backup og meta

โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ ความเชื่อมโยงที่ไม่ควรละเลย

โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ ความเชื่อมโยงที่ไม่ควรละเลย

โรคอ้วน (Obesity) มีความเชื่อมโยงสำคัญกับปัญหาสุขภาพหลายอย่าง โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดผิดปกติและโรคหัวใจ โดยเฉพาะ โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ นั้น หากคุณน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่หยุด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากไลฟ์สไตล์ อย่างการบริโภคอาหารที่มีไขมัน และไม่ออกกำลังกาย สามารถที่จะสร้างความเสียให้แก่หัวใจได้เป็นอย่างมาก Hello คุณหมอมีข้อมูลดีๆ มาให้อ่านกันว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร

คำจำกัดความของโรคอ้วน

โรคอ้วน วินิจฉัยได้โดยอ้างอิงจากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ค่าดัชนีมวลกายคำนวณได้โดยการเอาน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เป็นเมตร) ค่าดัชนีมวลกายที่อยู่ระหว่าง 30 และ 40 หมายความว่าคุณเป็นคนอ้วน

และหากค่าดัชนีมวลกายของคุณเกิน 40 คุณจะถูกวินิจฉัยว่า คุณเป็นโรคอ้วน นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ค่าดัชนีมวลกายที่สูงมากๆ เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ อย่างเช่น หัวใจวายและหัวใจล้มเหลว

โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ

เป็นที่สงสัยกันว่า เนื้อเยื่อไขมันบริเวณรอบเอว สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ ถึงแม้จะไม่มีความเสี่ยงอื่นของโรคหัวใจก็ตาม ในการสนับสนุนทฤษฎีนี้ นักวิจัยได้ทำการประเมินหาสัญญาณของสภาวะแข็งตัวที่หัวใจห้องล่างซ้าย ในผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักแตกต่างกัน อาการนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างห้องสูบฉีดหัวใจ (หัวใจห้องล่างซ้าย) ซึ่งขัดขวางการสูบฉีดเลือดอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างชีพจรการเต้นของหัวใจ

สภาวะแข็งตัวที่หัวใจห้องล่างซ้าย จะไม่แสดงอาการอะไร แต่มันเป็นสัญญาณของโรคหัวใจล้มเหลวได้ในอนาคต โรคหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงหรือแข็งเกินไป จนทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดและออกซิเจนในระดับที่ร่างกายต้องการได้อย่างเพียงพอ

ภาวะหัวใจวาย

กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายขยายใหญ่ขึ้น มักเกิดขึ้นในหมู่คนอ้วน และสามารถเชื่อมโยงไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามในบางกรณี แม้จะไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง ความผิดปกติในการทำงานและขนาดของหัวใจห้องล่างซ้ายก็สามารถถูกกระตุ้นขึ้นมาได้จากโรคอ้วนอย่างรุนแรง

คนอ้วนมีความเสี่ยงมากกว่าคนน้ำหนักปกติในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงถึง 3 เท่า สิ่งนี้สามารถอธิบายได้จากสาเหตุและผลกระทบที่สัมพันธ์กัน ในเรื่องของน้ำหนักที่ลดลง กับความดันเลือดลดต่ำลง และน้ำหนักเพิ่มขึ้น กับความดันเลือดที่สูงขึ้น

นอกจากการเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดที่หัวใจสูบฉีดออกมา การเพิ่มปริมาตรและแรงดันของห้องหัวใจล่างซ้าย ก็เป็นสิ่งที่พบได้บ่อย เมื่อคุณมีความดันโลหิตสูง การขยายของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายอาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่ภาวะหัวใจวายจากการตีบของหลอดเลือดแดงเป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติ การเกิดโรคอ้วน ที่ไม่มีภาวะความดันโลหิตในร่างกายสูง ปริมาตรของหัวใจห้องล่างซ้ายมักจะเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีอาการผิดปกติของความดันผนังหัวใจ

อย่างไรก็ตาม ในบรรดาผู้ป่วยโรคอ้วน ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง คุณสามารถสังเกตถึงปริมาตรของเลือดที่หัวใจสูบฉีดออกมา เช่นเดียวกับภาวะหัวใจวายจากการตีบของหลอดเลือดแดง มันมีความเชื่อมโยงกันระหว่างความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในหัวใจห้องล่างซ้าย และการเสียชีวิตเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคอ้วน

การป้องกัน

การป้องกันโรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน มีความคล้ายคลึงกับการป้องกันโรคอ้วน งานวิจัยหลายชิ้นเปิดเผยว่า คุณสามารถลดความเสี่ยงได้ หากคุณลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม นอกจากนี้ ในการป้องกันโรคหัวใจ คุณจำเป็นต้องกินอาหารเพื่อสุขภาพ ลดปริมาณอาหารที่มีไขมันสูง และทำกิจกรรมทางร่างกายมากขึ้น การทำตามนี้ จะทำให้ความดันโลหิตของคุณจะลดลง หัวใจจะกลับคืนสู่สภาพปกติ และคอเลสเตอรอลของคุณจะลดลง

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Your weight and heart disease . https://www.bhf.org.uk/heart-health/risk-factors/your-weight-and-heart-disease. Accessed August 5, 2017

The Effect of Obesity on Heart Function. https://www.cardiosmart.org/News-and-Events/2011/03/The-Effect-of-Obesity-on-Heart-Function. Accessed August 5, 2017

Obesity and Heart Disease. http://circ.ahajournals.org/content/96/9/3248. Accessed August 5, 2017

Heart Disease and Obesity. https://obesitynewstoday.com/heart-disease-and-obesity/. Accessed August 5, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/02/2025

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณหัวใจล้มเหลว อาการบอกเหตุที่คุณควรต้องรู้

เซ็กส์ กับคนเป็น โรคหัวใจ ไม่ได้ห้าม แค่ต้องระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 4 ชั่วโมงก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา