backup og meta

สัญญาณหัวใจล้มเหลว อาการบอกเหตุที่คุณควรต้องรู้

สัญญาณหัวใจล้มเหลว อาการบอกเหตุที่คุณควรต้องรู้

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหลายคนอาจจะรู้สึกหวาดกลัว กับภาวะหัวใจล้มเหลวเพราะไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองตอนไหน แต่จริงๆ แล้ว คุณสามารถสังเกต สัญญาณหัวใจล้มเหลว ได้

คุณควรจะระมัดระวังตัวเองและสังเกต สัญญาณหัวใจล้มเหลว และอาการต่างๆเหล่านี้ เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

หัวใจล้มเหลวคืออะไร

หัวใจล้มเหลว (heart failure หรือ congestive heart failure) คือหนึ่งในอาการของโรคหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุด อาการของหัวใจล้มเหลวนั้นอาจมีสาเหตุมาจาก อายุ ความเสียหายต่อหัวใจ หรือพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นสามารถทำให้หัวใจอ่อนแอลง และลดความสามารถในการสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือก็คือ “ล้มเหลว’ ในการทำงานนั่นเอง

หัวใจล้มเหลวอาจเกิดได้ทั้งช่วงที่หัวใจบีบเลือดเข้า (systolic) หรือช่วงที่หัวใจคลายตัว (diastolic) ทั้งสองอย่างเชื่อมโยงกับอาการเสียหายบางประการของหัวใจห้องด้านซ้ายล่าง

สัญญาณหัวใจล้มเหลว ที่ควรระวัง

หายใจลำบาก

ภาวะหายใจหอบถี่หรือหายใจลำบาก ปกติแล้วมักเกิดขึ้นเมื่อคุณทำกิจกรรมบางอย่าง อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงที่คุณนอนหลับ และทำให้คุณผวาตื่นขึ้น ปกติแล้วคุณมักจะหายใจลำบากเวลาที่นอนหงาย คุณอาจจะต้องเอาหมอนมาหนุนเพิ่มเพื่อยกลำตัวให้สูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น คุณอาจรู้สึกเหนื่อยอย่างมากตอนตื่นนอน รู้สึกเกร็งและวิตกกังวล

อาการนี้มักเกิดขึ้น เนื่องจากเกิดการอุดกั้นหรือกีดขวางในหลอดเลือดดำในปอด เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้ทันกับความต้องการ จนอาจทำให้ของเหลวเข้าไปในปอด

ความอ่อนล้ารุนแรง

หากร่างกายของคุณมักรู้สึกเหนื่อยอยู่เสมอ และการทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การเดิน การช้อปปิ้ง ต่างก็กลายเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ตลอดรอดฝั่ง

อาการนี้ส่วนใหญ่แล้วก็เนื่องมาจากความจริงที่ว่า หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ร่างกายก็จะลดปริมาณเลือดที่ส่งไปยังอวัยวะที่มีความสำคัญน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อแขนขา เพื่อที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองมากกว่า

การคั่งของของเหลวในเนื้อเยื่อของร่างกาย

อาการนี้เรียกอีกอย่างว่า อาการบวมน้ำ (edema) คุณอาจพบว่าตัวเองน้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือมีอาการบวมบริเวณหน้าท้อง ขา ข้อเท้า และเท้า ซึ่งทำให้คุณอาจสังเกตเห็นว่ารองเท้าคับขึ้น

เมื่อเลือดไหลออกจากหัวใจช้าลง และเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจผ่านทางหลอดเลือดดำก็ถูกกีดขวาง นำไปสู่การสะสมของของเหลวส่วนเกินในเนื้อเยื่อ ความสามารถของไตในการกำจัดโซเดียมและน้ำที่อ่อนแอลง ส่งผลให้เกิดการคั่งของของเหลวในเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ คุณยังอาจมีอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ด้วยเช่นกัน

  • หัวใจเต้นรัว
  • ไอไม่หยุดหรือหายใจฟืดฟาด
  • ไม่มีความอยากอาหาร
  • คลื่นไส้
  • เวียนศีรษะหรือมึนงง
  • เจ็บหน้าอก (ถ้าหัวใจล้มเหลวเป็นผลมาจากอาการหัวใจวาย)

การรักษาหัวใจล้มเหลว

ในการรักษาอาการหัวใจล้มเหลว คุณต้องทำให้หัวใจกลับมาสามารถสูบฉีดโลหิตได้ดีดังเดิมอีกครั้ง และยิ่งไปกว่านั้นต้องรักษาอาการที่จำเป็นด้วยเช่นกัน นัดกับหมอของคุณเพื่อขอคำแนะนำและขอข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ และโปรดจำไว้ว่าปฏิบัติตามคำสั่งของหมอและควรใช้ยาตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้คุณยังควรลดปริมาณเกลือ และของเหลวในอาหาร เช่น ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดแอลกอฮอล์ และเลิกสูบบุหรี่ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพอาจสามารถช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น และส่งผลต่อสุขภาพหัวใจได้เช่นกัน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด 

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Symptoms of Heart Failure. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-failure/basics/symptoms/con-20029801. Accessed August 9, 2017

Warning Signs of Heart Failure. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HeartFailure/WarningSignsforHeartFailure/Warning-Signs-of-Heart-Failure_UCM_002045_Article.jsp#.WYqZi1EjHIU. Accessed August 9, 2017

What is Heart Failure? – Everything You Need To Know. https://myheart.net/articles/what-is-heart-failure-everything-you-need-to-know/. Accessed August 9, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่เป็น โรคหัวใจ มีเซ็กส์ ได้หรือไม่ และมีข้อควรกังวลอย่างไรบ้าง

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว (History And Physical Exam For Heart Failure)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา