ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา กับวิธีรักษาด้วยเทคนิคแพทย์ ที่คุณควรรู้
โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา บางครั้งอาจไม่ส่งผล หรืออาการใด ๆ ออกมาแน่ชัด แต่คุณก็สามารถสังเกตได้จากความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ เช่น ความดันโลหิตสูง วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย เป็นต้น นอกจากนี้โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนายังถูกแบ่งออกอีกหลายประเภทด้วยกัน ที่วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จะขอพาทุกคนทำความรู้จักกับ ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา พร้อมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อช่วยคุณได้เฝ้าระมัดระวังตนเองกันมากขึ้น ก่อนเข้าสู่ความเสี่ยงรุนแรง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคเรื้อรัง และพฤติกรรมบางอย่าง ดังนี้ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้อาการของ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา อยู่ในเกณฑ์ที่แย่ลง จนส่งผลให้คุณอยู่ในอัตราการเสียชีวิตที่ง่ายขึ้น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคอ้วน ความดันโลหิตสูงในระยะยาว ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำ ติดเชื้อในกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ภาวะหัวใจวาย หากคุณไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจ คุณจำเป็นต้องดูแลสุขภาพตนเองให้ดี เพื่อป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายแรงข้างต้น ก่อนนำไปสู่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา และอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ได้ ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา มีอะไรบ้าง โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน โดยมีสาเหตุ และอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ห้องหัวใจขยายตัวผิดปกติ (Dilated cardiomyopathy) เป็นประเภทที่มักเกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับสารเคมี ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และการติดเชื้อบางอย่าง จนส่งผลเสียต่อห้องสูบฉีดเลือดของหัวใจด้านซ้าย เชื่อมโยงไปสู่อัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ โดยส่วนใหญ่จะทำให้คุณมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก และใจสั่นขึ้น 2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวมากกว่าปกติ […]