สึกสับสน จนบางครั้งมันมากกว่าที่เกินจะรับไหว ไม่ว่าจะเป็นขณะที่กำลังแสดงบทบาทสมมติขณะมีเพศสัมพันธ์หรือมีเซ็กส์ที่มีความแฟนตาซีอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน จนทำให้เกิดอารมณ์ตึงเครียด และมีอารมณ์ไม่คงที่ บางครั้งความรู้สึกก็อยู่ในจุดที่กลัว แล้วก็กลับพุ่งขึ้นมาในจุดที่มีความสุข ก่อนที่จะดิ่งกลับลงมาอีกครั้ง เมื่ออารมณ์ไม่คงที่อาจทำให้น้ำตาไหลออกมาด้วยความตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ความคาดหวังและตั้งตารอเซ็กส์ที่ยอดเยี่ยม สร้างความสุขและรู้สึกดี แต่ร่างกายกลับไม่ตอบสนอง ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด และไม่เป็นไปตามที่หวังไว้จนผิดหวัง ก็อาจทำให้เครียดจนร้องไห้ออกมาได้เช่นกัน

การตอบสนองทางชีวภาพ

จากการประมาณการที่ได้ ผู้หญิงร้อยละ 32-46 ที่เคยมีอาการซึมเศร้าหลังจบคอนเสิร์ต (Post-Concert Depression หรือ PCD) ซึ่งเป็นภาวะที่สารแห่งความสุข อย่างสารเซโรโทนิน (Serotonin) โดพามีน (Dopamine) เอนดอร์ฟิน (Endorphin) และ ออกซิโทซิน (Oxytocin) หลั่งออกมา ขณะที่อยู่ในเหตุการณ์ที่ทำให้มีความสุขมาก ๆ และเมื่อเหตุการณ์นั้นจบลงอย่างกะทันหัน ความรู้สึกกลับสวนทางกับสารที่หลั่งออกมา อาจทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าและหดหู่ได้ หากผู้หญิงที่เคยมีภาวะ PCD มีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ และนำไปสู่ความรุนแรงของอารมณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ การร้องไห้อาจจะเป็นกลไกช่วยลดความตึงเครียดและลดการเร้าอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรงได้

ความเจ็บปวด

ความเจ็บปวดก็อาจทำให้ร้องไห้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน ความเจ็บปวดระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia) เป็นการเจ็บปวดที่อวัยวะเพศ ซึ่งอาจจะเจ็บระหว่างหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ก็ได้ โดยทั่วไปแล้วมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น ขาดน้ำหล่อลื่น โรคทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในช่องคลอด ช่องคลอดหดตัว เกร็งตัว ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อรักษาได้

ความวิตกกังวล

การร้องไห้เป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่ร่างกายมักแสดงออกมาเมื่อรู้สึกเครียด กลัว และวิตกกังวล เมื่อตกอยู่ในภาวะที่เครียด และมีความรู้สึกกังวล แต่อีกฝ่ายกลับต้องการมีเพศสัมพันธ์ก็อาจเป็นเรื่องยากที่ต้องทิ้งความเครียด แล้วมีเซ็กส์ ในขณะที่ร่างกายขกำลังเคลื่อนไหว แต่ว่าจิตใจอาจไปอยู่กับเรื่องอื่น ภาวะต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้น้ำตาพรั่งพรูออกมาขณะมีเพศสัมพันธ์ก็ได้ หรือเหตุผลของความเครียดอาจมาจากเรื่องที่กังวลว่าเซ็กส์จะไม่ดีจนทำให้อีกฝ่ายผิดหวัง ไม่พอใจ ก็อาจทำให้ร้องไห้ออกมาหลังจากจบกิจกรรมบนเตียงได้

รู้สึกอายและรู้สึกผิด

ความรู้สึกผิดและอับอายเวลามีเพศสัมพันธ์ เช่น ในบางสังคมมองว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ไม่ดี เมื่อโตมาในสังคมที่มีชุดความคิดเช่นนี้ ทำให้เมื่อมีเซ็กส์อาจทำให้รู้สึกผิดต่อกรอบที่สังคมตั้งไว้ หรือบางครั้งก็รู้สึกอายที่จะต้องแต่งกายเป็นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแต่งกายเลียนแบบสัตว์ขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือในบางครั้งอาจมีการแสดงบทบาทที่ไม่ได้ชอบจนรู้สึกอายต่อสิ่งที่ทำอยู่จนร้องไห้ออกมา

ความสับสน

ความรู้สึกสับสนหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หากคู่รักมีรสนิยมทางเพศที่ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน หรืออีกฝ่ายทำในสิ่งที่เคยคุยกัน หรือพยายามจะสร้างความสุขให้กับอีกฝ่ายแต่ทำอย่างไรก็ดูเหมือนว่าอีกฝ่ายจะไม่ชอบ และไม่พอใจไปทุกอย่าง ซึ่งเมื่อปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขอาจทำให้เกิดความรู้สึกสับสนกับความสัมพันธ์และความรู้สึกที่ทั้งคู่รักมีต่อกัน จนอาจส่งผลไปถึงเรื่องเพศได้

ประสบการณ์ทางเพศที่เลวร้าย

สำหรับผู้ที่เคยมีประสบการณ์ทางเพศที่เลวร้ายในอดีต เช่น เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขื่น หรือประสบการณ์ทางเพศที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด อาจส่งผลมาถึงปัจจุบันจนทำร้องไห้ออกมา ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้น ควรหยุดมีเพศสัมพันธ์และควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการบำบัดให้อาการดีขึ้น

ร้องไห้หลังมีเซ็กส์ ควรทำอย่างไรจัด

โดยปกติหากมีอาการเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจไปหาหมอรักษาก็หายได้ แต่เมื่อร้องไห้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ควรต้องตั้งสติเมื่อร้องไห้เสร็จ คิดทบทวนพร้อมทั้งถามตัวเองให้ดีว่าร้องไห้ด้วยเหตุผลใด โดยอาจจะเริ่มถามด้วยคำถามเหล่านี้

  • น้ำตาที่ไหล ไหลออกมาเองหรือร้องไห้จริง ๆ
  • ความรู้สึกหรืออารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะร้องไห้
  • คิดอะไรอยู่ขณะร้องไห้ รู้สึกพอใจหรือรู้สึกแย่กับเซ็กส์ที่เกิดขึ้น
  • ร้องไห้แล้วรู้สึกดี คลายเครียด หรือเครียดมากกว่าเดิม

หากตอบคำถามเหล่านี้ได้ ก็อาจทำให้รู้ได้ว่ารู้สึกอย่างไรกับการมีเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น หากคำตอบเป็นไปในทางที่เป็นปัญหาทางอารมณ์หรือมีปัญหาทางความสัมพันธ์ ควรลองให้เวลากับตัวเองเพื่อสำรวจความรู้สึกของตัวเองได้อย่างเต็มที่ คุยกับอีกฝ่ายเพื่อปรับความเข้าใจ ทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร เพื่อให้ชีวิตและความสัมพันธ์ราบรื่นขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sadness After Sex: What Is Post-Coital Dysphoria?. https://www.healthcentral.com/article/how-to-advocate-for-your-sexual-health-at-the-doctor. Accessed February 7, 2022

What is postcoital dysphoria (“post-sex blues”)?. https://www.issm.info/sexual-health-qa/what-is-postcoital-dysphoria-post-sex-blues/. Accessed February 7, 2022

What to Know About Postcoital Dysphoria. https://www.webmd.com/sex/what-to-know-postcoital-dysphoria. Accessed February 7, 2022

Postcoital Dysphoria: Prevalence and Correlates Among Males. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30040588/. Accessed February 7, 2022

Loss of libido (reduced sex drive). https://www.nhs.uk/conditions/loss-of-libido/. Accessed February 7, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/07/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

จิตหมกมุ่น จมกับ ความเสียใจ รับมืออย่างไรไม่ให้ทำร้ายสุขภาพ

8 สิ่งที่ควรทำหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อสุขอนามัยที่ดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา