backup og meta

มีตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร

มีตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร
มีตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร

มีตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว เป็นอาการของภาวะผิวหนังอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากโกนหนวดบ่อยและรุนแรงจนผิวหนังอักเสบ ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่อาบน้ำหลังทำกิจกรรมที่มีเหงื่อเยอะ เป็นต้น ทั้งนี้ ตุ่มตามตัวสามารถหายได้เองหากดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เช่น อาบน้ำด้วยสบู่ต้านแบคทีเรีย เลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น แต่หากผิวหนังอักเสบหรือระคายเคืองเรื้อรัง ดูแลเองแล้วยังไม่หาย ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยโรคและหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

[embed-health-tool-bmr]

มีตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว คืออะไร

ตุ่มคล้ายสิวที่ขึ้นบนผิวหนัง อาจพบได้บ่อยบริเวณกรอบหน้า ลำคอ หน้าอก แผ่นหลัง ใต้วงแขน และตามข้อพับ ตุ่มที่ขึ้นอาจมีลักษณะเป็นผื่นแดง กระจายทั่วผิวหนัง หรือเป็นตุ่มนูนขึ้นมาคล้ายเป็นสิว บางจุดอาจคล้ายสิวหัวขาวก่อตัวอยู่รอบรูขุมขน บางครั้งอาจเป็นตุ่มหนอง หรืออาจมีอาการคันร่วมด้วย ไม่ควรแกะเกาเพราะอาจทำให้อาการอักเสบแย่ลง เกิดรอยแผลเป็น หรือทำให้เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราจากบริเวณที่มีอาการกระจายไปสู่ผิวหนังบริเวณอื่น จนผิวหนังบริเวณนั้นติดเชื้อได้

สาเหตุที่ทำให้มีตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว

สาเหตุที่ทำให้มีตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว อาจมีดังนี้

  • เกิดขนคุด ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากรูขุมขนอุดตัน ทำให้ผิวแห้ง สาก เป็นตุ่ม
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • โกนหนวดหรือโกนขนเป็นประจำจนผิวหนังอักเสบ
  • แพ้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ที่รักษาอาการบวมแดง หรือการติดเชื้อ
  • ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป
  • มีการสัมผัสหรือเสียดสีบริเวณผิวหนังมากเกินไป
  • รูขุมขนระคายเคืองจากเหงื่อ
  • เชื้อโรคในแหล่งน้ำธรรมชาติหรืออ่างน้ำร้อน
  • แพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว เช่น มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน

มีตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว รักษาอย่างไร

โดยทั่วไป ตุ่มที่ขึ้นตามตัว คล้ายสิว มักหายไปได้เองหลังทำความสะอาดผิวอย่างถูกวิธี หรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ การรักษาอาจมีดังนี้

  • ทำความสะอาดผิวหนังที่อักเสบประจำ หากตุ่มที่ขึ้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจต้องใช้สบู่ต้านแบคทีเรียล้างทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้ออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ใช้เกลือรักษา เนื่องจากเกลือมีสารที่ช่วยในการบรรเทาอาการอักเสบและติดเชื้อของผิวหนัง วิธีการคือ ผสมเกลือ 1 ช้อนชากับน้ำอุ่น 2 ถ้วย เทน้ำที่ผสมแล้วลงบนผ้าเช็ดตัวจากนั้นประคบตรงบนผิวที่เป็นตุ่ม มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The International Journal of Dermatology เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่ศึกษาเรื่องการอาบน้ำด้วยน้ำเกลือทะเล พบว่า เมื่ออาบน้ำที่ผสมกับเกลือแล้ว ผลลัพธ์คือ น้ำเกลือสามารถลดความหยาบกร้านและการอักเสบของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการอาบด้วยน้ำประปา
  • ใช้ยาแก้อักเสบชนิดทาผิวหนังที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาไฮโดรคอร์ติโซนชนิดทาผิวหนัง (Hydrocortisone) หากมีอาการคันอาจใช้โลชั่นที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ต
  • ที่มีส่วนช่วยรักษาโครงสร้างของผิวและให้ความชุ่มชื้น โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Drugs in Dermatology เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ที่ศึกษาเรื่องประสิทธิภาพของโลชั่นที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ตในการรักษาอาการคันและระคายเคืองของผิว พบว่า สารสกัดจากข้าวโอ๊ตมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบโดยตรง และมีส่วนช่วยลดความแห้งกร้านและความรุนแรงของอาการคันได้

วิธีป้องกันและวิธีดูแลตัวเอง

วิธีป้องกันและดูแลตัวเองเมื่อมีตุ่มขึ้นตามตัว คล้ายสิว อาจทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัดแน่น เพื่อลดการเสียดสีระหว่างเสื้อผ้าและผิวหนังที่อาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้
  • หากเป็นไปได้ ควรงดโกนหนวดหรือโกนขน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดขนคุด ที่มีสาเหตุมาจากผิวหนังระคายเคืองเรื้อรังเพราะโกนขนเป็นประจำ
  • หากจำเป็นต้องโกนหนวดหรือขน อาจใช้สบู่ต้านแบคทีเรียฟอกบริเวณผิวก่อนโกน พยายามอย่าโกนใกล้ผิวหนังจนเกินไป และหลีกเลี่ยงการโกนหนวดหรือขนบ่อยเกินไป
  • ทามอยส์เจอไรเซอร์หรือโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า และของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และซักผ้าที่ใช้ทำความสะอาดตัวเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • หากทำกิจกรรมที่มีเหงื่อเยอะ ควรรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เพื่อลดการสะสมของเหงื่อและเชื้อโรคบนผิวหนัง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Folliculitis. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-is-folliculitis. Accessed March 22, 2022

Folliculitis – Symptoms and causes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/folliculitis/diagnosis-treatment/drc-20361662. Accessed March 22, 2022

Folliculitis. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17692-folliculitis. Accessed March 22, 2022.

ACNE-LIKE BREAKOUTS COULD BE FOLLICULITIS. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/folliculitis. Accessed March 22, 2022

Anti-inflammatory activities of colloidal oatmeal (Avena sativa) contribute to the effectiveness of oats in treatment of itch associated with dry, irritated skin. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25607907/. Accessed March 24, 2022

Bathing in a magnesium-rich Dead Sea salt solution improves skin barrier function, enhances skin hydration, and reduces inflammation in atopic dry skin. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15689218/. Accessed March 24, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีแก้ผื่นคัน สาเหตุของผื่นคัน และการป้องกัน

ผื่นแพ้ มีสาเหตุจากอะไร เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังชนิดใดบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 31/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา