เวลามี อาการกรดไหลย้อน หลายคนมักจะไปซื้อยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการ หรือบางคนไปพบคุณหมอแล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคกรดไหลย้อน บทความนี้จาก Hello คุณหมอ อยากจะชวนคุณผู้อ่านมาลองสำรวจว่า คุณกำลังมี ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไหลย้อน หรือเปล่า
กรดไหลย้อน คืออะไร
โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากภาวะกรดไหลย้อน (Acid reflux) หากคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอกเนื่องจากกรดไหลย้อน นานเกิน 2 สัปดาห์ แพทย์อาจวินิจฉัยว่าคุณมี อาการกรดไหลย้อน โดยอาการของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่
- ลมหายใจมีกลิ่น หรือมีกลิ่นปาก
- ฟันเกิดความเสียหายเนื่องจากกรด
- แสบร้อนทรวงอก
- รู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างจากท้องไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือที่ปาก หรือมีอาการสำรอก
- เจ็บหน้าอก
- ไอแห้งบ่อย
- โรคหอบหืด
- มีปัญหาในการกลืนอาหาร
รู้เท่าทันอาการกรดไหลย้อนได้ เพียงแค่คุณลองสำรวจตนเอง
หลายคนมีอาการแสบร้อนทรวงอกและกรดไหลย้อนเป็นครั้งคราว เนื่องจากนิสัยการกิน หรือการนอนลงทันทีหลังจากกินอาหาร แต่อย่างไรก็ถาม โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคเรื้อรังที่คุณหมอจะเริ่มตรวจสอบนิสัยของคุณ ซึ่งนิสัยบางอย่างที่เป็นสาเหตุของ อาการกรดไหลย้อน ได้แก่
- ความอ้วน หรือน้ำหนักเกิน ซึ่งจะเพิ่มความกดดันให้ช่องท้อง
- การสูบบุหรี่
- การดื่มแอลกอฮอล์
- การตั้งครรภ์
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบื้องต้นเพื่อป้องกันและรับมือกับอาการกรดไหลย้อน
อาการกรดไหลย้อน อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ โชคดีที่อาการกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้ ดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงการกิน
- การลดน้ำหนัก
- การเลิกสูบบุหรี่
- การเลิกดื่มแอลกอฮอล์
ยาสำหรับโรคกรดไหลย้อนจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร แต่ยานี้อาจไม่ได้ผลสำหรับทุกคน บางคนอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อรักษา อาการกรดไหลย้อน
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไหลย้อน
1. หากเป็นโรคกรดไหลย้อน จะต้องมีอาการแสบร้อนทรวงอก
คุณสามารถเป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD, gastroesophageal reflux disease) โดยไม่มีอาการแสบร้อนทรวงอกได้ แต่ถ้าหากคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอกเกิน 2 สัปดาห์ คุณอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน อาการแสบร้อนสรวงอก เป็นอาการของกรดไหลย้อนก็จริง แต่ไม่เสมอไป
อาการที่เป็นสัญญาณว่าคุณเป็นโรคกรดไหลย้อนยังได้แก่ ไอแห้ง มีปัญหาในการกลืน และอาการของโรคหอบหืด ควรไปหาคุณหมอถ้าคุณเป็นโรคกรดไหลย้อน ส่วนสำหรับการรักษานั้น การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ การกินยา และการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ จะช่วยรักษาอาการได้
2. เอาหมอนรองหลัง ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้
ถ้า อาการกรดไหลย้อน เกิดขึ้นเวลาที่คุณนอนหลับ หลายคนมักจะแก้ปัญหาด้วยการเอาหมอนมารองไว้ที่หลังหลายๆ ใบ เพื่อให้ศีรษะและหน้าอกอยู่สูงกว่าขา แต่ความจริงแล้วไม่แนะนำให้ใช้หมอนเนื่องจากอาจทำให้คุณอยู่ในท่านั่งกึ่งนอน ที่ส่งผลให้บริเวณท้องได้รับแรงกดทับมากขึ้น ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ คุณควรนำท่อนไม้หรือวัตถุทรงสี่เหลี่ยม ขนาดประมาณ 6 นิ้วมาสอดไว้ใต้ที่นอน เพื่อให้ที่นอนยกสูงขึ้น คล้ายกับเตียงในโรงพยาบาลที่สามารถปรับระดับหัวเตียงได้
อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการกรดไหลย้อนจนรบกวนการนอนหลับ คุณควรปรึกษาแพทย์ และการปรับเตียงนอนจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้หมอนรองหลังเวลานอน
3. แสบร้อนทรวงอก ส่งผลกระทบต่อหัวใจ
4. สามารถกินยาลดกรดเท่าไหร่ก็ได้
5. อาการแสบร้อนทรวงอก เป็นอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้
6. อาการ กรดไหลย้อน รักษาได้ด้วยการกินยาเพียงอย่างเดียว
[embed-health-tool-bmr]