backup og meta

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ประเภท และปัจจัยเสี่ยง

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ประเภท และปัจจัยเสี่ยง

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หมายถึงผู้ที่มีระดับความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ทั้งความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เรื้อรัง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษซ้อนทับ และภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งล้วนแต่อาจส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

[embed-health-tool-due-date]

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ทั้ง 3 ประเภท

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

หมายถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหลังจากที่ตั้งครรภ์ โดยที่ก่อนตั้งครรภ์มีระดับความดันโลหิตปกติ มักพบได้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์ ขึ้นไป บางกรณีอาจหายไปหลังจากที่คลอดบุตร แต่ในบางครั้งก็อาจพัฒนากลายเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษได้

  • ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง

หมายถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ตลอดมาจนถึงช่วงตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการใด ๆ

  • ความดันโลหิตสูงเรื้อรังที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษซ้อนทับ

ภาวะนี้เกิดอาจขึ้นในสตรีที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังก่อนตั้งครรภ์อยู่แต่เดิม โดยมีอาการคือระดับความดันโลหิตและโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์อื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์

  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งตับ ไต หัวใจ และสมอง หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจทำให้ทารกในครรภ์เป็นอันตราย และเสียชีวิตลงได้

ปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีดังต่อไปนี้

  • เบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
  • โรคไต
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • ระดับคอเลสเตอรอลสูง
  • ความเครียด
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
  • การไม่ออกกำลังกาย
  • การตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งครรภ์หลังอายุ 40 ปีขึ้นไป

การจัดการกับความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

การรักษาความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ อาจขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งควรอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอเท่านั้น ไม่ควรหาซื้อยาลดความดันมารับประทานเอง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้

อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง อาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑืที่ปลอดภัยได้ ดังนี้

  • ลดการบริโภคเกลือ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ควรเลือกออกกำลังกายเบา ๆ หลีกเลี่ยงการออกแรงหนัก
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ธัญพืช ผลไม้
  • หยุดสูบบุหรี่ และหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to know about high blood pressure during pregnancy. https://www.medicalnewstoday.com/articles/323969 . Accessed July 12, 2021

High blood pressure (hypertension) and pregnancy. https://www.nhs.uk/pregnancy/related-conditions/complications/high-blood-pressure/ . Accessed July 12, 2021

High Blood Pressure in Pregnancy. https://medlineplus.gov/highbloodpressureinpregnancy.html . Accessed July 12, 2021

High blood pressure and pregnancy: Know the facts. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy/art-20046098. Accessed July 12, 2021

High Blood Pressure During Pregnancy. https://www.cdc.gov/bloodpressure/pregnancy.htm. Accessed July 12, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/04/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 22/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา