backup og meta

โรคโครห์น (Crohn's disease)

โรคโครห์น (Crohn's disease)

โรคโครห์น เป็นสาเหตุให้เกิดอาการอักเสบตามแนวระบบย่อยอาหาร ซึ่งสามารถส่งผลต่อส่วนใดๆ ของระบบย่อยอาหาร นับจากปากไปจนถึงช่องทางด้านหลัง แต่มักพบได้มากที่สุดในส่วนปลายสุดของลำไส้เล็กหรือหรือลำไส้ใหญ่

คำจำกัดความ

โรคโครห์นคืออะไร

โรคโครห์น (Crohn’s disease) เป็นสาเหตุให้เกิดอาการอักเสบตามแนวระบบย่อยอาหาร อาการอักเสบดังกล่าวสามารถส่งผลต่อส่วนใดๆ ของระบบย่อยอาหาร นับจากปากไปจนถึงช่องทางด้านหลัง แต่มักพบได้มากที่สุดในส่วนปลายสุดของลำไส้เล็กหรือหรือลำไส้ใหญ่

โรคโครห์นพบได้บ่อยเพียงใด

ผู้ชายและผู้หญิงมีแนวโน้มอย่างเท่าเทียมกันที่จะได้รับผลกระทบจากโรคนี้ และโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในวัยใดๆ ก็ได้ โรคโครห์นมักพบได้บ่อยในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นระหว่างช่วงอายุ 15 และ 35 ปี

โรคนี้สามารถรับมือได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการโรคโครห์นมีอะไรบ้าง

โรคโครห์นมีอาการที่พบได้ทั่วไป ดังต่อไปนี้

  • ท้องเสีย
  • ปวดในช่องท้อง
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ตั้งใจ
  • มีเลือดและเมืองที่ใบหน้า

อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

คุณควรไปพบหมอเมื่อมีอาการใด ๆ ดังต่อไปนี้

  • ปวดในช่องท้อง
  • มีเลือดปนในอุจจาระ
  • มีอาการท้องเสียชั่วคราวในช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่ตอบสนองต่อยาที่ซื้อมารับประทานเอง (over-the-counter (OTC) medications)
  • มีอาการไข้โดยไม่ทราบสาเหตุเกิดขึ้นเกินกว่าหนึ่งวันหรือสองวัน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

โรคโครห์นเกิดจากอะไร

ระบบภูมิคุ้มกัน

ไวรัสหรือแบคทีเรียอาจกระตุ้นให้เกิดโรคโครห์นได้ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณ พยายามต้านทานจุลินทรีย์ที่เข้ามาในร่างกาย การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานเซลล์ในทางเดินอาหาร

พันธุกรรม

โรคโครห์นพบได้มากกว่าในคนที่มีสมาชิกมีประวัติเป็นผู้ป่วยโรคนี้ ดังนั้น ยีนอาจมีบทบาทที่ทำให้คนมีความไวต่อโรค อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยโรคโครห์นส่วนใหญ่ไม่มีประวัติของครอบครัวที่เป็นโรคนี้

ปัจจัยเสี่ยง

อะไรที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคโครห์น

ความเสี่ยงสำหรับในการเกิดโรคโครห์นมีหลายประการ ได้แก่

  • อายุ: โรคโครห์นสามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในวัยใดๆ ก็ได้ แต่มักเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อย
  • ชาติพันธุ์: คนผิวขาวและชาวยุโรปตะวันออก และผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวเป็นโรคนี้ได้ง่าย
  • ประวัติครอบครัว: คุณมีความเสี่ยงมากขึ้นหากคุณมีคนที่มีสายเลือดใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ พี่น้อง หรือบุตรที่เป็นโรคนี้
  • การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรคโครห์น
  • ยาต้านการอักเสบที่ปราศจากสเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ยาเนพร็อกเซนโซเดียม (naproxen sodium) ยาไดโคลฟีแนคโซเดียม (diclofenac sodium) และยาอื่นๆ สามารถก่อให้ภาวะเกิดลำไส้อักเสบซึ่งทำให้โรคโครห์นมีอาการรุนแรงขึ้น
  • ที่อยู่อาศัย: ผู้คนที่อยู่อาศัยในเมือง ในเขตภูมิอากาศตอนเหนือ หรือในประเทศอุตสาหกรรม มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคโครห์น
  • อาหารที่อุดมไปด้วยไขมัน หรือผ่านการขัดสี มีบทบาทสำคัญในการเกิดโรคโครห์น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วินิจฉัยโรครห์นได้อย่างไร

การตรวจเลือด

  • ระดับการอักเสบในร่างกายของคุณ
  • คุณมีภาวะติดเชื้อหรือไม่
  • คุณมีภาวะโลหิตจางหรือไม่ ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ว่าคุณมีภาวะขาดสารอาหารหรือมีเลือดออกจากลำไส้

การตรวจอุจจาระ

คุณอาจต้องเก็บตัวอย่างอุจจาระ เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจหาเลือดที่ปนเปื้อนในอุจจาระได้

การรักษา

  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นลำไส้ทั้งหมดของคุณได้โดยใช้หลอดบาง ยืดหยุ่น และน้ำหนักเบา ที่มีกล้องติดอยู่ ในระหว่างการรักษา แพทย์ยังจะสามารถเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจำนวนเล็กน้อย (biopsy) สำหรับการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคได้
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลาย (Flexible sigmoidoscopy): แพทย์อาจใช้หลอดบาง ยืดหยุ่น และน้ำหนักเบา เพื่อตรวจลำไส้ส่วนปลาย (sigmoid) สำหรับการรักษาวิธีนี้
  • กล้องแคปซูล (Capsule endoscopy) ใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคโครห์น
  • การส่องกล้องลำไส้ด้วยกล้องลูกโป่งคู่ (Double-balloon endoscopy): กล้องขนาดยาวใช้สำหรับส่องลึกลงไปยังลำไส้เล็กซึ่งเป็นบริเวณที่กล้องทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ เทคนิคนี้มีประโยชน์เมื่อกล้องแคปซูลแสดงให้เห็นถึงภาวะผิดปกติต่าง ๆ แต่การวินิจฉัยโรคยังคงไม่ทราบผลแน่ชัด
  • การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
  • การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging: MRI)
  • การสร้างภาพถ่ายลำไส้เล็ก: การตรวจด้วยวิธีนี้จะส่องไปยังลำไส้เล็ก ซึ่งไม่สามารถตรวจได้โดยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ หลังจากดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของธาตุแบเรียม (barium) แพทย์จะตรจจเอกซเรย์ลำไส้เล็กของคุณ

รักษาโรคโครห์นได้อย่างไร

ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs)

การใช้ยาต้านการอักเสบมักเป็นขั้นตอนแรกในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ ได้แก่

การใช้ยารับประทาน 5-อะมิโนซาลิไซเลต (Oral 5-aminosalicylate)

  • ลดอาการที่ลำไส้: ยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine) ยาเมซาลามีน (mesalamine)
  • อาการข้างเคียง: คลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน แสบร้อนกลางอก และปวดศีรษะ

การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)

  • อาการข้างเคียงต่างๆ ได้แก่ ใบหน้าบวม (puffy face) มีขนขึ้นมากในบริเวณใบหน้า (excessive facial hair) มีเหงื่อออกตอนกลางคืน (night sweats) นอนไม่หลับและสมาธิสั้น (insomnia and hyperactivity) ความดันเลือดสูง (high blood pressure) ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) ต้อกระจก (cataracts) ต้อหิน (glaucoma) ฯลฯ
  • แพทย์มักใช้ยานี้ หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรรักษาด้วยวิธีอื่นเท่านั้น

ยากดระบบภูมิคุ้มกัน

การใช้ยาประเภทนี้จะมุ่งให้ระบบภูมิคุ้มกันช่วยลดอาการอักเสบ ในผู้ป่วยบางราย การใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันให้ผลการรักษาดีกว่าการใช้ยาเพียงชนิดเดียว ยากดระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ยาเอซาธิโอพรีน (azathioprine) ยาเมอร์แคปโตพูรีน (mercaptopurine) ยาอินฟลิซิแม็บ (Infliximab) ยาเอดาลิมูแม็บ (adalimumab) ยาเซอร์โทลิซูแม็บเพกอล (certolizumab pegol) ยาเมโทเทร็กเซท (Methotrexate) ยาไซโคลสปอรีนและทราโครลิมัส (Cyclosporine and tacrolimus) ยานาทาลิซูแม็บ (Natalizumab) ยาเวโดลิซูแม็บ (vedolizumab) ยาอุสเทคินูแม็บ (Ustekinumab)

ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะสามารถลดปริมาณการระบายและในบางครั้งสามารถรักษาหนองและฝีในผู้ป่วยโรคโครห์นได้ ได้แก่ ยาเมโทรไนดาโซล (Metronidazole) ยาไซโพลฟล็อกซาซิน (Ciprofloxacin)

การใช้ยาอื่นๆ

นอกเหนือจากการควบคุมอาการอักเสบแล้ว ยาบางชนิดอาจช่วยบรรเทาสิ่งบ่งชี้และอาการของโรคได้ แต่ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาโดยทั่วไป

  • ยารักษาท้องร่วง (Anti-diarrheals) ผงไซเลียม (psyllium powder) (ยาเมทามูซิล (Metamucil)) หรือยาเมทิลเซลลูโลส (ยาไซทรูเซล (Citrucel)) ยาโลเพอราไมด์ (loperamide) (ยาไอโมเดียม (Imodium)) ควรใช้ยารักษาท้องร่วงหลังจากปรึกษาแพทย์เท่านั้น
  • ยาบรรเทาอาการปวด (Pain relievers) ยาประเภทนี้อาจทำให้อาการทุเลาลง และทำให้โรคทุเลาลงด้วยเช่นกัน
  • อาหารเสริมธาตุเหล็ก (Iron supplements) หากคุณมีภาวะเลือดออกในลำไส้เรื้อรัง คุณอาจมีภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กและจำเป็นต้องรับประทานอาการเสริมธาตุเหล็ก
  • การรับประทานวิตามินบี 12 (Vitamin B-12 shots) ช่วยป้องกันภาวะเลือดจาง ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เป็นปกติ และมีความจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทที่เหมาะสม
  • อาหารเสริมแคลเซียมและวิตามินดี (Calcium and vitamin D supplements) เนื่องจากโรคโครห์นและสารสเตียรอยด์ที่ใช้รักษาโรคนี้อาจเพิ่มความเสียงในการเกิดภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) ได้

การบำบัดด้วยสารอาหาร

หลอดให้อาหารหรือสารอาหารที่ฉีดเข้าไปยังหลอดเลือดดำ ใช้สำหรับการรักษาโรคโครห์น ช่วยให้ภาวะโภชนาการโดยรวมดีขึ้น และทำให้ลำไส้ได้ผ่อนคลายจากการงดรับประทานอาหารทางปาก การงดรับประทานอาหารทางปาก (Bowel rest) สามารถลดอาการอักเสบในระยะสั้นได้

แพทย์อาจใช้วิธีการบำบัดด้วยสารอาหารในระยะสั้น และใช้ร่วมกับการใช้ยา เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำอาหารลดกากใย เพื่อลดความเสี่ยงในการเดิดภาวะลำไส้อุดตัน (intestinal blockage)

การผ่าตัด

แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดในกรณีที่การเปลี่ยนการรับประทานอาหารและไลฟ์สไตล์ การใช้ยาบำบัด หรือวิธีการรักษาอื่น ๆ ไม่สามารถบรรเทาสิ่งบ่งชี้โรคและอาการได้

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือโรคโครห์น

ไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคโครห์นได้

  • อาหาร: ให้ลองรับประทานอาหารไขมันต่ำ ระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มีกากใย และหลีกเลี่ยงอาหารอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดอาการของโรค อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาจทำให้สิ่งบ่งชี้โรคและอาการแย่ลงได้
  • การรับประทานอาการมื้อเล็กๆ จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายกว่าการรับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่กว่าจำนวนสองหรือสามมื้อ
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • ให้ระมัดระวังการใช้วิตามินรวม เนื่องจากโรคโครห์นสามารถมีผลต่อความสามารถในการดูดซึมสารอาหารของคุณ และเนื่องจากมีการจำกัดอาหาร การรับประทานวิตามินรวมและอาหารเสริมแร่ธาตุจึงมักมีประโยชน์ต่อร่างกาย ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานวิตามินรวมและอาหารเสริมใดๆ
  • การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคโครห์น และทันทีที่คุณมีอาการของโรคโครห์น การสูบบุหรี่จะทำให้อาการของโรคแย่ลง
  • หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการกับความเครียด ให้ลองวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้แก่ การออกกำลังกาย การฝึกควบคุมร่างกายของตนเองเพื่อสร้างสมดุลภายในร่างกายทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น การผ่อนคลายอย่างสม่ำเสมอ และการฝึกการหายใจ

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Crohn’s disease. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/crohns-disease/basics/definition/con-20032061. Accessed September 8, 2016.

Crohn’s disease. http://www.ccfa.org/what-are-crohns-and-colitis/what-is-crohns-disease/?referrer=https://www.google.com.vn/. Accessed September 8, 2016.

Crohn’s disease. http://www.nhs.uk/Conditions/Crohns-disease/Pages/Introduction.aspx. Accessed September 8, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Chayawee Limthavornrak


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไส้ติ่งอยู่ข้างไหน ปวดท้องแบบไหนเป็น โรคไส้ติ่งอักเสบ

ลําไส้อักเสบ อาการ สาเหตุและวิธีรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา