backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol)


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 24/08/2021

คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol)

คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol) เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อระดับ คอเลสเตอรอล ในร่างกายสูงกว่าปกติ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ อีกทั้งยังมีการประมาณการณ์ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นเรื่อย ๆ สามารถทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิต 2.6 ล้านราย (ร้อยละ 4.5 ของทั้งหมด) ได้เลยทีเดียว

คำจำกัดความ

คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol) คืออะไร

คอเลสเตอรอลสูง คือ ภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อระดับ คอเลสเตอรอล ในร่างกายสูงกว่าปกติ คอเลสเตอรอลเป็นสารคล้ายขึ้ผึ้งชนิดหนึ่งที่พบในหลอดเลือด เมื่อคอเลสเตอรอลสูงขึ้นอาจมีไขมันสะสมจำนวนมากภายในหลอดเลือด ท้ายที่สุดแล้วไขมันเหล่านี้อาจทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดอย่างได้ยาก และทำให้หัวใจอาจไม่ได้รับเลือดที่มีออกซิเจนได้มากเพียงพอ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย (heart attack) และอาการรุนแรงอื่น ๆ จากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง

อาการ

อาการของ คอเลสเตอรอลสูง

เมื่อคอเลสเตอรอลสูงสิ่งที่จะสังเกตได้ชัดคือตัวเลขขณะตรวจมีการเปลี่ยนแปลง เพราะเนื่องจากเป็นภาวะที่ไม่แสดงปฏิกิริยาใด ๆ ออกมา นอกเหนือจากว่ามีอาการของโรคเรื้อรังอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยค่าคอเลสเตรอลที่บ่งบอกถึงระดับคอเลสเตอรอลสูงนั้นอยู่ที่ 160–190 มก./ดล. ขึ้นไป หากวัดด้วยตนเองแล้วพบว่าค่าตัวเลขอยู่ในระดับสูงดังกล่าว โปรดเข้ารับคำปรึกษา และการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เพื่อทำการลดคอเลสเตอรอลกลับมาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติดังเดิม

สาเหตุ

สาเหตุของ คอเลสเตอรอลสูง

สาเหตุที่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงส่วนใหญ่อาจมาจากอาหารที่เราเลือกรับประทานในแต่ละวัน และพฤติกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังหายเพื่อนำไขมันส่วนเกินออก เนื่องจากอาหารในแต่ละมื้อที่เลือกรับประทานมักประกอบไปด้วย คอเลสเตอรอล หลายชนิดที่อยู่ภายใน โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ไขมันทรานส์ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เหล่านี้ อาจทำให้ คอเลสเตอรอล สะสมอยู่ในหลอดเลือด หรือกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากจนเกินไป และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ที่รุนแรงได้ในอนาคตอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ คอเลสเตอรอลสูง

คุณอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นหากมีภาวะทางสุขภาพดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวาน
  • โรคตับหรือไต
  • กลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่
  • ระดับฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มขึ้น
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • ยาบางชนิดที่มีปฏิกิรยาลดคอเลสเตอรอลชนิดดี

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี่ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย คอเลสเตอรอลสูง

การวินิจฉัยตรวจหา คอเลสเตอรอล เพื่อให้ทราบเกณฑ์ว่าอยู่ในความเสี่ยงสูงหรือไม่ อาจทดสอบได้จาก 2 วิธีดังต่อไปนี้

  • การตรวจเลือด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการนำเลือดบางจากแขนด้วยเข็ม ส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ภายในระยะเวลา 2-3 วัน หรืออาจเร็วกว่านั้นตามขั้นตอนของสถานพยาบาลในแต่ละที่
  • การทดสอบด้วยการเจาะปลายนิ้ว เป็นการทดสอบที่เริ่มจากนำเข็มเล็ก ๆ การทิ่มลงไปในปลายนิ้วในระยะเวลาสั้น ๆ แค่พอให้เลือดหยดบนเครื่องทดสอบได้ ซึ่งเทคนิคการตรวจนี้จะทำให้ทราบผลระดับคอเลสเตอรอลภายในไม่กี่
  • ก่อนการตรวจเลือดอาจจำเป็นต้องมีการงดรับประทานหรือดื่มสิ่งใด ๆ ยกเว้นน้ำ เป็นเวลา 9 ถึง 12 ชั่วโมง เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำ

    การรักษา คอเลสเตอรอลสูง

    หากกรณีผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคแทรกซ้อน แพทย์อาจกำหนดให้รับประทานยาบางชนิดที่เหมาะม ดังนี้

    • ยาสแตติน (Statins) สามารถต้านสารที่ตับใช้สร้างคอเลสเตอรอล ทำให้ตับกำจัดคลอเรสเตอรอลจากเลือดได้ ยาสแตตินยังอาจช่วยให้ร่างกายดูดซึมคอเลสเตอรอลกลับจากที่สะสมตัวที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) ได้
    • ยา Bile-acid-binding resins ตับใช้คอเลสเตอรอลเพื่อสังเคราะห์กรดน้ำดี ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการย่อยอาหาร โดยยานี้จะช่วยลดคอเลสเตอรอลในทางอ้อมด้วยการยึดตัวตับกรดน้ำดี ทำให้ตับใช้ คอเลสเตอรอล ส่วนเกินเพื่อสังเคราะห์กรดน้ำดีให้มากขึ้นเพื่อลดระดับ คอเลสเตอรอล ในเลือด
    • กลุ่มยา Cholesterol absorption inhibitors ลำไส้เล็กดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารและปลดปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ยาอีเซทิไมบ์ (ezetimibe) ช่วยลด คอเลสเตอรอล ในเลือดโดยการจำกัดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในอาหาร ยาอีเซทิไมบ์สามารถใช้ร่วมกับยาสแตติน

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการ คอเลสเตอรอลสูง

    ข้อควรปฏิบัติเหล่านี้ อาจช่วยป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้

    • รับประทานอาหารที่มีปริมาณเกลือต่ำ ได้แก่ ผลไม้ ผัก และธัญพืชเต็มเมล็ด
    • จำกัดปริมาณไขมันจากสัตว์ และใช้ไขมันที่ดีพอประมาณ
    • ลดน้ำหนักส่วนเกิน และรักษาน้ำหนักที่เหมาะสม
    • ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
    • จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • เลิกสูบบุหรี่

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 24/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา