backup og meta

อาการที่บอกได้ว่าคุณกำลังมี โรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

อาการที่บอกได้ว่าคุณกำลังมี โรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างอันได้แก่ กระเพาะปัสสาวะลงมาจนถึงท่อปัสสาวะนั้น การเกิด โรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยมาก อย่างเช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคต่อมลูกหมากโต โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

โรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง มีอาการอย่างไร 

โรคของอวัยวะของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างนั้น มักจะเกิดอาการที่เรียกว่า ลุทส์ (LUTS: Lower Urinary Tract Symptoms) ซึ่งประกอบด้วยอาการดังต่อไปนี้ คือ

  1. ปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่า 5 ครั้ง ทั้งที่ดื่มน้ำในปริมาณปกติ
  2. ปัสสาวะกลางคืน หมายถึงหลับสนิทไปแล้ว ลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อยกว่า 2 ครั้ง หากเกิน 5 ครั้ง ถือว่าผิดปกติมาก
  3. รู้สึกกลั้นปัสสาวะได้ยาก หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หากปัสสาวะขึ้นมา อาจมีบางครั้งที่ปัสสาวะราด โดยไม่สามารถกลั้นได้
  4. มีความรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่า 5 ครั้ง หรือปวดปัสสาวะตลอดเวลา หากรู้สึกปวดปัสสาวะต้องไปทันที แต่ก็ไม่มีปัสสาวะ หรือปัสสาวะน้อยมาก
  5. ปัสสาวะต้องรอ ไม่สามารถปัสสาวะได้เลย ทั้งที่อยู่ที่โถแล้ว
  6. ปัสสาวะแต่ละครั้งต้องเบ่งอย่างมาก หรือบางคนต้องกดหน้าท้องแทบทุกครั้ง เพื่อให้ปัสสาวะออกมา
  7. ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือพุ่งไม่แรงตามปกติ
  8. ปัสสาวะไม่ไหลต่อเนื่อง ปัสสาวะเป็นขยัก
  9. มีปัสสาวะหยดลงมากกว่าปกติ เมื่อปัสสาวะสุดแล้ว
  10. รู้สึกปัสสาวะคงค้าง ทั้งที่ปัสสาวะสุดแล้ว

การรักษาโรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

อาการทั้งหมดนี้ อาจเกิดจากพฤติกรรมการดื่มน้ำ พฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะ ซึ่งอาการเหล่านี้ก็สามารถแก้ไขได้ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่หากอาการดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มน้ำ หรือกลั้นปัสสาวะ ควรปรึกษาแพทย์

โดยเบื้องต้น ทางแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปจะซักประวัติ LUTS ตรวจร่างกาย เพื่อดูความผิดปกติของหน้าท้องส่วนล่าง ความผิดปกติของต่อมลูกหมาก ความผิดปกติของระบบประสาทไขสันหลัง หรือกระทั่งการติดเชื้อ ในบางรายอาจต้องตรวจปัสสาวะ การได้ประวัติอาการ LUTS ที่ชัดเจน ตรวจร่างกาย และตรวจปัสสาวะเบื้องต้นนั้น สามารถวินิจฉัยโรคได้แล้วมากกว่าครึ่งหนึ่ง หากแต่ผลการตรวจปัสสาวะปกติ ตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติที่ชัดเจน อาการ LUTS ไม่ตรงไปตรงมา แพทย์จะปรึกษาศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อหาสาเหตุ วินิจฉัย และรักษาต่อไป

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

 

International Prostate Symptom Score (I-PSS). http://www.urospec.com/uro/Forms/ipss.pdf. Accessed December 6, 2018

de Jong, Y; Pinckaers, JH; Ten Brinck, RM; Lycklama À Nijeholt, AA; Dekkers, OM (2014). “Urinating Standing versus Sitting: Position Is of Influence in Men with Prostate Enlargement. A Systematic Review and Meta-Analysis”. Accessed December 6, 2018

Urinating Standing versus Sitting: Position Is of Influence in Men with Prostate Enlargement. A Systematic Review and Meta-Analysis. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0101320. Accessed December 6, 2018

Clinical Methods: The History, Physical, and Laboratory Examinations. 3rd edition. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK295/. Accessed December 6, 2018

Griffiths DJ. The mechanics of the urethra and of micturition. Br J Urol. 1973;45:497–507. oehrbornCG and McConnell JD: Etiology, pathophusiology, epidemiology, and natural history of benign prostatic hyperplasia. Campell’s Urology. WB Saunders Co 2002; chapt 38, p1309. https://courses.edx.org/courses/coursev1:KIx+KIUrologyx+2015_T3/courseware/da87e1501ddc4b23a21ef08b385eab75/ee11de2b999643ae801418dc860018e0/1?activate_block_id=block-v1%3AKIx%2BKIUrologyx%2B2015_T3%2Btype%40vertical%2Bblock%401336a171e1704f6684587576c674cdc3. Accessed December 6, 2018

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/07/2020

เขียนโดย นายแพทย์ณัฐพงศ์ เดชธิดา

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

ไม่อยากติดเชื้อ ระบบทางเดินปัสสาวะ สาวๆ ต้องระวังเรื่องพวกนี้


เขียนโดย

นายแพทย์ณัฐพงศ์ เดชธิดา

โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต


แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา