backup og meta

ฝ้า เกิดจากอะไร วิธีรักษาและป้องกันฝ้า

ฝ้า เกิดจากอะไร วิธีรักษาและป้องกันฝ้า

ฝ้า เป็นอีกปัญหาของสุขภาพผิว ที่สามารถสังเกตได้จากจุดสีดำ สีน้ำตาล มักขึ้นบริเวณใบหน้า ในส่วนสันจมูก แก้ม หน้าผาก คาง และเหนือริมฝีปากบน อย่างไรก็ตาม ฝ้าอาจไม่ส่งผลอันตราย และสามารถจางลงเองได้หากบำรุงผิวหรือใช้ยารักษาอย่างถูกวิธี

คำจำกัดความ

ฝ้า คืออะไร

ฝ้า คือภาวะที่ผิวหนังมีจุดสีดำหรือสีดำน้ำตาลขนาดใหญ่ มักจะเกิดขึ้นบริเวณแก้ม หน้าผาก และบริเวณอื่นที่ถูกแสงแดดเป็นเวลานาน โดยฝ้ามักพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงการตั้งครรภ์ที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง และอาจหายได้เองหลังจากคลอดบุตร

บางคนอาจเกิดความสับสนระหว่างฝ้ากับกระ เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ฝ้าจะมีรอยด่างดำที่อาจมีขนาดใหญ่กว่าครึ่งนิ้ว ในขณะที่กระป็นเพียงแค่จุดเล็ก ๆ สีดำหรือน้ำตาล ซึ่งทั้งฝ้าและกระมักปรากฏได้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงอายุ 20 ปีหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น การตากแดดเป็นเวลานาน

อาการ

อาการของฝ้า

อาการของฝ้าที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ รอยสีดำหรือสีน้ำตาลขนาดใหญ่คล้ายเกลื้อน ขึ้นบนใบหน้าบริเวณแก้ม หน้าผาก สันจมูก เหนือริมฝีปากบน และคาง บางคนอาจพบบริเวณลำคอและแขน มักไม่ส่งผลให้เกิดการเจ็บปวดใด ๆ

สาเหตุ

สาเหตุของฝ้า

สาเหตุของฝ้าอาจยังไม่ชัดเจน แต่ตามคาดการณ์อาจเกิดมาจากสิ่งกระตุ้น ดังต่อไปนี้

  • แสงแดด รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์อาจกระตุ้นเมลาโนไซต์ (Melanocyte) ที่เป็นเซลล์เม็ดสีเมลานินในผิวหนัง ทำให้เกิดรอยฝ้าขึ้นบนผิว โดยเฉพาะหากได้รับแสงแดดในช่วงฤดูร้อน ถึงแม้ว่าฝ้าจะจางลงเองได้ แต่หากได้รับแสงแดดบ่อยครั้งก็อาจส่งผลให้ฝ้าเกิดขึ้นซ้ำอีกได้หลายครั้ง
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง อาจทำให้รอยฝ้าเพิ่มขึ้น มีอาการแย่ลง
  • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3  เนื่องจากการการตั้งครรภ์ส่งผลให้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพิ่มขึ้น ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล จึงก่อให้เกิดจุดด่างดำ ฝ้าขึ้น ถึงอย่างไรรอยฝ้าก็อาจจางลงเองได้ในช่วงหลังคลอด นอกจากนี้ ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดอาจส่งผลให้เกิดฝ้าได้เช่นเดียวกัน เพราะยาคุมมีส่วนทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงจนอาจนำไปสู่การเกิดฝ้าบนผิวหน้า

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝ้า

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝ้า ได้แก่

  • เพศ ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีโอกาสเกิดฝ้ามากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์และการรับประทานยาคุมกำเนิด
  • สีผิว ผู้ที่มีสีผิวคล้ำอาจเสี่ยงเป็นฝ้า หรืออาจเห็นร่องรอยการเกิดฝ้าได้ชัด

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยฝ้า

หากสังเกตว่าสีผิวไม่สม่ำเสมอ มีรอยด่างดำจากฝ้า ควรเข้ารับการวินิจฉัยจากคุณหมอด้านผิวหนัง โดยคุณหมออาจตรวจเช็กสุขภาพผิวด้วยแสงที่เรียกว่า Wood’s lamp เพื่อหาร่องรอยของการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจขอเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อนำไปตรวจผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจสอบว่ามีแนวโน้มเสี่ยงเป็นภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่

การรักษาฝ้า

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาฝ้า แต่มีวิธีรักษาที่อาจช่วยให้รอยฝ้าจางลงด้วยการใช้ยาที่คุณหมอผิวหนังแนะนำ ดังนี้

  • ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) เป็นยารักษาฝ้าที่ช่วยปรับให้สีผิวสม่ำเสมอ โดยควรใช้เมื่อคุณหมอกำหนดให้ใช้เท่านั้น
  • เตรทติโนอิน (Tretinoin) คือยาที่ช่วยเพิ่มความกระจ่างใสของผิว โดยอาจมีส่วนประกอบจากตัวยา 3 ชนิด ได้แก่ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) เตรทติโนอิน (Tretinoin) และคอร์ติโคสเตีย์รอยด์ (Corticosteroid) ภายในตัวเดียว 
  • วิธีการรักษาฝ้าอื่น ๆ หากผิวไม่ตอบสนองต่อยารักษาฝ้า อาจใช้วิธีการเลเซอร์ ลอกผิวด้วยสารเคมี การกรอผิวหนังด้วยเทคนิคไมโครเดอร์มาเบรชั่น (Microdermabrasion) แต่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวคล้ำเสีย ระคายเคืองผิวหนัง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันฝ้า

วิธีป้องกันฝ้า อาจทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นก่อให้เกิดฝ้า เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • หากเป็นไปได้ไม่ควรเผชิญกับแสงแดดช่วงเวลา 11.00-15.00 น. และทาครีมกันแดดเป็นประจำก่อนออกจากบ้าน 15-30 นาที โดยเลือกครีมกันแดดที่มี SPF สูงกว่า 50+ หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต เช่น แว่นกันแดด หมวก 
  • เลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อ่อนโยนเหมาะกับสภาพผิว ป้องกันการระคายเคือง
  • หลีกเลี่ยงการแว็กซ์ เพราะอาจทำให้ผิวหนังอักเสบและทำให้อาการของฝ้าแย่ลง

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

MELASMA. https://www.bad.org.uk/for-the-public/patient-information-leaflets/melasma/?showmore=1&returnlink=https%3A%2F%2Fwww.bad.org.uk%2Fpatient-information-leaflets#.YX_Ww55BxPY . Accessed November 04, 2021

Slide show: Sun damage. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/multimedia/sun-damage/sls-20076973?s=7 . Accessed November 04, 2021

Freckles. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/freckles-skin-spots . Accessed November 04, 2021

Chloasma–the mask of pregnancy https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19140277/ . Accessed November 04, 2021

Melasma (‘Pregnancy Mask’) on Cheek. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/picture-of-melasma-pregnancy-mask-on-cheek . Accessed November 04, 2021

MELASMA: WHO GETS AND CAUSES. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/A-Z/MELASMA-CAUSES . Accessed November 04, 2021

MELASMA: TIPS FOR MANAGING. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/A-Z/MELASMA-SELF-CARE . Accessed November 04, 2021

MELASMA: DIAGNOSIS AND TREATMENT https://www.aad.org/public/diseases/a-z/melasma-treatment . Accessed November 04, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทาสกินแคร์ อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อบำรุงผิวหน้า

อาร์บูติน คืออะไร ช่วยดูแลปัญหาผิวได้หรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา