backup og meta

8 ข้อควรจำในการเลือกซื้อ เครื่องวัดความดันโลหิต สำหรับใช้ที่บ้าน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    8 ข้อควรจำในการเลือกซื้อ เครื่องวัดความดันโลหิต สำหรับใช้ที่บ้าน

    การวัดระดับความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดันโลหิต ของตัวเองที่บ้าน เป็นตัวช่วยสำคัญในการวัดผลทางการแพทย์ โดยการให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับแพทย์ที่ทำการรักษา ทำให้สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Hello คุณหมอ จะเอาข้อสังเกตที่สำคัญในการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาฝากกัน

    สำหรับภาวะความดันโลหิตสูงที่ต้องเฝ้าติดตามผลในระยะยาว นอกจากนี้ยังทำให้สามารถหาค่าวัดความดันเฉลี่ยหลายๆ ครั้งในสภาพแวดล้อมตามปกติของคุณ ทำให้สามารถวัดค่าความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยไม่มีค่าความดันที่สูงผิดปกติจากอาการวิตกกังวล ขณะทำการวัดความดันในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล หรือที่เรียกว่า ผลกระทบจากแพทย์ (White coat effect)

    ผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกให้วัดระดับความดันโลหิตเองที่บ้าน อาจสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยจะสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ดีขึ้น จากการที่มีส่วนร่วมในการดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลดค่ารักษาพยาบาล ด้วยการลดจำนวนครั้งที่ต้องมาหาแพทย์

    8 ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อ เครื่องวัดความดันโลหิต

    1. ตัดสินใจเลือกประเภทของ เครื่องวัดความดันโลหิต

    คุณสามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ให้ช่วยในการเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับคุณที่สุด คุณอาจสอบถามให้ทีมผู้ดูแลสุขภาพ แนะนำเครื่องมือเฉพาะสำหรับใช้ที่บ้านที่พวกเขาเคยใช้งาน ให้เลือกใช้หน้าจอแบบที่วัดระดับความดันโลหิตจากต้นแขน แทนแบบวัดที่ข้อมือหรือนิ้ว เนื่องจากจะให้ค่าวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องที่สุด

    คุณอาจต้องตัดสินใจเลือกว่า คุณชอบแบบใช้ไฟฟ้า และ/หรือใช้แบตเตอรี่ เลือกรูปแบบการพองตัวว่า จะใช้แบบควบคุมด้วยมือ กึ่งอัตโนมัติ หรือแบบอัตโนมัติ

    สำหรับปลอกแขนวัดความดันโลหิตแบบควบคุมด้วยมือนั้น จำเป็นต้องทำการปั๊มโดยบีบกระเปาะยาง ที่อยู่ตรงปลายปลอกแขนวัดความดันโลหิต หน้าจอแบบกึ่งอัตโนมัติจำเป็นต้องรัดรอบแขนเอง แต่สามารถพองขึ้นเองได้ด้วยการกดปุ่ม ค่าความดันโลหิตจะบันทึกและแสดงผลขึ้นบนหน้าจอแสดงผลแบบดิจิทัล

    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ จะมีที่ปลอกแขนวัดความดันโลหิตขึ้นรูปไว้ให้ ผู้ใช้สอดแขนเข้าไปโดยไม่ต้องรัดแขน กดปุ่มเพื่อทำให้ปลอกแขนวัดความดันโลหิตพองขึ้นจนได้เส้นผ่าศูนย์กลางที่จำเป็น อ่านค่าความดันโลหิต แสดงผลและเก็บบันทึกไว้

    2. เลือกปลอกแขนวัดความดันโลหิตขนาดที่ถูกต้อง

    ปลอกแขนวัดความดันโลหิตผิดขนาด หรือปลอกแขนวัดความดันโลหิตที่ไม่เหมาะสม สามารถส่งผลกระทบกับค่าวัดความดันโลหิตได้ มันทำให้เกิดความผิดพลาดที่พบได้บ่อยที่สุด ในการวัดความดันโลหิต ใช้เทปวัดขนาดวัดขนาดรอบแขนบริเวณกึ่งกลางระหว่างไหล่กับข้อศอก โดยปกติแล้วปลอกแขนวัดความดันโลหิตจะมีขนาดที่สามารถปรับได้สองระดับ เพื่อให้พอดีกับคนส่วนใหญ่

    ดังนั้นควรเลือกปลอกแขนวัดความดันโลหิต ที่พอดีกับเส้นรอบวงของต้นแขน ปลอกแขนวัดความดันโลหิตที่เหมาะสมจะมีกระเปาะยาวร้อยละ 80 และกว้างอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเส้นรอบวง หากคุณไม่แน่ใจ อาจสอบถามแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกรถึงขนาดที่คุณต้องการ

    โดยส่วนใหญ่แล้ว ปลอกแขนวัดความดันโลหิตจะมีขายหลายขนาด เพื่อให้พอดีกับคนส่วนใหญ่ ตั้งแต่ผู้ใหญ่ที่ขนาดตัวเล็กไปจนถึงขนาดตัวใหญ่ ตรวจสอบรายละเอียดของเครื่อง เพื่อให้ได้ช่วงขนาดเส้นรอบวงแขนที่ครอบคลุมพอดี เด็กและผู้ใหญ่ที่มีแขนขนาดเล็ก หรือใหญ่กว่าค่าเฉลี่ย อาจจำเป็นต้องใช้ปลอกแขนวัดความดันโลหิตขนาดพิเศษ สามารถหาซื้อได้ที่บริษัทเวชภัณฑ์ โดยการสั่งซื้อโดยตรงจากบริษัทที่ทำปลอกแขนวัดความดันโลหิต หรือหาซื้อได้จากร้ายขายยาบางแห่ง

    3. ให้แน่ใจถึงความถูกต้องจากการรับรองหรือการตรวจสอบของสมาคมแพทย์

    มาตรฐานต่างๆ ทั่วโลก ในการวัดความถูกต้องของเครื่องมือวัดความดันโลหิตที่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า เครื่องมือที่คุณเลือกนั้นได้รับการทดสอบ ตรวจสอบ และยอมรับความถูกต้องจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง เช่น สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งยุโรป (European Society of Hypertension) องค์กรการศึกษาที่น่าไว้วางใจดีเอบีแอล (Dabl Educational Trust) หรือสมาคมเพื่อความก้าวหน้าของอุปกรณ์ทางการแพทย์ (the Association for the Advancement of Medical Instrumentation) องค์กรเหล่านี้จะมีรายชื่อเครื่องมือที่ได้รับการรับรองอยู่บนเว็บไซต์

    การรับรองจากกลุ่มองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือ อาจมีอยู่ในกล่องหรือคู่มือการใช้งาน ผู้ผลิตเครื่องมือที่ดีจะบอกว่าระบุว่า ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการรับรองหรือไม่ ในคำอธิบายสินค้า หากไม่มีควรตรวจสอบที่เว็บไซต์ นอกจากนี้คุณยังควรตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือ ด้วยการตรวจสอบหน้าจอภาพ เพื่อดูการเทียบมาตรฐาน และควรตรวจสอบแบตเตอรี่ด้วยนานๆครั้ง

    4. เลือก เครื่องวัดความดันโลหิต ที่คุณสามารถซื้อได้

    ค้นหาว่าประกันของคุณ ครอบคลุมไปถึงเครื่องวัดความดันโลหิตด้วยหรือไม่ ถ้าหากไม่ คุณควรกำหนดช่วงราคาก่อนที่จะไปซื้อ การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณหาเครื่องที่เหมาะสมกับงบของคุณได้

    เครื่องวัดความดันโลหิต มีอยู่หลายราคาขึ้นอยู่กับยี่ห้อและคุณสมบัติ บางเครื่องที่มีราคาแพงกว่า อาจจะมีคุณสมบัติที่ไม่จำเป็นสำหรับคุณ ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องวัดความดันโลหิตที่ราคาไม่สูงมาก และมีคุณสมบัติที่เพียงพอต่อการใช้งานสำหรับคุณ หรืออาจจะยอมจ่ายเงินมากกว่า เพื่อซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตที่คุณจะใช้เป็นประจำ

    5. เลือกเครื่องที่ใช้งานง่าย

    เลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตที่ง่ายต่อการใช้งานที่บ้าน ควรเลือกเครื่องที่แสดงผลได้ง่ายต่อการอ่าน ทำความเข้าใจ และเลือกเครื่องที่มีปุ่มขนาดใหญ่ใช้งานง่าย คำแนะนำในการใส่ปลอกแขน และใช้เครื่องวัดความดันโลหิตควรชัดเจน

    นอกจากนี้คุณยังควรพิจารณาเรื่องการพกพา โดยเฉพาะหากคุณจำเป็นต้องเดินทางบ่อยๆ หรือจำเป็นต้องวัดความดันโลหิตหลายครั้งต่อวัน ควรเลือกเครื่องที่มีขนาดกะทัดรัดและพกพาสะดวก

    6. ต้องการคุณสมบัติพิเศษหรือไม่

    เพื่อให้การวัดระดับความดันโลหิตเป็นประจำนั้นเรียบง่ายที่สุด ผู้ลิตจึงได้เพิ่มคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อคุณ คุณสมบัติเพิ่มเติมบางอย่างที่คุณอาจควรพิจารณามีดังนี้

    • เครื่องวัดที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และติดตามการเปลี่ยนแปลงต่อวินาทีของค่าความดันตัวบน (systolic rates) หรือค่าความดันตัวล่าง (diastolic rates) ผู้ที่ติดตามผลความดันโลหิต เพื่อเฝ้าสังเกตสภาวะของหัวใจ อาจได้ประโยชน์จากคุณสมบัติเหล่านี้ แต่คุณสมบัตินี้อาจจะไม่จำเป็นสำหรับผู้อื่น
    • การเชื่อมต่อ เครื่องวัดความดันโลหิตบางเครื่อง สามารถเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่บ้าน เพื่อทำการดาวน์โหลดค่าวัดความดันได้ เครื่องวัดความดันโลหิตบางอย่าง อาจสามารถเชื่อมต่อผ่านทางบลูทูธกับสมาร์ทโฟน ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน บางเครื่องอาจจะมีแอพพลิเคชั่นเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ เพื่อช่วยในการบันทึกค่าความดันโลหิตของคุณ
    • ตัวบ่งชี้ระดับความเสี่ยง ตัวที่สามารถบอกให้คุณทราบได้ว่า ระดับความดันโลหิตของคุณนั้นอยู่ในช่วงที่สูงหรือไม่
    • ฟังก์ชั่นการเฉลี่ยข้อมูล ทำให้คุณสามารถวัดความดันโลหิตได้หลายครั้ง และทราบผลเฉลี่ย
    • หน่วยความจำ ควรกำหนดพื้นที่เก็บข้อมูลที่จำเป็น ตามจำนวนครั้งในการวัดความดันโลหิตต่อวัน นอกจากนี้ยังควรพิจารณาเครื่องสำหรับใช้หลายคน หากคนในบ้านของคุณก็ต้องทำการวัดความดันโลหิตเป็นประจำอีกด้วย
    • การปรับระดับความพองของปลอกแขน ระดับความพองตัวที่ตั้งค่าอัตโนมัติ อาจจะมากกว่าค่าความดันตัวบนของคุณ และทำให้รู้สึกไม่สบาย เครื่องวัดความดันบางเครื่องอาจให้คุณสามารถปรับระดับความพองตัวที่เหมาะสมได้

    นอกจากนี้ยังอาจมีคุณสมบัติอย่าง เช่น

    • สามารถดาวน์โหลดหน่วยความจำได้
    • เครื่องแบบไร้สาย
    • ปลอกแขนวัดความดันหลายชิ้น
    • หน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่

    คุณสมบัติเหล่านี้อาจจะเพิ่มราคาของเครื่องวัดความดันโลหิต ดังนั้น จึงควรพิจารณาให้ดีว่า คุณต้องการคุณสมบัตินี้หรือไม่ ลองทำรายชื่อของคุณสมบัติที่เหมาะสมกับคุณก่อนที่จะเลือกซื้อ

    7. เลือกเครื่องที่เหมาะสมกับคุณ

    เลือกซื้อเครื่องที่เหมาะสมกับสภาวะของคุณ เครื่องวัดความดันโลหิตจำนวนมาก จะมีการปรับแต่งอย่างพิถีพิถัน เกี่ยวกับรายละเอียดและโหมดการใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด สำหรับประเภทของร่างกาย และรูปร่างของคุณ ซึ่งมีความสำคัญ เนื่องจากการวัดความดันโลหิตนั้น อาจไม่ถูกต้องได้

    หากเครื่องวัดความดันโลหิตไม่เหมาะสมกับคุณ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า เครื่องนั้นเหมาะสมกับสภาวะที่กล่าวมาทั้งหมด หากคุณกำลังหาซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสำหรับผู้สูงอายุ ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือเด็ก เลือกเครื่องวัดความดันโลหิตที่เหมาะสมกับอายุ และสภาวะสุขภาพของคุณที่ได้รับการรับรองโดยองค์กรที่น่าเชื่อถือ

    8. อ่านเงื่อนไขในการรับประกัน

    เครื่องวัดความดันโลหิต และปลอกแขนวัดความดันโลหิตส่วนใหญ่ จะมีการรับประกันการใช้งาน 1 ถึง 5 ปี ควรอ่านเงื่อนไขการรับประกัน เพื่อให้ทราบว่า ประกันนั้นครอบคลุมทั้งตัวเครื่อง หรือแค่ในส่วนของหน้าจอแสดงผล หรือแค่ในส่วนตัวเครื่อง แต่ไม่รวมไปถึงปลอกแขน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา