backup og meta

คันในร่มผ้า สาเหตุและการป้องกัน

คันในร่มผ้า สาเหตุและการป้องกัน

คันในร่มผ้า หมายถึง อาการคันที่เกิดขึ้นในบริเวณจุดซ่อนเร้น เช่น อวัยวะเพศ ขาหนีบ อาจเกิดจากความอับชื้น การหมักหมมของเหงื่อหรือแบคทีเรีย ทำให้เกิดการะคายเคือง และคันบริเวณผิวหนังซึ่งอาจสร้างความรำคาญ ความวิตกกังวลและส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันได้หากมีอาการคันที่รุนแรง ทั้งนี้ หากมีอาการคันในร่มผ้ารุนแรง ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและดำเนินการรักษาตามสาเหตุให้ตรงจุด

คันในร่มผ้า คืออะไร

คันในร่มผ้า คือ อาการคันผิวหนังบริเวณที่ลับหรือจุดซ่อนเร้น โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แพ้สารอาจทำให้เกิดความระคายเคือง การติดเชื้อรา การอักเสบ อาการแสบหรือปวดบริเวณอวัยวะเพศ 

ลักษณะอาการคันในร่มผ้า

คันในร่มผ้าอาจมีลักษณะอาการ ดังนี้ 

  • คันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอด 
  • เจ็บหรือแสบเวลาปัสสาวะ รวมถึงขณะมีเพศสัมพันธ์ 
  • ผิวหนังอักเสบอาจทำให้บวมและเป็นรอยแดง
  • ผื่นแดง 
  • ผิวแห้ง 
  • ตกขาวผิดปกติ อาจมีกลิ่นเหม็น

สาเหตุของอาการคันในร่มผ้า 

อาการคันในร่มผ้าอาจเกิดจากสาเหตุดังนี้ 

  • เหงื่อ เมื่อโปรตีนจากเหงื่อทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียบนผิวหนัง อาจทำให้เกิดการหมักหมมของสิ่งสกปรก และส่งผลทำให้คันในร่มผ้าได้ 
  • ผิวแพ้ง่าย อาจแพ้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาฆ่าเชื้อ สารเคมี ที่อาจส่งผลทำให้เกิดผื่นและคันได้ 
  • วัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอาจทำให้ผนังช่องคลอดบางและแห้ง ส่งผลทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองได้
  • เชื้อราในช่องคลอด อาจเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ หรือเชื้อแคนดิดา (Candida) ซึ่งทำให้คันอวัยวะเพศ เจ็บแสบขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงอาจทำให้มีตกขาวผิดปกติ 
  • โรคทางผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน ผด อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันในร่มผ้า 
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริมที่อวัยวะเพศ หนองในเทียม หูดที่อวัยวะเพศ อาจทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองที่อวัยวะเพศ 

การรักษาอาการคันในร่มผ้า 

อาการคันในร่มผ้าอาจรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • วัยหมดประจำเดือน อาจรับประทานยาคุมที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือทามอยส์เจอไรเซอร์สำหรับรักษาอาการคันในช่องคลอด
  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อยีสต์ อาจรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา หรือยาสอดช่องคลอด 

ทั้งนี้ หากมีอาการคันในร่มผ้าเกิน 1 สัปดาห์ และอาการรุนแรงขึ้น รวมถึงกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาตามสาเหตุ 

การป้องกันอาการคันในร่มผ้า

อาการคันในร่มผ้าอาจมีวิธีป้องกัน ดังนี้ 

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่คับแน่นจนเกินไป เช่น ผ้าฝ้าย 
  • อาบน้ำทุกวัน หรือหลังจากการทำกิจกรรมที่ส่งผลทำให้มีเหงื่อ 
  • ลดน้ำหนัก เพื่อป้องกันการเสียดสีของผิวหนังและการหมักหมมของเหงื่อ 
  • ล้างทำความจุดซ่อนเร้นเป็นประจำและเช็ดให้แห้งก่อนที่จะสวมเสื้อผ้า เพื่อป้องกันการอับชื้น รวมถึงควรเปลี่ยนชุดชั้นใน กางเกงในทุกวัน
  • สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด การใช้กระดาษชำระที่มีน้ำหอม รวมถึงไม่ควรทาครีมหรือแป้งในบริเวณอวัยวะเพศ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว กางเกง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ 
  • หลีกเลี่ยงการเกาบริเวณอวัยวะเพศ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • ประคบเย็นบริเวณผิวหนังที่คัน โดยประคบประมาณ 5-10 นาที อาจช่วยบรรเทาอาการคันได้ 
  • บำรุงผิวด้วยการทามอยส์เจอไรเซอร์ที่ปราศจากสารเติมแต่ง น้ำหอม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

คันในร่มผ้า. https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=42. Accessed Jan 7, 2022

Vaginal Candidiasis. https://www.cdc.gov/fungal/diseases/candidiasis/genital/index.html. Accessed Jan 7, 2022   

Atopic eczema. https://www.nhs.uk/conditions/atopic-eczema/. Accessed Jan 7, 2022

HOW TO RELIEVE ITCHY SKIN. https://www.aad.org/public/everyday-care/itchy-skin/itch-relief/relieve-itchy-skin. Accessed Jan 7, 2022

Vaginal Itching, Burning, and Irritation. https://www.webmd.com/women/guide/vaginal-itching-burning-irritation. Accessed Jan 7, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/01/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะผื่นคันต่างๆ และการดูแล

คันตามตัว เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 10/01/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา