backup og meta

เกลือ หรือ น้ำตาล อะไรแย่กว่ากัน สำหรับโรคความดันโลหิตสูง

เกลือ หรือ น้ำตาล อะไรแย่กว่ากัน สำหรับโรคความดันโลหิตสูง

ทั้งเกลือและน้ำตาล ต่างได้ชื่อว่าสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ แต่ เกลือ หรือ น้ำตาล กันแน่ล่ะ ที่เป็น “ผู้ร้าย’ ที่แท้จริง และควรพึงระวัง ปัจจุบันเชื่อว่า น้ำตาลอาจมีผลเสียมากกว่าเกลือ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Open Heart น้ำตาลเป็นภัยเงียบต่อความดันโลหิต แต่ขณะเดียวกันเกลือก็ยังคงส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่แพ้การรับประทานน้ำตาลน้ำตาล วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำข้อเท็จจริงดังกล่าวระหว่างเกลือ และน้ำตาล ว่าสารปรุงแต่งใดที่คุณควรหลีกเลี่ยงมาฝากกันค่ะ

การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เราทุกคนทราบว่า การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเผาผลาญของร่างกาย มีหลักฐานมากพอที่จะระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป และความผิดปกติเกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกายหลายประการ เช่น ภาวะดื้ออินซูลิน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง รวมถึงไขมันในเลือดสูง

การบริโภคน้ำตาลทำให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติก (sympathetic nervous system) เมื่อร่างกายมีการตอบสนองภาวะดังกล่าว จะเข้าไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต ทำให้หน่วยรับความรู้สึกที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต ก็มีประสิทธิภาพมีลดลงเรื่อย ๆ จนเสี่ยงเกิดหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความดันภายในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

เกลือ หรือ น้ำตาล ที่ส่งผลต่อโรคความดันโลหิตสูง

การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง แม้เป็นเวลาเพียงสองสัปดาห์ อาจส่งผลที่เห็นได้ชัดเจนต่อความดันโลหิตของคุณ มีการศึกษาว่า อาหารที่มีน้ำตาลสูง จะเพิ่มความดันโลหิตได้มากกว่าอาหารที่มีโซเดียมสูง (7mmHg/5mmHg เปรียบเทียบกับ 4mmHg/2mmHg) ในการศึกษาอื่น ๆ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่มีน้ำตาลปริมาณเพียง 24 ออนซ์ สามารถส่งผลให้ระดับความดันโลหิตสูงอย่างรวดเร็ว และอาจมีอาการบางอย่างเกี่ยวข้องกับภาวะของหัวใจ (cardiac markers) ในหลายชั่วโมงถัดมา

ในบางครั้งการรับประทานเกลือ หรือโซเดียมก็อาจมีส่วนช่วยให้คุณลดระดับความดันโลหิตได้หากคุณจำกัดในปริมาณที่พอดี แต่หากสำหรับผู้ที่รับประทานหรือใช้เกลือปรุงอาหารปริมาณที่มากเกินไปก็อาจส่งผลให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ของอวัยวะเกิดความกดดัน จนทำให้หลอดเลือดแข็งซึ่งนำไปสู่ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง จนนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

นักวิจัยชี้ว่าการบริโภคน้ำตาลที่น้อยลง มีผลดีต่อสุขภาพมากกว่า หรืออาจจำเป็นต้องลดทั้งเหลือ และน้ำตาล เพื่อให้เกิดความสมดุลให้ไตทำงานได้ตามปกติ โดยสรุปแล้ว หากคุณอยากมีสุขภาพที่ดี การไม่บริโภคเกลือหรือน้ำตาลในปริมาณสูง เป็นสิ่งที่ควรนำไปปรับเปลี่ยนไลฟสไตล์ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการปรุงรสชาติอาหารที่คุณทำในแต่ละวันซึ่งคุณควรลดปริมาณเหลือ และน้ำตาลให้เหมาะสม รวมไปถึงการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปทั่วไปที่สามารถตรวจสอบระดับเกลือ และน้ำตาลได้จากข้างฉลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งปริมาณเกลือที่ควรได้รับนั้นมักอยู่ที่ 140 มิลลิกรัม ต่อ 1 มื้ออาหาร ส่วนน้ำตาลสำหรับผู้หญิงควรจำกัดอยู่ที่ 6 ช้อนชา และผู้ชาย 9 ช้อนชา

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sugar vs. Salt: What’s Worse for Blood Pressure?. https://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/video/sugar-vs-salt-whats-worse-for-blood-pressure. Assessed October 10, 2016.

Salt and sugar: their effects on blood pressure. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25547872/ . Assessed October 10, 2016.

Salt and Sodium. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/salt-and-sodium/. Assessed October 10, 2016.

12 Potential Signs You’re Eating Too Much Sugar. https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/potential-signs-youre-eating-too-much-sugar/ . Assessed October 10, 2016.

How much sugar is in your food and drink?.https://www.medicalnewstoday.com/articles/262978 . Assessed October 10, 2016.

Eat less salt. https://www.sahealth.sa.gov.au/wps/wcm/connect/public+content/sa+health+internet/healthy+living/healthy+eating/healthy+eating+tips/eat+less+salt . Assessed October 10, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/05/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าความดันปกติ คือเท่าไหร่ และวิธีป้องกันค่าความดันสูง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 28/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา