โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอีกชนิด ที่เกิดจากเซลล์ผิวหนังฟื้นตัวเร็ว และแทนที่เซลล์ผิวเก่าเร็วกว่าผิดปกติ โดยมักเกิดตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศีรษะ ข้อศอก หัวเข่า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนได้ระมัดระวัง และรู้จักสังเกตถึงอาการโรคสะเก็ดเงิน Hello คุณหมอ จึงขอนำสัญญาณเตือนที่คุณควรทราบ พร้อม วิธีป้องกันโรคสะเก็ดเงิน มาฝากทุกคนกันค่ะ
สัญญาณเตือนของ โรคสะเก็ดเงิน ที่ควรรู้ไว้
ผู้ป่วยแต่ละบุคคลมักแสดงอาการถึงโรคสะเก็ดเงินที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการ หรือปฏกิริยาที่เกิดพบได้บ่อยนั้น มีดังนี้
- ผิวหนังแห้งแตก
- อาการคัน และเลือดออกเล็กน้อยตามผิวหนัง
- ผิวหนังมีสีแดง ที่ถูกปกคลุมด้วยเกล็ดหนา
- รู้สึกผิวหนังแสบร้อนรุนแรง
- ข้อต่อบวม
หากผู้ป่วยมีอาการในระดับเบาแผ่นผิวหนังที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพียงแค่สะเก็ดเล็ก ๆ คล้ายรังแค อีกทั้งยังสามารถจางหายไปได้เองภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ หรือเป็นดือน ๆ ตามแต่ภาวะสุขภาพ และการดูแลรักษา
5 วิธีป้องกันโรคสะเก็ดเงิน ด้วยตัวเอง
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ โรคสะเก็ดเงิน เกิดขึ้นมาทำร้ายผิวหนังของคุณ วิธีต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครหลาย ๆ คน โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งทางการแพทย์เสมอไป
- บำรุงผิวด้วยโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้น การที่คุณปล่อยให้ผิวแห้งกร้าน อาจเป็นสาเหตุที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดสะเก็ดเงินได้ง่ายขึ้น แต่ในการเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงนั้นควรเลือกที่ปลอดจากสารเคมีทำร้ายผิวหนังเพิ่มเติม เช่น น้ำมันมะพร้าว เจลว่านหางจระเข้ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการเผชิญกับสภาพอากาศแห้งและเย็น หากคุณเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอกับสภาพอากาศเช่นนี้ คุณควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีการปกปิด และสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เพราะในช่วงฤดูที่มีอากาศหนาวเย็น ผู้คนส่วนใหญ่มักเป็นโรคสะเก็ดเงินกันจำนวนมาก
- รับประทานสารอาหารที่ประกอบด้วยวิตามินดี การวิจัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีอาการขาดวิตามินดี มักเสี่ยงจะเผชิญกับโรคสะเก็ดเงินได้ หรือป้องกันไม่ให้สะเก็ดเงินมีการลุกลาม ถึงอย่างไรข้อเท็จจริงการงานวิจัยดังกล่าวยังจำเป็นต้องทำการศึกษาถึงความเชื่อมโยงเพิ่มเติม ปกติแล้วนั้นทุกคนสามารถจะรับวิตามินดีได้จากแสงแดดธรรมชาติ วิตามินเสริม หรือแม้แต่กระทั้งอาหารต่าง ๆ เช่น นม ธัญพืชบางชนิด และปลาแซลมอน เป็นต้น
- ดูแลหนังศีรษะ เนื่องจากสะเก็ดเงินสามารถเกิดขึ้นกับหนังศีรษะของเราได้ คุณจึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) และแชมพูน้ำมันดิน (Coal Tar) เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สะเก็ดเงินมีอาการที่รุนแรงขึ้น หรือระงับการลุกลามขยายออกเป็นวงกว้าง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาบางชนิด ฤทธิ์ของยาบางอย่าง เช่น ยาควินิดีน (Quinidine) ยาโพรพราโนลอล (Propranolol) และยารักษาอาการคลุ้มคลั่งทางจิต (Lithium) เพราะอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยากับโรคสะเก็ดเงิน จนเข้าไปกระตุ้นให้อาการต่าง ๆ ของคุณนั้นแย่ลงได้
ในกรณีคุณมีการใช้ยารักษาโรค หรืออาการต่าง ๆ อยู่ร่วม คุณควรเข้าขอคำปรึกษา พร้อมตรวจสอบร่างกายอย่างละเอียดจากแพทย์เสียก่อน เพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนตัวยาที่เหมาะสม และช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้โรคสะเกิดเงินมีภาวะรุนแรงขึ้น
ทางเลือกอื่น ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงิน ในระดับปานกลางถึงรุนแรง แพทย์อาจให้คุณรับการบำบัดด้วยแสงไม่ว่าจะเป็นแสงแดดธรรมชาติ เลเซอร์ การฉายรังสีอัลตร้าไวโอเลต UVB เพื่อฟอกผิวหนัง อีกทั้งเมื่อวินิจฉัยอาการแล้วเกิดมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติม แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ยาตามสภาวะอาการให้คุณรับประทาน หรือยาในรูปแบบฉีดร่วม เนื่องจากการบำบัดด้วยแสงอาจมีประสิทธิภาพที่ไม่เพียงพอต่อการรักษา เช่น ยาไซโคลสปอริน (Cyclosporine) ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) ยาอินฟลิซิแมบ (Infliximab) และ ยาอิเซคิซซูแมบ (Ixekizumab)