ท่อไตอุดตัน เกิดขึ้นเมื่อท่อไตนั้นอุดตัน การอุดตันนั้นอาจจะเป็นตั้งแต่กำเนิด หรืออาจจะเกิดจากรอยแผลเป็นเพราะนิ่วในไต หรือการผ่าตัดครั้งก่อน
คำจำกัดความ
ท่อไตอุดตันคืออะไร
ระบบการปัสสาวะนั้นประกอบด้วยไต ท่อสองท่อที่นำพาปัสสาวะจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ ที่เรียกว่าท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ
ท่อไตอุดตัน (Ureteral Obstruction) เกิดขึ้นเมื่อท่อไตนั้นอุดตัน การอุดตันนั้นอาจจะเป็นตั้งแต่กำเนิด หรืออาจจะเกิดจากรอยแผลเป็นเพราะนิ่วในไตหรือการผ่าตัดครั้งก่อน ในกรณีที่ไม่บ่อยนักรอยแผลเป็นนั้นอาจเกิดจากโรคมะเร็งหรือการรักษาโรคมะเร็ง เช่น การทำเคมีบำบัด (radiation) นิ่วในไต การผ่าตัดครั้งก่อน การผ่าตัดครั้งก่อน หรือสภาวะบางอย่างที่เป็นตั้งแต่กำเนิด
เมื่อท่อไตอุดตัน ปัสสาวะก็จะไม่สามารถระบายออกจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะได้อย่างถูกต้อง หรืออาจจะไหลย้อนกลับเข้าสู่ไตทำให้เกิดการติดเชื้อและความเสียหายในระยะยาว
ท่อไตอุดตันพบได้บ่อยได้แค่ไหน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์
อาการ
อาการของท่อไตอุดตันเป็นอย่างไร
ท่อไตอุดตันนั้นไม่มีทั้งสัญญาณและอาการ สัญญาณกับอาการจะขึ้นอยู่กับว่าการอุดตันนั้นเกิดขึ้นที่ใด อุดตันเป็นบางส่วนหรืออุดตันทั้งหมด เกิดขึ้นเร็วแค่ไหน และส่งผลกระทบกับไตหนึ่งหรือสองข้าง
สัญญาณและอาการทั่วไปมีดังนี้
- อาการปวด
- ปริมาณของการผลิตปัสสาวะลดลง
- ปัสสาวะติดขัด
- มีเลือดในปัสสาวะ
- มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ
- ความดันโลหิตสูง
อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อไร
ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
เข้ารับการรักษาในทันทีหากคุณมีอาการดังนี้
- มีอาการปวดหนักมากจนไม่สามารถนั่งนิ่งๆ หรือหาท่าที่สบายได้
- มีอาการปวดร่วมกับอาการคลื่นไส้และอาเจียน
- มีอาการปวดร่วมกับเป็นไข้และหนาวสั่น
- มีเลือดในปัสสาวะ
- ปัสสาวะติดขัด
สาเหตุ
สาเหตุของท่อไตอุดตัน
ท่อไตอุดตันแต่ละประเภท มีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน สาเหตุบางประการอาจเป็นตั้งแต่กำเนิด
ท่อไตอุดตันมีสาเหตุมาจาก
- ท่อไตเกิน (Duplication of the ureter) อาการนี้เป็นอาการปกติที่มีตั้งแต่กำเนิด ทำให้มีท่อไตสองท่อเกิดขึ้นที่ไตเดียวกัน ท่อไตที่สองอาจจะเป็นปกติ หรือพัฒนาแค่บางส่วน หากหลอดไตใดทำงานได้ไม่ดี ปัสสาวะอาจจะไหลกลับเข้าสู่ไต และทำให้เกิดความเสียหายได้
- ความผิดปกติบริเวณที่ท่อไตเชื่อมต่อกับกระเพาะปัสสาวะ หรือกระเพาะอาหาร ทำให้อุดกั้นการไหลเวียนของปัสสาวะ การเชื่อมต่อที่ผิดปกติระหว่างท่อไตและไต หรือการอุดตันที่รอยต่อของที่อุดท่อไตกับกรวยไต (ureteropelvic junction) อาจทำให้ไตบวม และหยุดทำงานในที่สุด ความผิดปกตินี้อาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นระหว่างการเจริญเติบโตตามปกติ ผลมาจากการบาดเจ็บ หรือรอยแผลเป็น หรือในกรณีหายากคือ เกิดมาจากเนื้องอก การอุดตันที่รอยต่อของที่อุดท่อไตกับกรวยไต อาจทำให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับเข้าสู่ไต
- หากท่อไตแคบเกินไป และทำให้ปัสสาวะไม่สามารถไหลได้อย่างปกติ อาจเกิดท่อไตโป่งพองได้ (ureterocele) มักจะเกิดในส่วนของท่อไตที่ใกล้กับกระเพาะปัสสาวะที่สุด ซึ่งอาการนี้สามารถอุดตันการไหลเวียนของปัสสาวะ และทำให้ให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับไปยังไต นำมาซึ่งความเสียหายที่ไต
- การเกิดพังผืดที่หลังเยื่อบุช่องท้อง (Retroperitoneal fibrosis) ความผิดปกติที่หาได้ยากนี้เกิดขึ้นเมื่องมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นตรงบริเวณด้านหลังช่องท้อง พังผืดนั้นอาจมาจากโรคมะเร็งหรือการใช้ยาบางอย่างเพื่อรักษาอาการไมเกรน พังผืดนั้นจะล้อมและอุดตันท่อไต ทำให้ปัสสาวะไหลกลับเข้าสู่ไต
สาเหตุอื่นที่เป็นไปได้
มีสาเหตุจำนวนมากที่เกิดจากภายใน (intrinsic) หรือภายนอก (extrinsic) ของท่อไตที่สามารถนำไปสู่อาการท่อไตอุดตันได้ดังนี้
- นิ่วในท่อไต (Ureteral stones)
- ท้องผูกอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่กับเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน
- เนื้องอกทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็ง
- เนื้อเยื่อภายในโต เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ในผูหญิง
- ผนังของท่อไตบวมในระยะยาว ปกติมักจะเกิดจากโรคอย่างวัณโรค (tuberculosis) หรือการติดเชื้อปรสิต ที่เรียกว่าโรคพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis)
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดท่อไตอุดตัน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์
การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยท่อไตอุดตัน
บ่อยครั้งที่แพทย์จะวินิจฉัยพบภาวะท่อไตอุดตันได้ตั้งแต่ก่อนเกิด ขณะที่ทำการอัลตราซาวด์ก่อนคลอด ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงข้อมูลการพัฒนาของทารกในครรภ์ รวมทั้งไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ แพทย์มักจะทำการอัลตราซาวด์อีกครั้ง หลังจากคลอดเพื่อทำการประเมินไตอีกครั้ง
หากแพทย์สงสัยว่า คุณจมีภาวะท่อไตอุดตัน อาจต้องทำการตรวจและสแกนเหล่านี้เพื่อทำการวินิจฉัยโรค
- การตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ แพทย์จะทำการตรวจสอบตัวอย่างจากเลือดและปัสสาวะ เพื่อดูสัญญาณของการติดเชื้อ และการมีอยู่ของสารครีอะตินีน (Creatinine) ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ไตของคุณทำงานได้ไม่ดี
- ทำการอัลตราซาวด์บริเวณด้านหลังอวัยวะในช่องท้อง หรือการทำอัลตราซาวด์บริเวณหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneal ultrasound) ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นไตและท่อไตได้
- การตรวจทางรังสี โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปทางสายสวนท่อไต (Voiding cystourethrogram) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของการไหลของปัสสาวะ แพทย์จะสอดท่อสวนเล็กๆ (catheter) เข้าไปในท่อไต ฉีดสีย้อมเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แล้วทำการเอ็กซเรย์ที่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ก่อนและหลังการปัสสาวะ
- การสแกนนิวเคลียร์ไต (Renal nuclear scan) คล้ายกับการตรวจไตและทางเดินปัสสาวะ โดยการฉีดสี (IVP) แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะฉีดสีย้อม ที่มีส่วนผสมของวัสดุกัมมันตรังสีเล็กน้อยเข้าไปในแขน แล้วใช้กล้องพิเศษ เพื่อตรวจจับกัมมันตภาพรังสี และสร้างภาพออกมาเพื่อให้แพทย์ใช้เพื่อประเมินผลการทำงานของระบบปัสสาวะ
- ใช้ท่อเล็กๆ ที่ติดกล้องและไฟ สอดเข้าไปในท่อปัสสาวะ หรือรอยผ่าเล็กๆ ระบบเชิงทัศนศาสตร์ (optical system) จะทำให้แพทย์สามารถมองเห็นด้านในของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
- การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (Computerized tomography) หรือซีทีแสกน (CT scan) การทำซีทีแสกนนั้นรวบรวมชุดของภาพเอ็กซเรย์ที่ถ่ายจากหลายมุมแล้วใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพตัดขวางของไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ
- การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging) หรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) การทำเอ็มอารืไอที่ช่องท้อง โดยใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ เพื่อสร้างภาพของอวัยวะและเนื้อเยื่อภายในระบบปัสสาวะ
การรักษาท่อไตอุดตัน
เป้าหมายของการรักษาภาวะท่อไตอุดตัน คือการกำจัดการอุดตันออกไปถ้าเป็นไปได้ หรือหลีกเลี่ยงการอุดตัน ซึ่งอาจช่วยใชการซ่อมแซมไตที่เสียหาย การรักษาอาจประกอบไปด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดสิ่งที่เกี่ยวข้องกันการติดเชื้อ
การระบายปัสสาวะ (Drainage procedures)
ภาวะท่อไตอุดตันที่ทำให้เกิดอาการปวดที่รุนแรง อาจจำเป็นต้องมีกระบวนการกำจัดปัสสาวะออกไปจากร่างกายให้เร็วที่สุด และบรรเทาปัญหาที่เกิดจากการอุดตันชั่วคราว ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist) อาจจะแนะนำดังนี้
- การใส่ขดลวดตาข่ายในท่อไต (ureteral stent) สอดท่อกลวงเข้าไปในท่อไตเพื่อเปิดท่อไต
- การใส่สายระบายผ่านทางผิวหนัง (Percutaneous Drainage) แพทย์จะสอดท่อเข้าไปทางด้านหลังของคุณ เพื่อระบายปัสสาวะจากไตโดยตรง
- ท่อสวน (catheter) ใช้ท่อสวนเข้าไปในท่อปัสสาวะ เพื่อเชื่อมต่อกับกระเพาะปัสสาวะกับถุงระบายด้านนอก วิธีการนี้จะสำคัญหากกระเพาะปัสสาวะของคุณนั้น ทำให้การระบายของเสียจากไตไม่ดี
แพทย์จะบอกว่ากระบวนการรักษาแบบไหน หรือการใช้กระบวนการแบบไหนร่วมกันนั้น เหมาะสมกับคุณ กระบวนการในการระบายปัสสาวะ อาจจะช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วคราว หรือถาวร ขึ้นอยู่กับอาการของคุณ
กระบวนการผ่าตัด (Surgical procedures)
มีกระบวนการผ่าตัดบางประเภทเพื่อรักษาท่อไตอุดตัน ประเภทของการผ่าตัดนั้นจะขึ้นอยู่กับอาการของคุณ
การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะท่อไตอุดตัน อาจใช้วิธีการดังต่อไปนี้
- การผ่าตัดผ่านทางกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic surgery) กระบวนการที่มีรอยผ่าที่น้อยที่สุด ทำโดยการสอดกล้องติดไฟผ่านเข้าท่อปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะ และส่วนอื่นๆ ในทางเดินปัสสาวะ ศัลยแพทย์จะตัดท่อไตส่วนที่เสียหายหรืออุดตัน เพื่อทำให้บริเวณนั้นกว้างขึ้น แล้ววางขดลวดตาข่ายลงไป เพื่อให้มันเปิดอยู่ตลอด กระบวนการนี้สามารถใช้ได้ทั้งการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค
- การผ่าตัดแบบเปิด (Open surgery) ศัลยแพทย์จะกรีดผ่าช่องท้องเพื่อทำการผ่าตัด
- การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช (Laparoscopic surgery) ทำโดยผ่านท่อเล็กๆ ที่ติดไฟและกล้องไว้ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นด้านในตัวคุณ ศัลยแพทย์อาจจะผ่ารอยเล็กๆ บนผิวหนังหนึ่งรอยหรือมากกว่านั้น แล้วสอดท่อและเครื่องอื่นๆ เข้าไปเพื่อทำการผ่าตัด
- การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (Robot-assisted laparoscopic surgery) ศัลยแพทย์จะใช้ใช้ระบบหุ่นยนต์ เพื่อทำการผ่าตัดผ่านทางกล้อง
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างการผ่าตัดเหล่านี้ คือเวลาที่คุณใช้ในการฟื้นฟูหลังจากการผ่าตัด และจำนวนกับขนาดของรอยผ่า ศัลยแพทย์จะบ่งชี้ว่า กระบวนการผ่าตัดแบบไหนที่เหมาะสมกับการรักษาอาการของคุณ
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือภาวะท่อไตอุดตัน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด