backup og meta

ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ สาเหตุและการป้องกัน

ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ สาเหตุและการป้องกัน

ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ สามารถพบได้บ่อยเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป และอาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาลุกขึ้นกะทันหัน หรือขยับศีรษะเร็วเกินไป  อาจมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และรู้สึกยืนไม่มั่นคง เป็นเหตุที่อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดการหกล้มและก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ โดยอาจมีหลายสาเหตุที่เป็นปัจจัยในการเกิดปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ 

ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร 

ปัญหาการทรงตัวและการหกล้มถือเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เพราะหากผู้สูงอายุสูญเสียการทรงตัว อาจเกิดเหตุการณ์อันตรายต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิดได้ ไม่ว่าจะเป็น การบาดเจ็บทางร่างกาย และอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน มีอาการบ้านหมุน หรือสายตาที่พร่ามัว อย่างไรก็ตามควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับการวินิจฉัยว่ามีปัญหาด้านการทรงตัวหรือไม่ และมีสาเหตุอย่างไร เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที 

สาเหตุ ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ

สาเหตุของการเสียการทรงตัวในผู้สูงอายุ มีหลายปัจจัย โดยอาจเกี่ยวข้องกับสัญญาณหรืออาการที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจประกอบไปด้วย 

  • การเปลี่ยนแปลงตามวัย คือ การเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานของระบบประสาท และระบบกลไกของสมองส่วนกลาง โดยเฉพาะการสูญเสียเซลล์ประสาทรับสัมผัสของหูชั้นใน หากมีปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจมีความเสี่ยงที่จะเสียสมดุลมากขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต โดยการยืนหรือนั่งเร็วเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ โดยอาการต่าง ๆ อาจหายไปเมื่อความดันโลหิตกลับมาเป็นปกติ 
  • การไหลเวียนของโลหิต เมื่อร่างกายไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การไหลเวียนช้าลง ออกซิเจนไม่สามารถหล่อเลี้ยงไปยังสมอง กล้ามเนื้อ และอวัยวะได้ตามปกติ ซึ่งอาจทำให้เสียการทรงตัว
  • การอักเสบของหูชั้นใน (labyrinthitis) เกิดจากการอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยมีอาการเวียนศีรษะ และสูญเสียการทรงตัว 
  • โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ หรือโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) โดยมีอาการเวียนศีรษะรุนแรงและรู้สึกบ้านหมุนร่วมด้วย บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ รวมถึงอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน 

การป้องกันปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ

การป้องกันปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุอาจยังไม่แน่ชัด แต่อาจสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยการเกิดได้ เช่น 

  • หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ง่วงซึม หรือทำให้ความดันโลหิตตก เช่น ยาสำหรับโรคความดันโลหิตสูง ยาที่ใช้รักษาอาการเกี่ยวกับระบบประสาท ยาแก้แพ้ ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอก่อนที่จะหยุดยา เพราะยาบางชนิดอาจจำเป็นที่จะต้องรับประทาน และเสี่ยงต่อปัญหาอื่น ๆ หากหยุดยาเอง
  • ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ เช่น ไทชิ โยคะ สควอต เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและยังอาจช่วยในเรื่องการทรงตัว
  • ตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ เพื่อตรวจเช็คปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยควรตรวจทุกปี
  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นในห้องน้ำมีพื้นกันลื่น เพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอ และเพิ่มราวจับ
  • ระมัดระวังการเดิน การวิ่ง หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อลดปัจจัยการหกล้มของผู้สูงอายุ 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Causes Balance Issues in Older Adults. https://www.webmd.com/healthy-aging/what-causes-balance-issues-in-older-adults#1. Accessed August 28, 2021

Balance problems. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/balance-problems/symptoms-causes/syc-20350474. Accessed August 28, 2021

Balance Disorders. https://www.nidcd.nih.gov/health/balance-disorders. Accessed August 28, 2021

Balance Problems and Disorders. https://www.nia.nih.gov/health/balance-problems-and-disorders. Accessed August 28, 2021

Gait and Balance Disorders in Older Adults. htps://www.aafp.org/afp/2010/0701/p61.htmlt. Accessed August 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/09/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้สูงวัยติดเตียง กับข้อควรระวังที่ผู้ดูแลต้องรู้ไว้

เคยสงสัยไหมว่าทำไม โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ถึงเป็นของคู่กัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 26/09/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา