backup og meta

เป็นประจําเดือน ปวดหัว เกิดจากอะไร ดูแลตัวเองยังไง

เป็นประจําเดือน ปวดหัว เกิดจากอะไร ดูแลตัวเองยังไง

ผู้หญิงหลายคนอาจสังเกตว่าตัวเอง เป็นประจําเดือน ปวดหัว และต้องการทราบว่าเกิดจากอะไรและต้องดูแลตัวเองอย่างไร โดยทั่วไป อาการที่เกิดขึ้นช่วงเป็นประจำเดือน เช่น ปวดหัว ปวดหลัง เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว มักเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ควรดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการกินยาบรรเทาปวด พักผ่อนให้เพียงพอ เปลี่ยนยาคุมกำเนิดที่อยู่ใช้ หากิจกรรมผ่อนคลายและลดความเครียด เป็นต้น

[embed-health-tool-bmi]

เป็นประจําเดือน ปวดหัว เกิดจากอะไร

เป็นประจําเดือน ปวดหัวหรือที่เรียกว่าไมเกรนประจำเดือน (Menstrual migraine) เป็นอาการที่สัมพันธ์กับการเป็นประจำเดือน โดยในช่วงก่อนที่ร่างกายจะเริ่มมีประจำเดือนในแต่ละรอบเดือน ระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนจะลดลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้มีอาการปวดหัว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการกินยาคุมกำเนิด หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อบรรเทาอาการวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง

อาการ เป็นประจําเดือน ปวดหัว

อาการไมเกรนขณะมีประจำเดือนจะเหมือนกับอาการปวดหัวไมเกรน ดังนี้

  • อาการปวดหัวที่มีความรุนแรงไม่มากไปจนถึงรุนแรง
  • เหงื่อออกเยอะ หนาวสั่น
  • ร่างกายมีความไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่น
  • ปวดตึงบริเวณหนังหัว
  • ไม่อยากอาหาร
  • วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว
  • ตัวซีด
  • เหนื่อยล้า
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้อง
  • ท้องเสีย หรือมีไข้ (พบได้ไม่บ่อย)

อาการร่วมอื่น ๆ ในช่วงเป็นประจำเดือน

ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงก่อนเป็นประจำเดือนไปจนถึงขณะเป็นประจำเดือน มักทำให้ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์มีอาการก่อนประจำเดือน (Premenstrual syndrome หรือ PMS) ที่กระทบต่อร่างกายและอารมณ์ นอกจากจะทำให้เป็นประจำเดือน ปวดหัว แล้ว ยังส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ เช่น

อาการทางร่างกาย

  • คัดตึงเต้านม
  • ท้องผูก หรือ ท้องเสีย
  • ท้องอืด มีแก๊สในท้อง
  • ตะคริว ปวดท้อง
  • ปวดหลัง
  • เป็นสิวฮอร์โมน

อาการทางจิตใจ

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนมากเกินไป นอนไม่ค่อยหลับ
  • กินอาหารมากขึ้น
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิหรือความจำ
  • วิตกกังวล เครียดง่าย
  • ซึมเศร้า ร้องไห้ง่าย
  • มีความต้องการทางเพศลดลง

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นประจําเดือน ปวดหัว

การดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการเป็นประจําเดือน ปวดหัว อาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • กินยาแก้อาการปวดกลุ่มยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (Naproxen) ที่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องและปวดหัวเมื่อเป็นประจำเดือน
  • สำหรับผู้ที่เป็นประจำเดือน ปวดหัว จากการใช้ยาคุมกำเนิด ปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรเกี่ยวกับการเปลี่ยนไปใช้ตัวยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณต่ำหรือมีโปรเจสตินเป็นส่วนประกอบอย่างเดียว
  • สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวบ่อย ๆ คุณหมอมักแนะนำให้กินยาป้องกันอาการตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่เป็นประจำเดือนและยังไม่เกิดอาการ ทั้งนี้ คุณหมออาจให้เพิ่มขนาดยาในช่วงเป็นประจำเดือน เช่น ยาลดความดันโลหิต (Beta blocker) ยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) ยากันชัก (Anticonvulsant) ยาแก้ซึมเศร้า
  • รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่สูงเกินไปหรือลดต่ำเกินไป เช่น แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ 4-5 มื้อ/วัน และไม่ควรงดมื้ออาหารใด
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น กำหนดลมหายใจ เล่นโยคะ เปิดเพลงจังหวะเบา ๆ ฟังแล้วสบายใจ ฟังพอดแคสต์เล่าเรื่องเบา ๆ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง ไม่ควรนอนน้อยเกินไปหรือมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกกดดันหรือเครียด หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรเรียนรู้วิธีรับมืออย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้รู้สึกเครียดจนเกินไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Premenstrual syndrome (PMS). https://www.womenshealth.gov/menstrual-cycle/premenstrual-syndrome. Accessed June 13, 2023

Hormone headaches. https://www.nhs.uk/conditions/hormone-headaches/#:~:text=Migraine%20is%20most%20likely%20to,come%20back%20the%20next%20day. Accessed June 13, 2023

Menstrual Migraines (Hormone Headaches). https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/8260-menstrual-migraines-hormone-headaches. Accessed June 13, 2023

Headaches and hormones: What’s the connection?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-daily-headaches/in-depth/headaches/art-20046729. Accessed June 13, 2023

Hormonal Headaches and Menstrual Migraines. https://www.webmd.com/migraines-headaches/hormones-headaches. Accessed June 13, 2023

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/07/2023

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้หญิง เป็น เมนส์ และการดูแลตัวเองให้ประจำเดือนมาปกติ

ประจําเดือนขาด มีสาเหตุมาจากอะไร และวิธีช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 06/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา