backup og meta

นวดน้ำมัน ประโยชน์ต่อสุขภาพกายและผิว

นวดน้ำมัน ประโยชน์ต่อสุขภาพกายและผิว

นวดน้ำมัน เป็นการนวดคลึงตามส่วนต่าง ๆ ร่างกายอย่างเบามือด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหย จึงอาจช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายทั้งร่างกายและอารมณ์ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ปรับปรุงการนอนหลับ คลายเครียด ลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า รวมทั้งช่วยบรรเทาอาหารปวดเมื่อยและความเหนื่อยล้าได้

นวดน้ำมัน คืออะไร

นวดน้ำมัน คือ การนวดรูปแบบหนึ่งของอโรมาเธอราพี (Aroma Therapy) ซึ่งเป็นการใช้มือนวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างเบามือร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรและดอกไม้หลายชนิด เช่น น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา ตะไคร้ มะลิ ลาเวนเดอร์ น้ำมันจะช่วยให้การนวดลื่นมือมากยิ่งขึ้น จึงอาจใช้แรงในการนวดน้อยกว่าการนวดแผนไทย นอกจากนี้ การนวดน้ำมันยังอาจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จึงอาจส่งผลให้ผิวมีสุขภาพผิวดีขึ้น ทั้งยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อารมณ์ และอาจทำให้รู้สึกสดชื่นได้ด้วย

ประโยชน์ของการนวดน้ำมัน

ประโยชน์ของการนวดน้ำมันที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้

  1. อาจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด

การนวดน้ำมันอาจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น เนื่องจาก แรงกด บีบ และการคลึงตามร่างกายจะช่วยสร้างแรงดันทำให้เลือดใหม่ไหลเวียนได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังกระตุ้นการปล่อยกรดแลคติก (Lactic Acid) ซึ่งเป็นกรดที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อมีการเผาผลาญพลังงานหรือเกิดกระบวนการย่อยสลายอาหาร ทำให้การไหลเวียนของเหลวในร่างกายดีขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

  1. อาจช่วยคลายเครียด ลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า

การนวดน้ำมันอาจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น และยังช่วยลดคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด และเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) และโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยปรับปรุงให้อารมณ์คงที่ จึงอาจช่วยลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้

  1. อาจช่วยปรับปรุงการนอนหลับ

การนวดน้ำมันนอกจากจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดฮอร์โมนความเครียด และเพิ่มสารสื่อประสาทที่ช่วยให้อารมณ์คงที่ ซึ่งส่งผลดีต่อการนอนหลับแล้ว การนวดน้ำมันยังอาจช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้า ลดอาการเจ็บปวดและปวดเมื่อย ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น จึงอาจทำให้นอนหลับได้สนิทและยาวนานขึ้น

  1. อาจช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย

การนวดน้ำมันเป็นการออกแรงนวดและคลึงตามร่างกายอย่างเบามือ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น จึงอาจช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย นอกจากนี้ การนวดน้ำมันยังอาจช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จึงอาจทำให้เลือดลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเหมาะสม จึงอาจช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นได้

ข้อควรระวังในการนวดน้ำมัน

การนวดน้ำมันอาจมีข้อควรระวังบางประการ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการนวดน้ำมันสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น มีภาวะเลือดออกผิดปกติ การติดเชื้อ โรคผิวหนัง ลิ่มเลือดอุดตัน มีบาดแผล แผลไฟไหม้ กระดูกหัก โรคกระดูกพรุนรุนแรง เกล็ดเลือดต่ำ
  • บางคนอาจมีอาการแพ้น้ำมันหอมระเหยที่ใช้นวดตัว จึงอาจทำให้เกิดอาการผื่น ลมพิษ คัน ผิวแดงและบวม
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการนวดน้ำมัน เนื่องจาก น้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา พาสลีย์ ต้นเบิร์ช (Birch) หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และการนวดยังอาจกดทับหรือกระทบกระเทือนทารกในครรภ์ได้

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Aromatherapy With Essential Oils (PDQ®)–Patient Version. https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/cam/patient/aromatherapy-pdq?redirect=true. Accessed May 10, 2022

Resting Blood Flow in the Skin: Does It Exist, and What Is the Influence of Temperature, Aging, and Diabetes?. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3440047/. Accessed May 10, 2022

Massage: Get in touch with its many benefits. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/massage/art-20045743. Accessed May 10, 2022

Massage. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/massage. Accessed May 10, 2022

Massage Therapy: What You Need To Know. https://www.nccih.nih.gov/health/massage-therapy-what-you-need-to-know. Accessed May 10, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/05/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารสเตียรอยด์ในครีม อันตรายต่อผิวอย่างไร

โลชั่น วิธีเลือกและเคล็ดลับการใช้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 23/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา