backup og meta

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง สาเหตุ อาการ และการรักษา

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง สาเหตุ อาการ และการรักษา

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous Cyst)  คือ ซีสต์ไขมันหรือซีสต์ของผิวหนังที่เกิดการแข็งตัวขึ้นทีละน้อยภายใต้ผิวหนัง อย่างไรก็ตาม ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังมักจะไม่กลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง และสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อกำจัดก้อนซีสต์ออกไป รวมถึงการดูแลตัวเอง รักษาความสะอาดของผิว และตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงของการเกิดโรค

[embed-health-tool-bmi]

 

คำจำกัดความ

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous Cyst) คืออะไร

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous Cyst)  คือ ซีสต์ไขมันหรือซีสต์ของผิวหนังที่เกิดการแข็งตัวขึ้นทีละน้อยภายใต้ผิวหนัง โดยมีขนาด 1-5 เซนติเมตร พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า ลำคอ และลำตัว

อย่างไรก็ตามไม่ต้องกังวลว่า ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังจะกลายเป็นเนื้อร้ายอย่างมะเร็ง หรือส่งผลกระทบต่อร่างกาย เพราะซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังมักไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงใด ๆ

พบได้บ่อยเพียงใด

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง มักเกิดขึ้นบ่อยบริเวณใบหน้าและลำคอ

อาการ

อาการซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง

ผู้ป่วยที่มีซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังขนาดใหญ่บริเวณใบหน้าและลำคอจะมีอาการเจ็บปวดและรู้สึกไม่สบายตัว โดยลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ก้อนซีสต์มีเส้นผ่าสูงกลางขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร
  • เมื่อทำการผ่าออกแล้วกลับมีซีสต์ก้อนใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • มีลักษณะของการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อน เช่น มีรอยแดง มีอาการปวด มีหนอง

สาเหตุ

สาเหตุของซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังเกิดจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นต่อมไขมันที่ทำหน้าที่ผลิตไขมันที่คอยให้ความชุ่มชื้นกับเส้นผมและผิวหนัง โดยซีสต์ใต้ผิวหนังเกิดความผิดปกติของน้ำมันภายใต้ผิวหนังที่ไม่สามารถออกไปสู่ผิวชั้นนอกได้จึงทำให้เกิดการอุดตันอยู่ในรูขุมขน นอกจากนี้ อาจเกิดจากบาดแผลที่ผิวหนัง การผ่าตัด สิว  รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

  • ต่อมไขมันผิดรูปร่าง
  • เซลล์ผิวหนังเกิดความผิดปกติในระหว่างการผ่าตัด
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น ท่อต่อมไขมันผิดปกติหรือผิดรูปร่าง ท่อไขมันหรือต่อมเหงื่อเกิดการอุดตัน เซลล์ได้รับความเสียหายจากการผ่าตัด เช่น โรคการ์ดเนอร์ซินโดรม (Gardner’s Syndrome) หรือ โรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด (Basal Cell Nevus Syndrome)

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง

ผู้ป่วยที่เป็นซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังอาจมีตุ่มมากกว่า 1 ตุ่ม โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผิวหนังบอบบางมากขึ้น ดังนี้

  • เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
  • ผิวหนังได้รับความเสียหาย เช่น อุบัติเหตุ การหกล้ม บาดแผล

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจสอบประวัติและตรวจร่างกาย หากมีอาการผิดปกติแพทย์อาจต้องทำการวินิจฉัยเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดออก หรืออาจเป็นโรคมะเร็ง  โดยตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิฉัยระบุโรค ดังนี้

  • ทำตรวจซีทีสแกน (Computerized Tomography : CT scan) แพทย์จะทำการตรวจสอบหาความผิดปกติเพื่อนำมาวินิฉัยระบุโรคที่แน่ชัด
  • การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasounds) เพื่อแพทย์จะได้ใช้ในการตรวจหาของของเหลวที่อยู่ภายในซีสต์
  • การตัดชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อนำมาตรวจ (Punch biopsy)  แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อบางส่วนเพียงเล็กน้อยจากในถุงซีสต์ นำไปตรวจเพื่อหาว่ามีความเป็นไปได้ในการเกิดโรคมะเร็งหรือไม่

การรักษาซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังสามารถหายไปเองได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามสามารถผ่าตัดออกได้เพื่อความสวยความงาม โดยมีวิธีการผ่าตัดที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • การผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ออกทั้งหมด จะช่วยกำจัดก้อนซีสต์ออกไปได้ทั้งหมด แต่อาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้
  • การผ่าตัดซีสต์ออกไปบางส่วน วิธีนี้จะทำให้เกิดรอยแผลเป็นน้อยที่สุด แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดซีสต์อีกครั้ง
  • การผ่าตัดซีสต์ด้วยเลเซอร์ โดยการเลเซอร์เพื่อระบายของเหลวในถุงซีสต์ออกมา

หลังจากทำการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะจ่ายยาแก้อักเสบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และครีมทาเพื่อช่วยลดรอยแผลเป็น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง สามารถทำได้ ดังนี้

  • รักษาความสะอาดของผิว อาบน้ำเป็นประจำ โดยใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำเพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกบนร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว และทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sebaceous Cyst. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sebaceous-cysts/symptoms-causes/syc-20352701. Accessed 12 June 2020

Sebaceous Cysts. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/sebaceous-cysts. Accessed February 28, 2022.

Visual Guide to Cysts. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-guide-to-cysts. Accessed February 28, 2022.

Skin cyst. https://www.nhs.uk/conditions/skin-cyst/. Accessed February 28, 2022.

Epidermoid Cyst. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499974/. Accessed February 28, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เนื้องอกน้อยๆ ที่อาจเกิดได้เมื่อคุณอายุมากขึ้น

ซีสต์ในไต อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา