backup og meta

ก้อนใต้รักแร้ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

ก้อนใต้รักแร้ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

ก้อนใต้รักแร้ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เนื้องอกไขมัน การอักเสบของต่อมเหงื่อใต้รักแร้ ซีตส์ ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่แสดงอาการหากไม่ติดเชื้อ และอาจหายเองได้ แต่หากเกิดการติดเชื้อหรืออักเสบ ก้อนใต้รักแร้อาจเป็นสัญญาณร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งเต้านม จึงควรหาสาเหตุเพื่อจะได้รักษาอย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-heart-rate]

สาเหตุของก้อนใต้รักแร้

ก้อนใต้รักแร้อาจเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพได้ ดังนี้

เนื้องอกไขมัน (Lipomas)

เนื้องอกไขมัน เป็นก้อนเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตใต้ผิวหนัง ลักษณะเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2 นิ้ว หรืออาจกว้างกว่า 6 นิ้ว และสามารถเคลื่อนย้ายได้ อาจเกิดขึ้นบริเวณหลัง ลำตัว รักแร้ แขน ไหล่ และคอส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ และไม่ส่งผลเสียที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เนื้องอกชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในผู้หญิงที่มีอายุประมาณ 40-60 ปี

อาการ

โดยปกติเนื้องอกไขมันไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่หากกดทับเส้นประสาทหรือเกิดขึ้นใกล้ข้อต่อ ก็อาจเกิดอาการปวดหรือไม่สบายได้

การรักษา

เนื้องอกไขมันส่วนใหญ่ไม่ต้องรักษา แต่หากนพัฒนาเป็นมะเร็ง อาจสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด หรือการดูดไขมัน โดยคุณหมอจะใช้เข็มลักษณะยาวบางดูดเนื้อเยื่อไขมันออกมา เพื่อหยุดการเจริญเติบโต

ต่อมเหงื่ออักเสบ (Hidradenitis Suppurativa หรือ HS)

ต่อมเหงื่ออักเสบ เป็นโรคที่ทำให้เกิดก้อนเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง มักเกิดขึ้นบริเวณรักแร้และขาหนีบ โรคนี้พบได้ไม่บ่อยนัก และยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด อาจเกิดจากเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในผิวหนัง ผม และเล็บ เหงื่อ และแบคทีเรียอุดตันในรูขุมขน ทำให้เนื้อเยื่อก่อตัวเป็นก้อนใต้ผิวหนัง

อาการ

อาจทำให้เกิดอาการไม่สบายตัว คันและเจ็บปวดบริเวณก้อนเนื้อ และอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้

การรักษา

โรคต่อมเหงื่ออักเสบไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่คุณหมออาจวางแผนการรักษาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายและบรรเทาอาการของโรค ลดอาการปวด รู้สึกวูบวาบ และสมานแผล ดังนี้

  • แผนดูแลผิวหนัง
  • การควบคุมความเจ็บปวด และดูแลบาดแผล
  • รักษาโรคติดเชื้อ
  • รักษาด้วยยา

ซีสต์

ซีสต์ คือถุงไขมันที่ก่อตัวขึ้นใต้ผิวหนัง ภายในอาจมีของเหลวหรือเศษสิ่งสกปรกอื่น ๆ ผสมอยู่ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณ หน้าอก รังไข่ ไต หรือรักแร้ และซีสต์มีหลายชนิด เช่น ซีสต์เต้านม ซีสต์เดอร์มอยด์ ซีสต์ไขมัน ส่วนใหญ่ไม่พัฒนากลายเป็นมะเร็ง

อาการ

อาการของซีสต์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป โดยซีสต์ที่เกิดขึ้นที่ไตหรือตับอาจไม่แสดงอาการ สำหรับซีสต์ที่ผิวหนังอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หากเกิดการติดเชื้อ ผิวจะเป็นสีแดง

การรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของซีสต์ ตำแหน่งที่เกิด ขนาดของซีสต์ และอาการของผู้ป่วย หากซีสต์มีขนาดใหญ่มากและทำให้เกิดอาการรุนแรง คุณหมออาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด หรือใช้วิธีดูดซีสต์โดยสอดเข็มหรือสายสวนเข้าไป และอาจใช้ภาพเอกซเรย์นำทาง เพื่อให้สอดเข็มหรือสายสวนได้ง่ายขึ้น

โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม อาจทำให้เกิดก้อนใต้รักแร้โดยการเติบโตของเนื้อเยื่อภายในเต้านมที่ผิดปกติ จนอาจพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายที่กลายเป็นมะเร็งได้ โดยก้อนใต้รักแร้แต่ละประเภทอาจมีลักษณะและอาการที่แตกต่างกันออกไป  เช่น

  • ซีสต์เต้านม ส่วนใหญ่ไม่พัฒนากลายเป็นมะเร็ง แต่หากอักเสบและเป็นก้อนแข็งก็อาจกลายเป็นมะมะเร็งได้
  • ซีสต์ต่อมไขมันและต่อมเหงื่อ เกิดการอักเสบจนเป็นก้อนแข็ง และกลายเป็นมะเร็งกินรักแร้
  • ก้อนใต้รักแร้ที่เกิดจากต่อมน้ำเหลืองโต และเกิดการอักเสบ
  • ก้อนเต้านม ที่เกิดจากเนื้อเยื่อเต้านมเจริญผิดปกติ หากอักเสบอาจกลายเป็นมะเร็งได้

อาการ

ก้อนใต้รักแร้อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งเต้านม หากบริเวณเต้านมหนาขึ้น มีรอยแดง รอยบุ๋ม หรือมีรูพรุนที่ผิวหนัง หัวนมมีของเหลวไหลออกมา และอาจมีอาการเจ็บปวดหน้าอก

การรักษา

ก้อนที่เต้านมอาจหายไปเองได้โดยไม่ต้องรักษา แต่หากรู้สึกคัดตึงเต้านม หรือผิวเต้านมเปลี่ยนแปลงไป อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งเต้านม ให้รีบไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยโรค และเข้ารับการรักษา หากก้อนใต้รักแร้อักเสบและส่งผลกระทบทำให้อาการรุนแรงขึ้น คุณหมออาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

HIDRADENITIS SUPPURATIVA: DIAGNOSIS AND TREATMENT. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/hidradenitis-suppurativa-treatment. Accessed September 15, 2021

Hidradenitis suppurativa: a common and burdensome, yet under-recognised, inflammatory skin disease. https://pmj.bmj.com/content/90/1062/216. Accessed September 15, 2021

Breast lumps. https://www.mayoclinic.org/symptoms/breast-lumps/basics/definition/sym-20050619. Accessed September 15, 2021

Breast Self-Awareness. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/breast-self-awareness. Accessed September 15, 2021

Lymphadenitis. https://www.merckmanuals.com/professional/dermatologic-disorders/bacterial-skin-infections/lymphadenitis. Accessed September 15, 2021

Lumps. https://www.nhs.uk/conditions/lumps/. Accessed September 15, 2021

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งกินรักแร้ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ. http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/index.php/2019/12/31/gm4947bf9758xc/. Accessed September 15, 2021

Cysts (Overview). https://www.health.harvard.edu/a_to_z/cysts-overview-a-to-z. Accessed September 15, 2021

Skin cyst. https://www.nhs.uk/conditions/skin-cyst/. Accessed September 15, 2021

Breast cysts. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/breast-cysts/diagnosis-treatment/drc-20370290. Accessed September 15, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผิวหนังอักเสบ ฤดูหนาว ป้องกันได้อย่างไร

มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร ส่งผลอย่างไร ควรรู้ไว้สังเกตตัวเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา