backup og meta

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ AF) เป็นอาการชนิดหนึ่งของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) และบางครั้งอาจมีอัตราการเต้นที่เร็วกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติของระบบกระแสไฟฟ้าในหัวใจ อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเวียนศีรษะ หายใจถี่ และเหนื่อยง่าย  โดยผู้ที่เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ได้แก่ ผู้สูงอายุหรือมีอายุเกิน 65 ปี ขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมทั้งผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

[embed-health-tool-heart-rate]

คำจำกัดความ

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว คืออะไร

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว เป็นอาการหนึ่งของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากความผิดปกติของระบบกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ส่วนใหญ่มักมีจังหวะการเต้นของหัวใจเร็วที่ไม่สม่ำเสมอและมักจะเร็วกว่าปกติ โดยคนทั่วไปมีอัตราการเต้นของหัวใจในภาวะปกติอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที ทั้งนี้ อาจตรวจสอบอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจได้จากการคลำชีพจรบริเวณคอหรือข้อมือ

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว พบบ่อยแค่ไหน

ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน ดื่มแอลกอลฮอล์ในปริมาณมาก หรือสูบบุหรี่จัด

อาการ

อาการของ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

ผู้ป่วยบางรายมีภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว แต่อาจไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าวนี้ อาการที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักประกอบด้วยความรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือหัวใจเต้นเร็วเกินไป นอกจากนั้น อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่องของภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ควรรีบพบหมอทันที นอกจากนี้ หากมีอาการเจ็บหน้าอกหรือเกิดภาวะหลอดเลือดสมอง ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน

สาเหตุ

สาเหตุของ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

โดยปกติหัวใจมี 4 ห้อง ได้แก่ หัวใจสองห้องบน (Atria) และสองห้องล่าง (Ventricles) หัวใจทุกห้องทำงานประสานกันเพื่อช่วยให้การไหลเวียนโลหิตเป็นไปอย่างเหมาะสม ระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจประกอบด้วยเซลล์ที่ถูกกระตุ้น เพื่อส่งสัญญาณให้หัวใจเต้น หากเกิดความผิดปกติในเซลล์เหล่านี้ อาจทำให้เกิดการส่งสัญญาณเกิน หัวใจห้องบนจึงอาจเต้นในอัตราที่ผิดปกติ

หัวใจห้องบนมีขนาดเล็ก บีบตัวน้อย เร็ว และไม่สม่ำเสมอ เมื่อเลือดภายในหัวใจห้องบนไม่ถูกสูบฉีดไปยังหัวใจห้องล่าง จะเกิดภาวะเลือดคั่ง และเลือดแข็งตัว ก้อนเลือดที่แข็งตัวจะไหลไปในกระแสเลือด อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองอุดตัน ทั้งยังส่งผลให้หัวใจห้องล่างทำงานหนักขึ้น เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจก่อให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลว

ทั้งนี้ อาการหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักพบมากในผู้สูงอายุ นอกจากนั้น ยังพบในกลุ่มเสี่ยงต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ
  • ผู้ป่วยโรคปอด
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคอ้วน และอื่นๆ
  • ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้แก้ ผู้ที่มีภาวะสุขภาพต่อไปนี้

  • อายุที่มากขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ใช้แอลกอฮอล์เกินขนาด
  • มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

ปัจจัยที่ทำให้อาการภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วแย่ลง ได้แก่

  • คาเฟอีน
  • แอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่
  • น้ำหนักเกินหรือชอบรับทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • มีภาวะความดันโลหิตสูงแต่ไม่เข้ารับการรักษา
  • มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่ชอบเคลื่อนไหวร่างกาย
  • เพิกเฉยกับอาการหรือความผิดปกติของร่างกาย
  • ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิฉัยภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

การวินิฉัยภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ทำได้โดยการตรวจสอบรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ โดยใช้เครื่องทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ (ECG)

แพทย์อาจตรวจการเคลื่อนไหวของหัวใจห้องบน ด้วยเครื่องเอคโคคาร์ดิโอแกรม (Echocardiogram) ซึ่งใช้สัญญาณอัลตร้าซาวด์ในการตรวจและเก็บภาพการเคลื่อนไหวเป็นวิดีโอ หากภาวะหัวใจห้องบนเกิดอาการสั่นพลิ้วแบบเป็น ๆ หาย ๆ คุณหมออาจสั่งให้ทำการติดเครื่องบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor) เพื่อคอยตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจอยู่เสมอ

การรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

คุณหมอมักเน้นการรักษาที่สาเหตุ เช่น หากเกิดจากการเป็นโรคไทรอยด์ คุณหมอจะเลือกรักษาโรคไทรอยด์ก่อน หากสาเหตุเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป คุณหมออาจแนะนำให้เลิกหรืองดเครื่องดื่มเหล่านี้

โดยทั่วไป คุณหมออาจสั่งยาเพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ และการสั่นพลิ้ว โดยเป็นยาที่มีคุณสมบัติในการช่วยชะลอการเต้นของหัวใจให้ช้าลงจนเป็นปกติ ทั้งนี้ ในผู้ป่วยบางราย ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วอาจหายได้เอง

นอกจากนั้น คุณหมออาจสั่งยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) คูมาดิน  (Coumadin) อย่างไรก็ตาม อาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ได้แก่ อาการฟกช้ำหรือเลือดออก ที่สำคัญ ผู้ป่วยควรดูแลตนเองอสม่ำเสมอ

ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการใช้กระแสไฟฟ้ากระแสตรงกระตุ้นหัวใจเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจกลับเป็นปกติ ในระหว่างกระบวนการนี้ คุณหมอโรคหัวใจจะผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าสู่หัวใจ เพื่อหยุดกระแสไฟฟ้าในหัวใจชั่วคราว และอาจทำให้การเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ

กรณีที่มีอาการเจ็บหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ หรือมีอาการรุนแรงอื่น ๆ อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่านกระแสไฟฟ้าฉุกเฉิน คุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจทำการจี้ไฟฟ้าหัวใจโดยการใส่สายสวนเพื่อตัดวงจรที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นสั่นพลิ้วในกรณีที่โรคยังเป็นมาไม่นาน

นอกจากนั้น อาจต้องเข้ารับการสวนหัวใจและหลอดเลือด หรือการผ่าตัดกรีดทำลายเนื้อเยื่อหัวใจส่วนที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว (Maze Procedure)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรับมือกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วด้วยตนเอง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเยียวยาอาการด้วยตนเอง เพื่อช่วยในการรับมือกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบหัวใจ (ไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ)
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • หาวิธีจัดการความเครียด
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หากอยู่ระหว่างการใช้ยาและไม่มีอาการ
  • รับประทานยาตามที่คุณหมอสั่ง รับการตรวจวัดระดับยาในเลือด
  • เข้าพบหมอหากมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา มีอาการใหม่ หรืออาการแย่ลง เช่น เวียนศีรษะ เจ็บหรือแน่นหน้าอก เป็นลม หายใจสั้น
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการอาการช้ำ โดยเฉพาะยาที่ทำให้เลือดเจือจาง
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Atrial fibrillation. https://www.nhs.uk/conditions/atrial-fibrillation. Accessed August 1, 2022.

Atrial fibrillation. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/atrial-fibrillation/symptoms-causes/syc-20350624. Accessed August 1, 2022.

Atrial Fibrillationhttps. www.cdc.gov/heartdisease/atrial_fibrillation.htm. Accessed August 1, 2022.

What is Atrial Fibrillation (AFib or AF)?. http://www.heart.org/en/health-topics/atrial-fibrillation/what-is-atrial-fibrillation-afib-or-af. Accessed August 1, 2022.

Your Guide to Atrial Fibrillation. https://www.webmd.com/heart-disease/atrial-fibrillation/default.htm. Accessed August 1, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/09/2022

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์พีรธัช โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ที่ทำลายสุขภาพมีอะไรบ้าง

รวมทุกเรื่องที่ควรรู้ เกี่ยวกับ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Heart Arrhythmias)


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์พีรธัช โรจนพันธุ์

โรคหัวใจ · สถาบันโรคทรวงอก


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 01/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา